การประเมินศักยภาพการเก็บกักคาร์บอนของต้นตาลในจังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ต้นตาล, การเก็บกักคาร์บอน, มวลชีวภาพเหนือพื้นดินบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของเพื่อประเมินปริมาณการเก็บกักคาร์บอนของต้นตาลในสวนตาลและพื้นที่ธรรมชาติ และศึกษาความแตกต่างของศักยภาพการเก็บกักคาร์บอนของต้นตาลในสวนตาลและในพื้นที่ธรรมชาติของอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยเก็บข้อมูลความสูงของต้นตาลในสวนตาล จำนวน 403 ต้น และในพื้นที่ธรรมชาติ จำนวน 500 ต้น จากนั้นนำมาคำนวณปริมาณคาร์บอนที่ถูกเก็บกักในรูปของมวลชีวภาพเหนือพื้นดินด้วยสมการแอลโลเมตรี ผลการวิจัย พบว่า ปริมาณการเก็บกักคาร์บอนของต้นตาลในสวนตาลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.84±2.59กิโลกรัมคาร์บอน และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนของต้นตาลที่เจริญเติบโตในพื้นที่ธรรมชาติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 37.08±2.28 กิโลกรัมคาร์บอน เมื่อนำปริมาณการเก็บกักคาร์บอนเฉลี่ยในต้นตาลจากทั้งสองแหล่งมาเปรียบเทียบกัน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมการปกครอง. (2561). จำนวนประชากรแยกรายอายุ จังหวัดเพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php
ฉัตริญภา ชื่นจิตร. (2556). การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะการเติบโตต่างๆ ของปาล์มน้ำมัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม.
ดำรง ศรีพระราม, ลดาวัลย์ พวงจิตร, สาพิศ ดิลกสัมพันธ์, สคาร ทีจันทึก, นรินธร จำวงษ์, ละอองดาว เถาว์พิมาย, และทิพวรรณ สังข์ทอง. (2553). การศึกษาลักษณะของพรรณไม้ ปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นวลปราง นวลอุไร. (2548). การเปรียบเทียบค่าดัชนีพื้นที่ใบ มวลชีวภาพและปริมาณคาร์บอนสะสมที่อยู่เหนือพื้นดินของระบบนิเวศป่าจากการสำรวจด้านป่าไม้และการรับรู้จากระยะไกลบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์, สาขาวิชาสัตววิทยา.
พชร อุปมัย. (2559). สมการแอลโลเมตรีสำหรับการตรวจติดตามมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของต้นโกงกางใบใหญ่ที่ปลูกร่วมกับหัวเชื้อราอัดเม็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะวิทยาศาสตร์, สาขาชีววิทยาประยุกต์.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2561). การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงานปี 2561. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561, จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/situation-co/per-year?orders [publishUp]=publishUp&issearch=1
สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี. (2550). จำนวนต้นตาล. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.phetchaburi.doae.go.th/tan_phet/tan8.htm
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). ข้อมูลตัวชี้วัด “ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคน”. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.onep.go.th/env_data/00_1/
Bas, F. (2019). How to calculate CO2 sequestration. Retrieved August, 12, 2020, from https://www.ecomatcher.com/how-to-calculate-co2-sequestration/
Dey, A., Islam, M. & Masum, K.M. (2014). Above ground carbon stock through palm the homegarden of Sylhet city in Bangladesh. Journal of Forest and Environmental Science, 30(3), 293-300.
Olivier, G.J., Schure, K.M. & Peters, J.A. (2017). Trends in global co2 and total greenhouse gas emissions. Retrieved March, 9, 2019, from https://www.pbl.nl/sites/default/files/cms/publicaties/pbl-2017-trends-in-global-co2-and-total-greenhouse-gas-emissons-2017-report_2674.pdf
Pearson, T., Walker, S. & Brown, S. (2005). Sourcebook for land use, land-use change and forestry projects. USA. : Washington, D.C..
Riebeek, H. (2010). The carbon cycle. Retrieved March, 9, 2019, from http://earthobservatory.nasa.gov.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-05-28 (2)
- 2020-11-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด