การตรวจหาปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของเห็ดป่าบริโภคได้ สี่ชนิดจากตลาดชุมชนในจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
เห็ดป่ากินได้, ฟีนอลิก, ฟลาโวนอยด์, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เพื่อตรวจหาปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวม (TPC และ TFC) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านแบคทีเรียจากสารสกัดเอทานอลของเห็ดป่ากินได้ 4 ชนิดที่ซื้อจากตลาดชุมชนในจังหวัดเลย ได้แก่ เห็ดผึ้งเหลือง (Boletus sp.) เห็ดผึ้งน้ำคราม (Boletellus cf. emodensis) เห็ดผึ้งไข (Pulveroboletus sp.) และเห็ดผึ้งแย้ (Tylopilus sp.) วิเคราะห์หาปริมาณ ฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมโดยใช้วิธี Folin-Ciocalteu และ Aluminum chloride colorimetric ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดจากเห็ดผึ้งเหลืองมีปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์รวมสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 61.69±0.35 mg GAE/g และ 54.45±0.93 mg RUE/g ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระตรวจสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), 2,2′-azino-bis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulfonic acid) (ABTS) และ Ferric reducing antioxidant power (FRAP) พบว่าสารสกัดเห็ดผึ้งเหลืองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยวิธี DPPH และ ABTS มีค่า IC50 เท่ากับ 0.26±0.01 และ 1.33±0.07 mg/ml ตามลำดับ ส่วนวิธี FRAP มีค่าการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 33.14±0.29 FeSO4/g extract นอกจากนี้ยังทำการทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียด้วยวิธี Disc diffusion พบว่า สารสกัดเห็ดผึ้งเหลืองแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Bacillus subtilis Staphylococcus aureus Escherichia coli และ Proteus vulgaris ที่ความเข้มข้น 5.0 mg/ml จึงสามารถกล่าวโดยสรุปได้ว่าเห็ดผึ้งป่าทั้ง 4 ชนิดนี้เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประโยชน์และเป็นอาหารมีคุณค่าทางโภชนาการ
References
กาญจนา เสือมั่น, สไมพร ปักษี, อภิญญา อาบสุวรรณ์, รพิกร ฉลองสัพพัญญู, ภรภัทร สำอางค์, ปนัดดา จันทร์เนย, และกุลวดี ปิ่นวัฒนะ. (2562). การวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวหอมดอกมะลิ 105. PSRU Journal of Science and Technology, 4(3), 95-108.
เทพอัฟสร แสนสุข. (2560). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดที่พบในเขตพื้นที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 45(2), 434-353.
ธารทิพย์ รัตนะ, และธนากร แสงสง่า. (2559). สมบัติต้านอนุมูลอิสระและพรีไบโอติกของเห็ดป่าสะแกราช.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(4), 538-550.
น้ำฝน เบ้าทองคำ, และถนอมนวล พรหมบุญ. (2557). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของเห็ดป่าจากชุมชนบ้านน้ำจาง จังหวัดเพชรบูรณ์. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences, 15(2), 96-103.
มลธิรา จันทร์โอภาส, วารุณี จันทร์โอภาส, ธัชคณิน จงจิตวิมล, อัญชลี เชียงกูล, และปรียานันท์ แสนโภชน์. (2549). การสำรวจชนิดของเห็ดราขนาดใหญ่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. NU Science Journal, 2(2), 175-181.
มลธิรา ศรีถาวร, พุทธวรรณ วาตะ, จิระดา พรมลา, และสาคร ชินวงค์. (2562). ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบส่วนดอกและส่วนเส้นใยของเห็ดถั่งเช่าสีทอง. วารสาร Veridian E-Journal สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(5), 33-47.
สิริลักษณ์ สีหะนันท์, วสันณ์ เพชรรัตน์, และสมปอง เตชะโต. (2550). เห็ดโบลีทส์บางชนิดในประเทศไทย. Songklanakarin Journal Science Technology, 29(3), 737-754.
Azieana, J., Zainon, M.N., Noriham A. & Rohana, M.N. (2017). Total phenolic and flavonoid content and antioxidant activities of ten Malaysian wild mushrooms. Open Access Library Journal, 4, 1-9.
Bernas, E., Jaworska, G. & LisiewaskaZ. (2006). Edible mushroom as a source of valuable nutritive constituents. Acta Scientiarum Polonorum Technologia Alimentaria, 5(1), 5-10.
Bhargava, S., Dhabhai, K., Batra, A., Sharma, A., & Malhotra, B. (2012). Zingiberofficinale: Chemical and phytochemical screening and evaluation of its antimicrobial activities. Journal of Chemical and Pharmaceutical Research, 4, 360-64.
Choi, Y.M., Ku, J.B., Chang, H.B. & Lee, J. (2005) Antioxidant activities and total phenolics of ethanol extracts from several edible mushrooms produced in Korea. Food Science Biotechnology, 14(5), 700-703.
Gan, C.H., Nurul Amira, B. & Asmah, R. (2013). Antioxidant analysis of different types of edible mushrooms (Agaricus bisporous and Agaricus brasiliensis). International Food Research Journal, 20(3), 1095-1102.
Kaur, M., Asthir, B. & Mahajan, G. (2017). Variation in antioxidant, bioactive compounds and antioxidant capacity in germinated and ungerminated grains of ten rice cultivars. Rice Science, 24(6), 349-359.
Kumar, K. (2015). Role of edible mushrooms as functional foods-A review. South Asian Journal of Food Technology and Environment, 1(3&4), 211-218.
Mergan, N., Duru, M.E., Turkoglu, A., Gerzer, K., Kivrak, I. & Turkoglu, H. (2006). Antioxidant and antimicrobial properties of ethanolic extract from Lepista nuda (Bull.) Cooke. Annals of Microbiology, 56(40), 339-344.
Pang, Y., Ahmed, S., Xu, Y., Beta, T., Zhu, Z., Shao, Y. & Bao, J. (2018). Bound phenolic compounds and antioxidant properties of whole grain and bran of white, red, and black rice. Food Chemistry, 240, 212-221.
Phattayakorn, K. Pajanyor, P., Wongtecha, S., Prommakool, A. & Savebowon, W. (2016). Effect of germination on total phenolic content and antioxidant properties of “Hang” rice. International Food Research Journal, 23(1), 406-409.
Rahimah, S.B., Djunaedi, D.D., Soeroto, A.Y. & Bisri, T. (2019). The phytochemical screening, total phenolic contents and antioxidant activities in vitro of white oyster mushroom (Pleurotus Ostreatus) preparations. Open Access Macedonian Journal of Medical Science, 7(15), 2404–2412.
Stojković, D.S., Reis, F.S., Ćirić, A., Barros, L., Glamočlija, J., Ferreira, I.C.F.R. & Soković, M. (2015). Boletus aereus growing wild in Serbia: chemical profile, in vitro biological activities, inactivation and growth control of food-poisoning bacteria in meat. Journal of Food Science and Technology, 52(11), 7385–7392.
Turkoglu, A., Duru, A.M., & Mercan, N. (2007). Antioxidant and antimicrobial activity of Russula delica Fr: an edidle wild mushroom. Eurasian Journal of Analytical Chemistry, 2(1), 54-67.
Valverde, M.E., Hernández-Pérez, H. & Paredes-López, O. (2014). Edible mushrooms: improving human health and promoting quality life. International Journal of Microbiology, 2015, 1-14.
Vararat, S., Managi,t C., Iamthanakul, L., Soparat, W. & Kamkean, N. (2010). Examination of antioxidant activity and development of rice bran oil and gamma-oryzanolmicroemulsion. Journal Health Research, 24(2), 67-72.
Vichit, W. & Saewan, N. (2015). Antioxidant activities and cytotoxicity of Thai pigmented rice. International Journal of Pharmaceutical Science, 7(7), 329-334.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด