การเปรียบเทียบผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ระหว่างการใช้การดูแลแบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(GAP) กับการดูแลแบบเกษตรกรทั่วไป ในตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
มะม่วงน้ำดอกไม้, การดูแลแบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, การดูแลแบบเกษตรกรทั่วไปบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการดูแลมะม่วงน้ำดอกไม้แบบเกษตรกรทั่วไปและแบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนด้านผลผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ คุณภาพและค่าใช้จ่ายระหว่างการดูแลที่ใช้แบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) กับการดูแลแบบเกษตรทั่วไป และเพื่อเผยแพร่ผลการวิจัยโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เกษตรกรในตำบลสาวชะโงก การวิจัยนี้ใช้สวนที่มีมะม่วงน้ำดอกไม้จำนวน 3 สวน แต่ละสวนใช้มะม่วงน้ำดอกไม้ 12 ต้น ที่ใช้การดูแลแบบ GAP และแบบการดูแลของเกษตรกรทั่วไป การวัดผลผลิตแปลงทดลองได้ผลมะม่วงจำนวน 1,062 ผล น้ำหนัก 346.60 กิโลกรัม เฉลี่ย 323.70 กรัมต่อผล แปลงควบคุมได้จำนวน 685 ผล คิดเป็นน้ำหนัก 201.24 กิโลกรัม เฉลี่ย 293.80 กรัมต่อผล จำนวนต่างกัน 377 ผล ได้น้ำหนักต่างกัน 145.36 กิโลกรัม เงินที่ขายได้จากแปลงทดลอง 17,290 บาท แปลงควบคุมขายได้ 7,043.40 บาท แต่รายจ่ายของแปลงทดลองมากกว่า 4,362.00 บาท พบว่า มีรายได้สุทธิแปลงทดลองมากกว่า 5,884.60 บาท ดังนั้น ถ้าเกษตรกรมีมะม่วงน้ำดอกไม้ 5 ไร่ จะมีรายได้สุทธิมากกว่า 78,461.33 บาท เพราะถ้าคิดในด้านเศรษฐศาสตร์ มูลค่าที่จะเพิ่มได้จากการลดต้นทุนในปีต่อไปคือ สามารถลดการใส่ปุ๋ยเคมีลงได้ และมูลค่าถุงคาร์บอนที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก (80%) จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลมะม่วงน้ำดอกไม้และนำผลการวิจัยนี้สู่เกษตรกรชุมชนสาวชะโงก จำนวน 29 คน พบว่า ผลประเมินมีความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (4.05±0.60) และผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้มีระดับมากที่สุด (4.56±0.51) สรุปได้ว่า การดูแลมะม่วงน้ำดอกไม้ด้วยระบบ GAP ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่า เพราะเป็นผลจากการดูแลอย่างมีขั้นตอน ใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมกำจัดศัตรูพืชได้ดี มีการห่อผลที่ป้องกันโรคและแมลง ซึ่งต่างจากการดูแลแบบเกษตรทั่วไปที่ดูแลเพียงบางขั้นตอน ใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกเพียงบางปี ป้องกันโรคและแมลงเพียงบางช่วงเท่านั้น ห่อผลมะม่วงเพียงบางส่วน โดยเหตุผลที่ไม่ต้องการลงทุนมาก และจะได้ผลคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ถ้าเกษตรกรดูแลมะม่วงน้ำดอกไม้ด้วยระบบ GAP จะสามารถเพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพและมีรายได้เพิ่ม
References
พิภพ ปราบณรงค์. (2536). ผลกระทบจากการทำนากุ้งต่อสมบัติทางเคมีของดินในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. กรุงเทพฯ
วรรณภา เสนาดี. (2559). พื้นที่ 10 ไร่ ก็ทำมะม่วงส่งออกได้ด้วยการรวมกลุ่ม. วารสารเคหะการเกษตร, 40(5), 107-110.
วีรภัทรา ดอนไพรอ่อน, รัตนา นาคสิงห์, วันดี วัฒนชัยยิ่งเจริญ และ ธัชคณิน จงจิตวิมล. (2561). ความหลากชนิดของมดในสวนมะม่วง จังหวัดพิษณุโลก. PSRU Journal of Science and Technology, 3(1), 1-8.
สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2560). สรุปข้อมูลการปลูกมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ.2557- 2558. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, จาก http://www.chacho-engsao.doae.go.th/
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2554. 10(1) กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2559, จาก http://www.nesdb.go.th/
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (Good Agricultural Practices: GAP). สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560 จาก https://www.acfs.go.th/standard/download/GAPfood%20crop.pdf
สุจิกา ฉิมอ่อง. (2557). เจตคติของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และการผลิตแบบมีสัญญาซื้อขายในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 561-585.
สุจิตรา ชูเกิด, ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร และ วิชุดา เกตุใหม่. (2555). การตกค้างของสารเคมีจากการทำนา. เอกสารประชุมวิชาการ. การประชุมทางวิชาการ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยพะเยา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด