ลักษณะทางสัณฐานวิทยาบางประการของพืชเกาะอาศัยของหิ่งห้อย PTEROPTYX MALACCAE (LAMPYRIDAE: LUCIOLINAE) ในป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • สรศักดิ์ นาคเอี่ยม Department of Biology, Faculty of Science and Technology, Rambhai Barni Rajabhat University
  • ประภาพร ผลเกิด
  • ณมนรัก คำฉัตร

คำสำคัญ:

หิ่งห้อย, Pteroptyx malaccae, ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชอาศัย

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาบางประการของพืชเกาะอาศัยของหิ่งห้อย Pteroptyx malaccae ที่พบในป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อหาลักษณะเฉพาะของพืชที่หิ่งห้อยเลือกเกาะอาศัย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 จากการสำรวจหลังเวลาดวงอาทิตย์ตกในช่วงคืนเดือนมืดทั้งหมด 10 ครั้ง พบหิ่งห้อยตัวเต็มวัยรวมตลอดทั้งปี 2,269 ตัว และพบหิ่งห้อยได้ทุกครั้งที่สำรวจ โดยเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 มีจำนวนตัวหิ่งห้อยรวมสูงที่สุด 567 ตัว และเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 พบหิ่งห้อยน้อยที่สุด 67 ตัว พืชที่หิ่งห้อยเกาะอาศัยมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ กระถินเทพา (Acacia mangium Willd.) แสมดำ (Avicennia officinalis L.) เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi Powell) และโกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Blume) โดยพบว่าหิ่งห้อยมีแนวโน้มเลือกเกาะอาศัยต้นไม้ที่มีลำต้นสูงเฉลี่ย 8.44 เมตร มีรัศมีทรงพุ่มกว้างเฉลี่ย 2.98 เมตร มีใบขนาดเล็ก โดยมีแผ่นใบกว้างเฉลี่ย 3.98 เซนติเมตร ความยาวแผ่นใบเฉลี่ย 10.50 เซนติเมตร มีแผ่นใบบางเฉลี่ย 359.54 ไมโครเมตร และมีพื้นที่แผ่นใบเฉลี่ย 35.06 ตารางเซนติเมตร เมื่อวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าพืชเกาะอาศัยของหิ่งห้อยมีลักษณะแตกต่างจากพืชที่หิ่งห้อยไม่เกาะอาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05

References

การันต์ ฐาปนาเวท. (2556). การสํารวจปริมาณและความหลากชนิด ของหิ่งห้อยในพื้นที่ทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน (รายงานผลการวิจัย). จันทบุรี: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ.

ทัศนาวลัย อุฑารสกุล, และศิวพันธุ์ ชูอินทร์. (2553ก). การจัดการสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้เพื่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยใน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นพรัตน์ พงจันทร์. (2556). ชนิดความชุกชุมและการกะพริบแสงของหิ่งห้อยในป่าชายเลนล่มแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์, สาขาสัตววิทยา.

ภัทรวรรณ เลิศสุชาตวนิช. (2548). การประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ต่อประชากรหิ่งห้อย ณ บ้านโคกเกตุ จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาวิชาวิทยาศาตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา).

สรศักดิ์ นาคเอี่ยม, กาญจนา สายยศ, ศรุตา มัจฉาเกื้อ, พัลลภ แสงพงษ์พิทยา, วนิดา แกล้วกล้า, ชุตาภา คุณสุข, และชวัลรัตน์ สมนึก. (2563). ความชุกชุมของหิ่งห้อย (Insecta: Coleoptera: Lampyridae) ในป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี. PSRU Journal of Science and Technology, 5(3), 97-111.

สรายุทธ บุณยะเวชชีวิน, และรุ่งสุริยา บัวสาลี. (2554). ป่าชายเลน: นิเวศวิทยาและพรรณไม้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์.

สุทิศา ลุ่มบุตร. (2551). เทคนิคการเพาะเลี้ยงและการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับหิ่งห้อย Pteroptyx malaccae Gorham. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะสิ่งแวดล้อม, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม.

อัญชนา ท่านเจริญ. (2552). เรื่องธรรมดา…ที่ไม่ธรรมดาของ“หิ่งห้อย”. กรุงเทพฯ: อักษรสยาม.

Jaikla, S., Lewis, S.M., Thancharoen, A., & Pinkaew, N. (2020). Distribution, abundance, and habitat characteristics of the congregating firefly, Pteroptyx Olivier (Coleoptera: Lampyridae) in Thailand. Journal of Asia-Pacific Biodiversity, 13(3), 358-366.

Jusoh, W.F.A., Ballantyne, L., Lambkin, C., Hashim, N.R., & Wahlberg, N. (2018). The firefly genus Pteroptyx Olivier revisited (Coleoptera: Lampyridae: Luciolinae). Zootaxa, 4456(1), 1–71.

Jusoh, W.F.A., Hashim N.R.,& Ibrahim Z.Z. (2010). Distribution and abundance of Pteroptyx fireflies in Rembau-Linggi estuary, peninsular Malaysia. Environment Asia. 3, 56–60.

Jusoh, W.F.A., Ballantyne, L., Lambkin, C.I., Hashim, N.R., & Wahlberg, N. (2018). The firefly genus Pteroptyx Olivier revisited (Coleoptera: Lampyridae: Luciolinae). Zootaxa, 4456(1), 1–71.

Kirton, L.G., Nada, B. Khoo, V., & Phon, C. (2012). Monitoring populations of bioluminescent organisms using digital night photography and image analysis: a case study of the fireflies of the Selangor River, Malaysia. Insect Conservation and Diversity, 5, 244–250.

Lewis, S.M., Thancharoen, A., Wong, C.H., López-Palafox, T., Santos, P.V., Wu, C., Faust, L., De Cock, R., Owens, A.C.S., Lemelin, R.H., Gurung, H., Jusoh, W.F.A., Trujillo, D., Yiu, V., López, P.J., Jaikla, S. and Reed, J.M. (2021). Firefly tourism: Advancing a global phenomenon toward a brighter future. Conservation Science and Practice, e391, 1-18.

Prasertkul, T. (2018). Characteristics of Pteroptyx Firefly Congregations in a Human Dominated Habitat. Journal of Insect Behavior, 31, 436–457.

Sriboonlert, A., Swatdipong, A., Wonnapinij, P., E-Kobon, T., & Thancharoen, A. (2015). New Record of Pteroptyx tener Olivier (Coleoptera: Lampyridae: Luciolinae) in Thailand. The Coleopterists Bulletin, 69(2), 332–336.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย