ผลของชนิดเนื้อสัตว์ต่อคุณภาพของไส้อั่วสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
คำสำคัญ:
เนื้อสัตว์, ไส้อั่วสมุนไพร, ไขมันต่ำ, คนรักสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เนื้อชนิดต่างๆ (เนื้อสุกร เนื้อไก่ และเนื้อปลาน้ำจืดบางชนิด) ต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไส้อั่วสมุนไพร โดยแบ่งการทดลองเป็น 6 กลุ่ม ตามวัตถุดิบ ได้แก่ กลุ่มที่ใช้เนื้อสะโพกสุกรผสมไขมันสุกร (กลุ่มควบคุม) เนื้อสะโพกสุกร เนื้อหน้าอกไก่กระทง เนื้อปลานิล เนื้อปลาสวาย และเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย ตามลำดับ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ในแต่ละกลุ่มการทดลองทำ การทดลอง 4 ซ้ำ ผลิตภัณฑ์ไส้อั่วของแต่ละกลุ่มนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี ค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (water activity, aw) ร้อยละของการสูญเสียน้ำหนักหลังการปรุงสุก (% cooking loss) และวัดสีภายในของผลิตภัณฑ์ ค่าความสว่าง (L*), ค่าสีแดง (a*), ค่าสีเหลือง (b*) ส่วนการทดสอบทางประสาทสัมผัส วางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely Block Design (RCBD) และศึกษาต้นทุนในการผลิต จากการทดลองพบว่าไส้อั่วสมุนไพรที่ใช้เนื้อปลาสวายมีค่าร้อยละของความชื้นสูงที่สุด และไส้อั่วที่ใช้เนื้อสะโพกสุกรผสมไขมันสุกรมีความชื้นต่ำที่สุด (P<0.05) ไส้อั่วที่ใช้เนื้อหน้าอกไก่มีค่าร้อยละโปรตีนสูงที่สุดมีค่าเท่ากับร้อยละ 24.79 และไส้อั่วที่ใช้เนื้อปลาสวายมีค่าร้อยละของโปรตีนต่ำที่สุดมีค่าเท่ากับร้อยละ 17.71 (P<0.05) ส่วนไส้อั่วที่ใช้เนื้อสะโพกสุกรผสมไขมันสุกร มีค่าร้อยละของไขมันและพลังงานสูงที่สุด ไส้อั่วที่ใช้เนื้อปลานิลมีค่าร้อยละของไขมันและพลังงานต่ำที่สุด (P<0.05) ค่าร้อยละของเถ้าของไส้อั่วทุกกลุ่มการทดลองมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ค่า aw ของไส้อั่วทุกกลุ่มการทดลองมีค่าอยู่ระหว่าง 0.889-0.911 ค่าร้อยละการสูญเสียน้ำหนักหลังการปรุงสุกของไส้อั่วที่ใช้เนื้อหน้าอกไก่มีค่าสูงสุด และไส้อั่วที่ใช้เนื้อปลาดุกมีค่าต่ำสุด ไส้อั่วที่ใช้เนื้อปลาดุกมีค่า L* และค่า b* ต่ำที่สุด (P<0.05) ไส้อั่วที่ใช้เนื้อหน้าอกไก่มีค่า L* และค่า b* สูงที่สุดแต่มีค่า a* ต่ำที่สุด (P<0.05) ไส้อั่วที่ใช้เนื้อปลาสวายมีค่า a* สูงที่สุด (P<0.05) จากการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส ผู้บริโภคให้คะแนนความชอบในด้านคุณลักษณะต่างๆ ทุกกลุ่มการทดลองอยู่ในระดับเฉยๆ ถึงชอบปานกลาง ซึ่งมีคะแนนอยู่ระหว่าง 5.08-6.82 (P<0.05) เมื่อคำนวณต้นทุนของไส้อั่วสมุนไพรที่ยังไม่ผ่านกระบวนการปรุงสุกต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมของวัตถุดิบเนื้อที่ใช้ พบว่าไส้อั่วสมุนไพรที่ใช้เนื้อปลานิลมีต้นทุนในการผลิตสูงที่สุด ส่วนไส้อั่วที่ใช้เนื้อหน้าอกไก่ติดหนังมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด เมื่อพิจารณาถึงคุณค่าทางโภชนาการ และการยอมรับของผู้บริโภค ผู้ผลิตสามารถใช้เนื้อสะโพกสุกร เนื้อหน้าอกไก่กระทง เนื้อปลานิล เนื้อปลาสวาย หรือเนื้อปลาดุกเป็นวัตถุดิบผลิตไส้อั่วที่มีไขมันต่ำสำหรับคนรักสุขภาพ
References
เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน, ดวงพร อมรเลิศพิศาล, สุดาพร ตงศิริ, ชนกันต์ จิตมนัส, วิวัฒน์ หวังเจริญ และ ธนนันท์ ศุภกิจจานนท์. (2555). คู่มือการเพาะเลี้ยงปลาบึก ปลาสวาย และปลาลูกผสม (บึกสยาม) เพื่อเพิ่มมูลค่าและการตลาด. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
จุฑารัตน์ เศรษฐกุล. (2540). การจัดการโรงฆ่าสัตว์. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
นิชนันท์ ขึ้นกลาง, รณชัย สิทธิไกรพงษ์ และ จันทร์พร เจ้าทรัพย์. (2557). เปอร์เซ็นต์ซากและคุณภาพเนื้อของเป็ดเนื้อและไก่เนื้อ. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเนื้อสัตว์ ครั้งที่ 5 : การผลิตเนื้อสัตว์ภายใต้การแข่งขันทางการค้าโลก, 25-26 กรกฎาคม 2557 ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พาขวัญ ทองรักษ์. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้อั่วปลาไขมันตํ่า. คณะวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. (ม.ป.ป). แอคติวิตีน้ำ. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2559, จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0551/water-activity-แอคติวิตีน้ำ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2547). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนไส้อั่ว มผช. 294/2547, 1-5.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2549). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชุนไส้อั่วปลา มผช. 1225/2549, 1-6.
สุกัญญา วงวาท. (2544). การผลิตไส้อั่วลดไขมัน. โครงการวิจัยสาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โสมศิริ สมถวิล และ สุจินดา ศรีวัฒนะ. (2555). การใช้สเกลความพอดีในการปรับสูตรไส้อั่ว. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50, 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2555, กรุงเทพฯ.
AOAC. (2000). Official Methods of Analysis. (17thEd.) Washington, DC : The Association of Official Analytical Chemists.
Devine, C.E., Wahlgren, N.M. and Tornberg, E. (1999). Effect of rigor temperature on muscle shortening and tenderization of restrained and unrestrained beef m. longissimus thoracicus et lumborum. Meat Science, 51, 61-72.
Luangvaree, P., Suwannarat, Y., Chimliang, T. and Puttame, K. (2017). Effect of Pork Belly and Broiler Chicken Meat on the Quality of Herb Sai Oua (Spicy Thai Herb Sausage). International Journal of Agricultural Technology, 13(7.3), 2345-2353.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด