ความหลากหลายของปลาหมักพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ไทย-เขมร และไทย-กูยในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
ปลาหมัก, ความหลากหลาย, กลุ่มชาติพันธุ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของปลาหมักพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ไทย-เขมร และไทย-กูยในจังหวัดสุรินทร์ โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลว่าหมู่บ้านใดมีกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มอาศัยอยู่ จากนั้นสำรวจความหลากหลายของปลาหมักในแต่ละหมู่บ้าน เก็บข้อมูลโดยการจดบันทึกชนิดของปลาหมัก ชนิดของปลา สถานที่ เวลา ระบบนิเวศ ถ่ายภาพบริบทชุมชน และปลาหมักชนิดต่างๆ เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือทุกประเภท นำมาวิเคราะห์และจำแนกชนิดของปลาหมัก ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว 24 หมู่บ้าน พบปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม ส้มฟัก ไข่ปลาหมัก และไส้ปลาหมัก 24 21 21 9 4 และ 3 หมู่บ้าน ตามลำดับ กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมร 34 หมู่บ้าน พบปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม ส้มฟัก และไข่ปลาหมัก 34 34 33 11 และ 1 หมู่บ้าน ตามลำดับ กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-กูย 34 หมู่บ้าน พบปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม ส้มฟัก ไข่ปลาหมัก และไส้ปลาหมัก 34 31 32 9 3 และ 3 หมู่บ้านตามลำดับ ในทุกกลุ่มชาติพันธุ์ปลาหมักที่พบมากที่สุด คือ ปลาร้า (100%) ปลาจ่อม ปลาส้ม (93.47%) ส้มฟัก (31.52%) ไข่ปลาหมัก (8.69%) และ ไส้ปลาหมัก (6.52%) ตามลำดับ ชุมชนที่พบปลาหมักหลากหลายมากที่สุด คือ กลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ในบ้านโนนแดง ต.ยาง อ.ศีขรภูมิ บ้านหาญฮี ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี บ้านบึงใหม่ ต.แก อ.รัตนบุรี และกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-กูย ในบ้านหนองหว้า ต.หนองไผ่ล้อม อ.สำโรงทาบ หากประชาชนในชุมชนทราบข้อมูลและตระหนักถึงคุณค่าความมั่นคงทางอาหาร
ที่สามารถเกิดได้จากปลาหมักพื้นบ้าน รวมถึงความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการบริโภคปลาหมักที่มีปลาที่ได้มาจากแหล่งน้ำในชุมชน ก็จะทำให้ประชาชนเกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการผลิต และอนุรักษ์แหล่งน้ำที่เป็นแหล่งของปลาต่อไป
References
กชนิภา อุดมทวี, น้องนุช สารภี, จุฑามาส อยู่มาก, และปิยรัตน์ มีแก้ว. (2563). ความหลากชนิดและความปลอดภัยของอาหารหมักพื้นบ้านจากแบคทีเรียก่อโรคบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 11(1), 131-143.
กชนิภา อุดมทวี, โศภิษฐ์ เวทยสุภรณ์, น้องนุช สารภี, จุฑามาส กลางประพันธ์, และปิยรัตน์ โคตรศรี. (2560). ความหลากหลายและภูมิปัญญาอาหารหมักพื้นบ้านในเขตอีสานใต้ ประเทศไทย (รายงานการวิจัย). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. (2563). จังหวัดสุรินทร์. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2563, จาก http://www.surin.go.th/.
Campbell-Platt, G. (1994). Fermented Foods - a World Perspective. Food Res Int, 27(3), 253–7.
Clucas, J.I. (1982). Fish Handling, Preservation and Processing in the Tropicss: part 2. Tropical Development and Research Institute. London: Overseas Development Administration.
Tacon, A.G.J., & Metian, M. (2017). Food Matter: Fish, Income and Food Supply-a Comparative Analysis. Reviews in Fisheries Science & Aquaculture, 26(1), 15-28.
Tamang, J.P., & Samuel, D. (2010). Dietary Cultures and Antiquity of Fermented Foods and Beverage. In : Fermented Food and Beverages of the World. New York, NY: CRC press. 41-84.
Udomthawee, K., Chankaew, K., Phanurat, A., & Nakochom, K. (2012). Protein, Calcium and Phosphorus Composition of Fermented Fish in the Lower Mekong Basin. Chiang Mai Journal of Science, 39(2), 327–335.
Waisundara, V., Jayawardena, N., & Watawana, M. (2016). Safety of Fermented Fish Products. Regulating Safety of Traditional and Ethnic Foods, 149, 168.
Zang, J., Xu, Y., Xia, W., Jiang, Q., Yang, F., & Wang, B. (2018). Phospholipid Molecular Species Composition of Chinese Traditional Low-salt Fermented Fish Inoculated with Different Starter Cultures. Food Research International, 111, 87-96.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด