ผลของปุ๋ยอัดเม็ดจากของเสียกระบวนการผลิตไฮเทนจากน้ำกากส่าและกากยีสต์ร่วมกับวัสดุอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
คำสำคัญ:
ปุ๋ยอัดเม็ด, น้ำกากส่า, กากยีสต์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอัดเม็ดจากของเสียกระบวนการผลิตไฮเทนจากน้ำกากส่าและกากยีสต์ร่วมกับวัสดุอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว โดยใช้วิธีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) จำนวน 11 สิ่งทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ได้แก่ สิ่งทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) สิ่งทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 สิ่งทดลองที่ 3-11 คือ การใส่ปุ๋ยอัดเม็ดสูตรที่ 1-9 ดำเนินการวิจัย ณ แปลงปฏิบัติการพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ผลการศึกษาพบว่า ข้าวที่ใส่ปุ๋ยเคมีส่งผลให้มีการเจริญเติบโตและผลผลิตดีที่สุด ในด้านความสูง จำนวนต้นต่อกอ และน้ำหนักสดของเมล็ด โดยข้าวมีความสูงเท่ากับ 113.87 เซนติเมตร จำนวนต้นต่อกอเท่ากับ 23.33 และน้ำหนักสดของเมล็ดเท่ากับ 799.15 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ สิ่งทดลองที่ 9 (ปุ๋ยอัดเม็ดสูตรที่ 7) ในขณะที่สิ่งทดลองควบคุมส่งผลให้ข้าวมีผลผลิตต่ำที่สุด และคุณสมบัติของปุ๋ยอัดเม็ดผลิตได้มีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557
References
กัญญาพร สังข์แก้ว, สุวรรณภา บุญจงรักษ์, และอมร อินทราเวช. (2558). การใช้น้ำหมักชีวภาพจากกากยีสต์เพื่อผลิตคะน้าอินทรีย์. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 4, 24-32.
จักรกฤช ศรีละออ, ศุกร์ชัย ชัยภูมิ, ชัชวินทร์ นวลศรี, คงเดช พะสีนาม, ธันวมาส กาศสนุก, และปุณณดา ทะรังศรี. (2563). การใช้ปุ๋ยอัดเม็ดจากเศษผงใบยาสูบและอินทรียวัตถุเพื่อเพิ่มผลผลิตคะน้า. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 51(1), 190-195.
จิราวรรณ ปี่ทอง. (2538). การใช้กากส่าเพื่อการเกษตร. วารสารเกษตรศาสตร์, 45, 67-72.
ชัชวินทร์ นวลศรี. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตมีเทนจากน้ำกากส่าด้วยการหมักร่วมกับกากยีสต์. สังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์, 1, 7-9.
เนตรนภา อินสลุด, ทศพร บ่อบัวทอง, และกิตติพจน์ แย้มจันทร์. (2561). ผลของระดับฟอสฟอรัสที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105. วารสารแก่นเกษตร, 46(1), 546-550.
ปรียานุช ไวยมัย. (2534). การลดความเข้มสีน้ำกากส่าโดยเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ต้องการอากาศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, ภาควิชาจุลชีววิทยา.
ปุณณดา ทะรังศรี, ชัชวินทร์ นวลศรี, คงเดช พะสีนาม, ธันวมาส กาศสนุก, นนทพร รัตนจักร์, และจักรกฤช ศรีละออ. (2563). ผลของปุ๋ยหมักจากของเสียกระบวนการผลิตไฮเทนจากน้ำกากส่าและกากยีสต์ร่วมกับวัสดุอินทรีย์ต่อผลผลิตดาวเรือง. วารสารแก่นเกษตร, 48(1), 989-994.
เปรม เสนา, และบุญแสน เตียวนุกูลธรรม. (2556). แนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของกลุ่มเกษตรกรทำนาโคกหม้อ ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 3(5), 125-136.
ภาคภูมิ พระประเสริฐ. (2550). สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ยงยุทธ โอสถสภา, ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์, และชัยสิทธิ์ ทองจู. (2541). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ยงยุทธ โอสถสภา. (2557). การให้ปุ๋ยทางใบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รัตนะ สวามีชัย, ประวัติ นกอิ่ม, และเรือนขวัญ อินทนนท์. (2555). การจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 5(1), 1-14.
รุ่งนภา ช่างเจรจา, และสันติ ช่างเจรจา. 2556. ผลของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของว่านมหาลาภ. วารสารนเรศวรพะเยา, 6(3), 207-212.
สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา, ปุณณดา ทะรังศรี, ชัชวินทร์ นวลศรี, และจักรกฤช ศรีละออ. (2563). ผลของปุ๋ยหมักจากของเสียกระบวนการผลิตไฮเทนจากน้ำกากส่าและกากยีสต์ร่วมกับวัสดุอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตคะน้า. PSRU Journal of Science and Technology, 5(1), 31-40.
อภิวัฒน์ อินทร์นก, พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, และอรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์. (2559). การเปรียบเทียบคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(5), 766-776.
Chen, D., Suter, H., Islam, A., Edis, R., Freney, J.R., & Walker, C.N. (2008). Prospects of improving efficiency of fertilizer nitrogen in Australian agriculture: a review of enhanced efficiency fertilizers. Australian Journal of Soil Research, 46(4), 289-301.
Gahoonia, T.S., & Nielsen, N.E. (2003). Phosphorus (P) uptake and growth of a root hairless barley mutant (bald root barley, brb) and wild type in low- and high-P soils. Plant, Cell and Environment, 26, 1759-1766.
Hokmalipour, S., & Darbandi, M.H. (2011). Effects of nitrogen fertilizer on chlorophyll content and other leaf indicate in three cultivars of maize (Zea mays L.). World applied sciences journal, 15, 1780-1785.
Marschner, H. (1995). Mineral Nutrition of Higher Plants. Academic Press San Diego, CA.
Peterson, B.C., Booth, N.J., & Manning, B.B. (2012). Replacement of fish meal in juvenile channel catfish, Ictalurus punctatus, diets using a yeast‐derived protein source: the effects on weight gain, food conversion ratio, body composition and survival of catfish challenged with Edwardsiella ictaluri. Aquaculture Nutrition, 18, 117-131.
Zhang, H., Xu, M., Shi, X., Li, Z., Huang, Q., & Wang, X. (2010). Rice yield, potassium uptake and apparent balance under long-term fertilization in rice-based cropping systems in southern China. Nutrient Cycling Agroecosystem, 88, 341-349.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด