การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจมูกข้าวรวมผงเสริมโปรตีน

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ พันธ์เรือง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • เพ็ญนภา ทองน้อย
  • อรวรรณ บวบดี

คำสำคัญ:

ข้าว, จมูกข้าว, เสริมโปรตีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมผงจมูกข้าว พัฒนาผลิตภัณฑ์ผงจมูกข้าวรวมเสริมโปรตีน และศึกษาองค์ประกอบทางเคมี โดยเปรียบเทียบกรรมวิธีการเตรียมผงจมูกข้าวรวมแบบหุงสุกกับกรรมวิธีเตรียมผงจมูกข้าวรวมด้วยวิธีดั้งเดิมของกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรอินทรีย์นเรศวร (สาขาวัดพริก) จังหวัดพิษณุโลก ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการดูดซับน้ำและการละลายน้ำของผงจมูกข้าวรวมที่เตรียมด้วยกรรมวิธีแบบหุงสุกมีค่าสูงกว่าการเตรียมด้วยวิธีแบบดั้งเดิมถึง 1.72 และ 4.20 เท่า เมื่อทำการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ผงจมูกข้าวรวมเสริมโปรตีนด้วยการเสริมโปรตีนถั่วเหลืองที่มีปริมาณแตกต่างกัน 5 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 5 10 15 20 และ 30 โดยน้ำหนัก แล้ววิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบว่า การเสริมโปรตีนถั่วเหลืองร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ให้ค่าปริมาณโปรตีนสูงกว่าผลิตภัณฑ์สูตรดั้งเดิมและมีค่าเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์ผงจมูกข้าวที่จำหน่ายในทางการค้า ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับผลิตภัณฑ์ผงจมูกข้าวรวมได้

References

กชแก้ว สุริยะ, และชวกร วรสุวรรณรักษ์. (2016). การพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนบาร์จากข้าวกล้องและเวย์โปรตีน

ต่อคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของผลิตภัณฑ์. FST CMU Research Exercise, 2016, P1-P20.

กรมการข้าว. (2561). รายงานพื้นที่ปลูกข้าวประจำปี 2561/62. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561, จาก www.ricethailand.go.th.

กิตติมา ไตรรัตนศิริชัย, และสาโรจน์ รอดคืน. (2561). รำข้าว: จากอาหารหมูสู่อาหารเพื่อสุขภาพของคน.สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561, จาก http://archive.mfu.ac.th/school/agro2012/events/298.

จีรเดช มโนสร้อย และคณะ. (2555). การพัฒนาวัตถุดิบอาหารเสริมโปรตีนไฮโดรไลเสทจากพืชสมุนไพรสำหรับผู้สูงอายุ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลธิรา สารวงษ์, ชลธิรา สารวงษ์, กฤติกา นรจิตร, ดวงทิพย์ ไข่แก้ว, และธารินี เพ็งมาก. (2560). การศึกษากระบวนการผลิตเครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชงจากข้าวกล้องหอมมะลิแดงผสมแป้งกล้วยน้ำว้าดิบพร้อมเปลือก. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 60(2), 60-73.

นิพัฒน์ ลิ้มสงวน, จุฬาลักษณ์ จารุนุช, วายุห์ สนเทศ, พิศมัย ศรีชาเยช, และกัษมาพร ปัญต๊ะบุตร. (2561). สมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งข้าวโพดบดหยาบดัดแปรด้วยกระบวนการเอกซ์ทรูชัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(4), 563-574.

ศรีเวียง ทิพกานนท์, รัชนี เจริญ, วรรณทิชา เศวตบวร, และวิบูลย์ เหรียญสง่าวงศ์. (2561). การสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจมูกข้าวสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์สาขาสังคมศาสตร์, 39, 674 - 683.

สิรินดา กุสุมภ์, ณัฐฐา มณีศิลาสันต์, และวรสิทธิ หวังอนุตตร. (2554). การทดแทนนมผงขาดมันเนยด้วยโปรตีนถั่วเหลืองสกัดในไอศกรีมไขมันต่ำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(1), 48-59.

Association of Official Analytical Chemists (AOAC). (2016). Official methods of analysis. (20th ed). USA.: AOAC International, Gaithersburg, MD.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25

How to Cite

พันธ์เรือง ศ., ทองน้อย เ. . ., & บวบดี อ. . . (2022). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจมูกข้าวรวมผงเสริมโปรตีน. PSRU Journal of Science and Technology, 7(1), 129–139. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/247845

ฉบับ

บท

บทความวิจัย