การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ (Phallus indusiatus) โดยใช้ใบไม้ผลชนิดต่างๆ ใต้ค้างบวบและค้างมะระ
คำสำคัญ:
เห็ดเยื่อไผ่, การเพาะเห็ด, ใบไม้ผลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เพื่อพัฒนาการนำใบของไม้ผลชนิดต่างๆ มาเพาะเห็ดเยื่อไผ่ใต้ค้างบวบและค้างมะระ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ 2 ปัจจัย ปัจจัยแรก คือ ชนิดของผักขึ้นค้าง มี 2 ชนิด คือ บวบ และมะระ ปัจจัยที่ 2 คือ ใบของไม้ผลชนิดต่างๆ มี 3 ชนิด คือ
ใบทุเรียน ใบลำไย และใบเงาะ โดยทำการทดลองที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี พบว่า การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ใต้ค้างมะระด้วยใบทุเรียนให้ดอกเร็วที่สุด คือ 38.7 วัน หลังการใส่เชื้อลงแปลง แต่ไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ p > 0.05 กับการเพาะใต้ค้างบวบด้วยใบทุเรียนและใบเงาะซึ่งจะออกดอกเมื่อใส่เชื้อลงแปลงได้ 42 วัน และ 44.7 วัน ตามลำดับ การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ใต้ค้างมะระด้วยใบทุเรียนสามารถเก็บดอกได้ถึง 12 ครั้ง และการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ใต้ค้างบวบด้วยใบทุเรียนสามารถเก็บดอกได้ 9 ครั้ง ในระยะเวลาการเก็บผลผลิต 82 วัน การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ใต้ค้างมะระด้วยใบทุเรียนให้จำนวนดอกและผลผลิตทั้งหมดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร มากที่สุด คือ 14 ดอก และ 348.3 กรัม ตามลำดับ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ p > 0.05 กับสิ่งทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ การเพาะเห็ดเยื่อไผ่ใต้ค้างบวบด้วยใบเงาะให้น้ำหนักสดดอก น้ำหนักแห้งดอก และมีความยาวร่างแหมากที่สุด คือ 48.2 กรัม 2.8 กรัม และ 23.3 เซนติเมตร ตามลำดับ
References
การแพทย์.
นิรนาม. (2558). 2 กันยายน 2558. https://www.greenclinic.in.th/dictyophora.html.
สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ. (2558). โครงการวิจัยและพัฒนาเห็ดเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรมวิชาการเกษตร
กรุงเทพฯ.
A Brief Introduction to Long net stinkhorn (Dictyophora indusiata). Retrieved December 6, 2016, from
https://unicornbags.com/cultivation/dictyophora-indusiata/.
Phallus indusiatus. Retrieved August 10, 2017, from https://en.wikipedia.org/wiki/Phallus_indusiatus,.
Chang, S. T., & Miles, G.P. (2004). Mushroom : Cultivation Nutritional Value, Medicinal Effect, and Environmental, Boca
Raton. Florida: CRC Press.
Changrong, L., & Liubang, T. (1991). Cultivation Dictyophora indusiata Under Bamboo Stands. Chinese Journal of
Ecology, 34(4). Retrieved August 26, 2008, from https://www.cje.net.cn/EN/abstract 3867.shtml.
Jong-Chun Cheong., Gwang-Po Kim., Han-Kyoung Kim., Jeong-Sik Park., & Bong-Koo Chung. (2000). Cultural
Characteristics of Veiled Lady Mushroom, Dictyophora spp. Mycobiology, 28(4), 165-170.
Yang, Q. Y., & Jong, S. C. (1987). Artificial Cultivation of the Veiled Lady Mushroom, Dictyophora indusiata. In Wuest,
P.J., Royse, D.J., Beelman, R.B.(eds.). Cultivating Edible Fungi: International Symposium on Scientific and
Technical Aspects of Cultivating Edible Fungi (IMS 86) (pp. 437-442). July 15–17, 1986 Proceedings.
Zhou, F. L., & Qiao, C. S. (1989). Initial Research on the Rapid Cultivation of Dictyophora indusiata [Abstract].
ZhongguoShiyongjun (Edible Fungi of China) (in Chinese), 1, Retrieved August 26, 2008, from
https://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTAL-ZSYJ198901007.htm.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด