ความหลากชนิด ความชุกชุม และความคล้ายคลึงของนกในถิ่นที่อยู่อาศัยของนกบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อการอนุรักษ์และ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • นิธินาถ เจริญโภคราช Suan Sunandha Rajabhat University
  • เพชรพนม จิตมั่น

คำสำคัญ:

นก, ความหลากชนิด, ถิ่นที่อยู่อาศัย, ชายฝั่งทะเล, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด ความชุกชุม และความคล้ายคลึงของนกบริเวณพื้นที่ศึกษา เพื่อจัดทำปฏิทินฤดูกาลกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณพื้นที่ศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้การเก็บรวบรวมด้วยการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับความหลากชนิดนกบริเวณพื้นที่หาดเลน พื้นที่นาเกลือ และพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการสำรวจตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 - เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความหลากหลายของชนิดนก ปริมาณความชุกชุม และความคล้ายคลึงของนก ผลการศึกษาพบชนิดของนก 10 อันดับ 26 วงศ์ 69 ชนิด ซึ่งอันดับที่มีความหลากชนิดของนกมากที่สุด คือ นกในอันดับนกชายเลนและนกนางนวล Charadriiformes จำนวน 29 ชนิด โดยบริเวณพื้นที่นาเกลือมีชนิดนกมากที่สุด จำนวน 51 ชนิด มีค่าดัชนีความหลากชนิดของนก (Shannon Diversity Index, H’) เท่ากับ 2.77 โดยพื้นที่นาเกลือเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมทั้งในด้านแหล่งอาหารและจุดแวะพักของนกชายเลนและนกทะเล ส่วนปริมาณความชุกชุม ในระดับ 5 นกที่พบบ่อยมาก มีจำนวน 10 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 14.49 ของชนิดนกที่พบทั้งหมด พื้นที่นาเกลือและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีค่าดัชนีความคล้ายคลึงของนกเท่ากับ 0.667 ส่วนสถานภาพของนก มีนกประจำถิ่น 28 ชนิด นกประจำถิ่นและนกอพยพ 8 ชนิด และนกอพยพ 33 ชนิด ด้านสถานภาพการถูกคุกคาม ที่อยู่ในสภาพใกล้ถูกคุกคาม (Near-threatened, NT) มีจำนวน 6 ชนิด คือ นกกาบบัว นกปากแอ่นหางดำ นกอีก๋อยใหญ่ นกชายเลนปากโค้ง นกน็อตเล็ก และนกสติ๊นท์คอแดง ส่วนสภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered, EN) มีจำนวน 1 ชนิด คือ นกน็อตใหญ่ โดยกิจกรรมดูนกอพยพจะอยู่ในช่วงฤดูกาลอพยพในราวเดือนสิงหาคม - พฤษภาคมทุกปี ดังนั้นชุมชนควรอนุรักษ์พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยของนก เพื่อให้กลุ่มนกชายเลนและกลุ่มนกทะเลที่เข้าหากินอาหารในพื้นที่นาเกลือในช่วงน้ำทะเลขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่นาเกลือ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งดูนกของโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เนื่องจากนกเป็นตัวชี้วัดความสมดุลธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารในระบบนิเวศ

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2556). ถิ่นอาศัยในระบบนิเวศชายฝั่งทะเล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2561, จาก http://km.dmcr.go.th/th/c_256/d_18883

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2553). คู่มือเรื่องนกอพยพ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ, พิมพรรณ ขอดเฝือ, น้อยน้อย ดอยสูงสง่า, ปิยะบุตร ยิ่งศีลสุมิตร, ท่อดู ประกอวาที, และจีหม่อ ดาวดวงใหญ่. (2544). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตลุ่มแม่น้ำวาง. เชียงใหม่ : ม.ป.พ.

นภดล แช่มช้อย, ประทีป มีวัฒนา, และไกรวุธ สุขสว่าง. (2558). ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์มีกระดูกสันหลังตำบลบางแก้ว จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ประภาส นาประดิษฐ์. (2533). นิเวศวิทยาของนกในบริเวณพื้นที่ทำนากุ้ง จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สาขาวิชาวนศาสตร์.

ภามณีรัตน์ ไชยปัน, และวิมาลา วิเชียรเลิศ. (2560). การศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของนก บริเวณพื้นที่นาเกลือและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รุ่งโรจน์ จุกมงคล. (2545).แหล่งดูนกทั่วไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี.

รุ่งโรจน์ จุกมงคล. (2559). นกชายเลนในอ่าวไทยตอนในวัฏจักรและชะตาชีวิตบนหาดเลน. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2559, จาก sarakadee.com./feature/2001/02/bird.htm

วรรณฤดี สุขโต, อัจฉรา พรมสุวรรณ, และไกรรัตน์ เอี่ยมอำไพ. (2562). การเปรียบเทียบอัตราการจับซ้ำของนกอพยพ ในกลุ่มนกชายเลนและนกนางนวลในประเทศไทย (รายงานการวิจัย ประจำปี 2562). กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย. (2557). ถิ่นอาศัยของนกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2557, จาก http://www.bcst.or.th/?page_id=39

อัฟเตอร์เมเยอร์, พอล แอล เอ, และรุ่งโรจน์ จุกมงคล. (2542). การอพยพย้ายถิ่นของนกชายเลนและถิ่นอาศัยบริเวณอ่าวไทยตอนใน. กรุงเทพฯ : องค์การพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติและสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย.

Charoenpokaraj, N., Chitman, P. & Nuamsiri, W. (2017). Species checklist and abundance of birds in salt field areas and aquaculture areas along the coastal land in Bang Kaew Sub-district, Muang district, Samut Songkhram Province. Suan Sunandha Science and Technology Journal, 4(2), 13-16.

Lekagul, B. & Round P.D. (1991). A Guide to the Birds of Thailand. Bangkok: Damsutha Press.

Ludwig, J.A. & Reynolds J.F. (1988). Statistical Ecology. New York: John Wiley & Sons.

Odum, E.P. (1983). Basic Ecology. Tokyo Japan: Holt-Saunders Japan.

Pettingill, O.S. (1969). A Laboratory and Field Manual of Ornithology. Minnesota: Burgess Publication Company.

Robson, C. (2008). A Field Guide the Birds of Thailand and South-East Asia. Bangkok: Asia Book Co., Ltd.

Shannon, C.E. (1949). Mathematical theory of communication. Bell System technical Journal, 27, 379-423.

Sripanomyom, S., Round, P.D., Savini, T., Trisurat, Y. & Gale, G.A. (2011). Traditional salt-pans hold major concentrations of overwintering shorebirds in Southeast Asia. Biological conservation, 144(1), 526–537.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-10

How to Cite

เจริญโภคราช น. . ., & จิตมั่น เ. (2021). ความหลากชนิด ความชุกชุม และความคล้ายคลึงของนกในถิ่นที่อยู่อาศัยของนกบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อการอนุรักษ์และ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. PSRU Journal of Science and Technology, 6(1), 39–55. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/241099

ฉบับ

บท

บทความวิจัย