การประเมินผลการทดสอบลูกหลาน และการประมาณปริมาตรไม้ มวลชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนของไม้สักอายุ 12 ปี จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การทดสอบลูกหลาน, การผสมพันธุ์แบบปิด, ปริมาตรไม้, ต้นทุนการผลิตกิ่งปักชำ, มูลค่าไม้บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ทดสอบลูกหลานไม้สักที่ได้จากการผสมเกสรที่รู้พ่อและแม่ ประเมินปริมาตรไม้ มวลชีวภาพ และกักเก็บคาร์บอนของสวนป่าสักอายุ 12 ปี และวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจระหว่างกล้าไม้ปรับปรุงพันธุ์กับกล้าไม้ทั่วไป ดำเนินการที่สถานีวนวัฒนวิจัยดงลาน จังหวัดขอนแก่น การทดสอบมี 54 ตัวอย่างทดลอง ประกอบด้วย กล้าไม้จากการควบคุมผสมเกสร 50 คู่ผสม กล้าไม้จากแม่ไม้ 3 แม่ไม้ และกล้าสักทั่วไป 1 ต้น วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ เบอร์ละ 9 ต้น ระยะปลูก 4x4 เมตร ผลการศึกษาพบว่า เบอร์ที่ใช้เป็นแม่ได้ดี คือ V194 และ V211 เบอร์ที่ใช้เป็นพ่อได้ดี คือ V130 V290 และ V146 และเบอร์ที่เป็นทั้งแม่และพ่อได้ดี คือ V290 การวิเคราะห์นี้ใช้เป็นฐานพันธุกรรมเพื่อดูประวัติย้อนหลังได้ เมื่อประมาณปริมาตรไม้สัก พบว่า ปริมาตรไม้เฉลี่ย 14.616 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ เบอร์ที่มีค่าปริมาตรไม้สูงสุด คือ C1 เท่ากับ 0.366 ลูกบาศก์เมตร/ต้น การประมาณปริมาตรไม้เป็น 1.8 เท่าของเบอร์ E5 มีมวลชีวภาพรวม 7,198.74 กิโลกรัม/ไร่ การกักเก็บคาร์บอน 3,455.368 กิโลกรัมคาร์บอน/ไร่คาร์บอนไดออกไซด์ 12,669.766 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์/ไร่ การวิเคราะห์มูลค่าไม้ พบว่า กล้าไม้สักพันธุ์ดีจากกิ่งปักชำลูกผสมปิด (C1) มีมูลค่า 4,179.60 บาท/ต้น ข้อมูลที่ได้สามารถใช้ในการส่งเสริมให้กับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจปลูก เมื่อถึงรอบตัดฟันเกษตรกรที่ใช้กล้าสักจากการปรับปรุงพันธุ์ จะมีรายได้สูงกว่าการใช้กล้าสักที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ประมาณ 3 เท่า และการดูแล จัดการตามหลักวนวัฒนวิธีจะทำให้ได้ผลผลิตที่สูง
References
กรมการค้าต่างประเทศ. (2564.) แสดงรายละเอียด สินค้าที่มีมาตรการ นำเข้า-ส่งออก-นำผ่าน ไม้และไม้แปรรูป. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dft.go.th/th-th/DFT-Service/Data-ServiceInformation/ProductMeasure-Import-Export/Detail-ProductMeasure-ImportExport/ArticleId/1944/1547.
กรมป่าไม้. (2556). การขยายพันธุ์สัก. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมป่าไม้. (2559). ยุทธศาสตร์กรมป่าไม้ พ.ศ. 2559-2564. กรุงเทพฯ : กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมพัฒนาที่ดิน สำนักสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน. (2557). ชุดดิน...ภาคอีสาน ความรู้พื้นฐานเพื่อการเกษตร. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
จํานรรจ์ เพียรอนุรักษ์. (2546). ระบบรากและการเจริญเติบโตของไม้สัก. กรุงเทพ: ส่วนวนวัฒนวิจัย สํานักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามประเภทหนังสือแสดงสิทธิเพื่อให้ไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวไม่เป็นไม้หวงห้าม พ.ศ. 2563. (2563,16 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ. หน้า 9.
ประพาย แก่นนาค, และอโณทัย ไพยารมย์. (2557). การประมาณปริมาตรไม้และมวลชีวภาพของสวนป่าไม้สัก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : กรมป่าไม้.
วิเชียร สุมันตกุล. (2542). หลักการปรับปรุงพันธุ์ไม้ป่าเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
วิทยา สุจริตธนารักษ์. (2555). เศรษฐกิจไทยกับอาเซียน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอดีต-ปัจจุบัน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 30(3), 149-174.
สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล. (2550). การพัฒนาสายพันธุ์ไม้สักเพื่อการปลูกสร้างสวนป่าเศรษฐกิจ. ใน การสัมมนาทางวนวัฒนวิทยา ครั้งที่ 8 (น. 8-17). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ (2564). คณะกรรมการป่าไม้แห่งชาติ มีมติทบทวนให้หน่วยงานของภาครัฐและเอกชนสามารถส่งออกไม้สักสวนป่าออกจำหน่ายต่างประเทศ จากเดิมให้ อ.อ.ป.ส่งออกไม้สักสวนป่าเพียงรายเดียว เตรียมเสนอ ครม.พิจารณา. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564, จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210506131732734.
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเลย. (2563). การจัดการความรู้ KM, พ.ร.บ. ป่าไม้ เอื้อประชาชนมีส่วนร่วมปลูกไม้มีค่า. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.mnre.go.th/loei/th/news/detail/63548.
อำไพ พรลีแสงสุวรรณ์, สมชาย นองเนือง, สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล, วรพจน์ คำใบ, และโศรยา ภูจีระ. (2561). การประเมินผลการทดสอบสายต้น/สายพันธุ์ และการประมาณปริมาตรไม้ มวลชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนไม้สักอายุ 10 ปี จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.
อำไพ พรลีแสงสุวรรณ์, สาโรจน์ วัฒนสุขสกุล, ประพาย แก่นนาค, และสมชาย นองเนือง. (2562). การประเมินผลผลิตและการกักเก็บคาร์บอนภาคป่าไม้ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.
Baillères, H., & P. Deurand. (2000). Non-destructive techniques for wood quality assessments of plantation-growth teak. Bois et Forêts des Tropiques, 263(1),17-27.
Bhat, K.M. (1995). A note on heartwood proportion and wood density of 8-year-old teak. Indian Forester, 121(6), 514-516.
Ciesla, W.M. (1995). Climate Change, Forests and Forest Management. Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Pinyopusarerk, K., & H. Keiding. (1981). Proposal for standardising assessments in international provenance trials of teak Tectona grandis L. Denmark: DANIDA Forest Tree Seed Centre, Humleback.
Priya, P.B., & Bhat, K.M. (1999). Influence of rainfall, irrigation and age on the growth periodicity and wood structure in teak (Tectona grandis). IAWA Journal, 20(2), 181-192.
RFD-JIRCAS Joint Research Project, & JIRCAS (2015). Soil Suitability Map for Teak Plantation in chaiyaphum and Khon Kaen Provinces. Bangkok: Thai Printing Center.
Sombun, K. (1980). Progeny testing. in Kasetsart University Regional Training Course in Forest Tree Improvement, 21 April – 31 May 1980 Thailand. Bogor, Indonesia.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด