ผลของกรรมวิธีการหุงต่อปริมาณแป้งต้านทานการย่อยในข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ข้าวพันธุ์พื้นเมือง, เพชรบูรณ์, กรรมวิธีการหุง, แป้งทนย่อยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณแป้งทนย่อยในข้าวพันธุ์ต่างๆ โดยใช้ข้าวพันธุ์หอมมะลิ ข้าว กข43 ข้าวลืมผัว ข้าวขาวม้ง ข้าวพญาลืมแกง และข้าวร่องถนนมาทดลองหุงด้วยวิธีต่างๆ แล้วตรวจวิเคราะห์หาปริมาณแป้งทนย่อย พบว่า ข้าวหุงมีแป้งทนย่อย 7.15–16.35%และข้าวกล้องมีค่าแป้งทนย่อยสูงกว่าข้าวขาว ซึ่งขึ้นอยู่กับการขัดสีและพันธุ์ของข้าว จากการทดลองการเพิ่มแป้งต้านทานการย่อยในข้าวแต่ละพันธุ์ ได้แก่ 1) ข้าวหอมมะลิหุงด้วยวิธีต่างๆ มีแป้งทนย่อย 6.52-7.56% พบว่า แป้งทนย่อยในข้าวดิบมีค่าใกล้เคียงกับข้าวหุงสุก 2) ข้าว กข43 เมื่อหุงด้วยวิธีต่างๆ มีแป้งทนย่อย 6.57-8.81% พบว่า วิธีอัลทราโซนิกส์แล้วใช้หม้อนึ่งอัดไอน้ำแล้วแช่ตู้เย็น ทำให้แป้งทนย่อยเพิ่มขึ้น 18.10% 3) การหุงข้าวกล้องลืมผัวด้วยวิธีไมโครเวฟแล้วแช่แข็งจะเพิ่มแป้งทนย่อยได้ถึง 26.05% 4) ข้าวขาวม้งหุงด้วยวิธีต่างๆ มีแป้งทนย่อย 7.61-11.07% พบว่า วิธีหุงด้วยหม้อหุงข้าวทำให้มีแป้งทนย่อยเพิ่มขึ้นมากที่สุดเท่ากับ 37.69% 5) ข้าวพญาลืมแกงหุงด้วยวิธีต่างๆ พบแป้งทนย่อย 9.03-9.72% โดยใช้วิธีการหุงแล้วแช่แข็ง 60 ชั่วโมง ทำให้มีแป้งทนย่อยเพิ่มสูงสุด คือ 12.89% 6) ข้าวร่องถนนที่หุงด้วยวิธีต่างๆ พบปริมาณแป้งทนย่อย 8.86-11.10% การหุงด้วยหม้อหุงข้าวจะมีแป้งทนย่อยมากที่สุด ดังนั้นจึงสามารถนำข้อมูลนี้ใช้ในการเลือกบริโภคข้าว และสามารถนำไปเพิ่มแป้งทนย่อยในข้าวให้มีคุณสมบัติเชิงหน้าที่ด้านสุขภาพมากขึ้น
References
จิรนาถ บุญคง. (2557). การใช้แป้งกล้วยหอมทองดิบที่มีสมบัติต้านทานการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในผลิตภัณฑ์พาสต้า. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 10(1), 19–29.
จิรนาถ บุญคง. (2558). Resistant starch แป้งที่มีบทบาทต่อสุขภาพ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 6(1), 1-7.
ฉวีวรรณ วุฒิญาโน. (2543). พันธุ์ข้าวเมืองไทย, เอกสารวิชาการศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร.
ดำเนิน กาละดี, และศันสนีย์ จำจด. (2543). พันธุศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์และโภชศาสตร์เกษตรของข้าวเหนียวดำ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สถาบันวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนาภร รติธรรมธร. (2559). ผลของการให้ความร้อนและการทำให้เย็นที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการย่อยของแป้ง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 21(2), 248–259.
ธนาภร รติธรรมธร. (2560). แป้งต้านทานการย่อย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22(1), 166–176.
ประพาส วีระแพทย์. (2555). ความรู้เบื้องต้นเรื่องข้าว. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.
มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย กรมการข้าว. (2544). คุณภาพและการตรวจสอบข้าวหอมมะลิไทย. กรุงเทพฯ:กรมวิชาการเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
มาโนชญ์ สุธีรวัฒนานนท์. (2558). การเพิ่มปริมาณแป้งต้านทานการย่อยในผลิตภัณฑ์พาสต้าข้าวเจ้า (รายงานผลการวิจัย). สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เชาวนีพร ชีพประสพ, หาสันต์ สาเหล็ม, และฤทัยทิพย์ อโนมุณี. (2560). องค์ประกอบทางเคมีและปริมาณอะไมโลสในข้าวพันธุ์พื้นฐานจังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี, 7(2), 84 – 97.
ศุภนาถ เห็นสว่าง. (2560). ข้าว..ความสำคัญ คุณค่าทางอาหาร และการปนเปื้อน. วารสารสิ่งแวดล้อม, 21(1), 15–18.
อรณี แก้วกก. (2558). การวิเคราะห์หาคุณสมบัติทางเคมีบางประการในข้าวพื้นเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ (รายงานผลการวิจัย). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
Alexander, R.J. (1995). Resistant starch-new ingredient for the food industry. Cereal Foods World, 40(6), 455-458.
Eerlingen, R.C., Crombez, M., & Delcour, J.A. (1993). Enzyme-Resistant Starch. I. Quantitative and Qualitative Influence of Incubation Time and Temperature of Autoclaved Starch on Resistant Starch Formation. Cereal Chemistry, 70(3), 339-344.
Englyst, H., & Cummings, J. (1987). Dietary fiber and resistant starch. The American Journal of Clinical Nutrition, 46, 873-874.
Frankel, O.H., Brownand, A.D.H.. & Burdon,J.J. (1995). The Conversation of Plant Biodiversity, Cambridge: Cambridge University Press, 299.
Ferguson, L.R., Tasman-Jones, C., Englyst, H., & Harris, P.J. (2000). Comparative effects of three resistant starch preparations on transit time and short-chain fatty acid production in rats. Nutrition and Cancer, 36, 230-237.
Hung, P.V., Vien, N.L., & Phi, N.T.L. (2016) Resistant starch improvement of rice starches under a combination of acid and heat-moisture treatments. Food Chemistry, 191, 67-73.
Raben, A., Tagliabue. A., Christensen, N.J., Madsn, J., Holst, J.J. & Astrup, A. (1994). Resistant starch: The effect on postprandial glycemia, hormonal response and satiety. The American Journal of Clinical Nutrition, 60, 544 -551.
Sajilata, M.G., Singhal, R.S., & Kullarni, P.R. (2006). Resistant starch: A review. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety, 5(1), 1-17.
Tripathy, S., Gurung, P., & Sharma, S.D. (2005). Intellectual property contribution with regard to rice genetic resources by tribes of South Orissa, India, Plant Genetic Resources Newsletter, 141, 61-64.
Zeng, S., Wu, X., Lin, S., Zeng, H., Lu, X., Zhang, Y., &, Zheng, B., (2015). Structural characteristics and physicochemical properties of lotus seed resistant starch prepared by different methods. Food Chemistry, 186, 213-222.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด