ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อความเข้มข้นของฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
PM10, meteorological factors, Na Phra Lan Sub – districtบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยากับความเข้มข้นของ ฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี) รวมทั้งสร้างแบบจำลองสำหรับพยากรณ์ความเข้มข้นของ PM10 โดยนำข้อมูลปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาและ PM ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2558 มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ความกดอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิอากาศ และความเร็วลม มีความสัมพันธ์กับ PM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.838 0.581 0.488 0.440 และ 0.402 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีถดถอยเชิงพหุคูณพบว่า ความกดอากาศ ความเร็วลม และปริมาณน้ำฝน สามารถอธิบายความผันแปรของ PM ได้ประมาณร้อยละ 74.90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้ ผลการศึกษาแยกตามช่วงฤดูกาลสรุปได้ว่า ความเข้มข้นของ PM เพิ่มขึ้นเมื่อความกดอากาศสูง ขณะที่ความเร็วลม อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่มีสภาพอากาศเย็นและแห้ง มีผลให้ความเข้มข้นของ PM มีค่าสูงที่สุดเป็นประจำในทุกๆ ปี
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2561ก). สถานการณ์ฝุ่นละอองตำบลหน้าพระลาน ปี 2561 สูงขึ้น ปรับตัวและแนวทางป้องกันในปี 2562. สืบคืนเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561, จาก https://www.mnre.go.th/th/news/ detail/23697
กรมควบคุมมลพิษ. (2561ข). รายละเอียดเขตควบคุมมลพิษหน้าพระลาน. สืบคืนเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561, จาก https://www.pcd.go.th/info_serv/pczs/pczDetail.cfm?id=12
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2561). ข้อมูลประทานบัตรเหมืองแร่. สืบคืนเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2561, จาก https://www1.dpim.go.th/mne/mn.php
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2554). สถิติภูมิอากาศ พ.ศ. 2554-2555. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กรุงเทพฯ.
เทศบาลตำบลหน้าพระลาน. (2559).ข้อมูลตำบลหน้าพระลาน. สืบคืนเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559, จาก https://www.naphralan.go.th
อรุบล โชติพงศ์. (2541). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาปริมาณฝุ่นละอองที่มีผลกระทบต่อระบบการหายใจ. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Aryal, R. K., B. K. Lee, R. Karki, A. Gurung, J. Kandasamy, B.K. Pathak, S. Sharma and N. Giri. (2010). Seasonal PM10 dynamics in Kathmandu valley. Atmospheric Environment, 42(37), 8623-8633.
Cheng, Y., K. F. Ho, S. C. Lee and S. Law. (2006). Seasonal and diurnal variations of PM10, PM2.5 and PM10 in the roadside environment of Hong Kong. China Particuology, 4(6), 1672-2515.
Galindo, N., M. Varea, J. Gil-Molto, E. Yubero and J. Nicolas. (2010). The influence of meteorology on particulate matter concentrations at an urban Mediterranean location. Water Air & Pollution, 215(1-4), 365-372.
Harrison, R. M., A. M. Jones and R. Barrowcliffe. (2004). Field study of the influence of meteorological factors and traffic volumes upon suspended particle mass at urban roadside sites of differing geometries. Atmospheric Environmental, 38(37), 6361-6369.
Zhao, C.X., Y. Q. Wang, Y. J. Wang, H. L. Zhang and B. Q. Zhao. (2014). Temporal and spatial distribution of PM2.5 and PM10 pollution status and the correlation of particulate matters and meteorological during winter and spring in Beijing. Environmental Science, 35, 418- 427.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด