การวิเคราะห์หาสารต้านอนุมูลอิสระในข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวหอมดอกมะลิ 105
คำสำคัญ:
สารต้านอนุมูลอิสระ, ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ข้าวหอมดอกมะลิ 105, แอนโทไซยานินบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของ ข้าวกล้องที่มีสีและไม่มีสี ทั้งที่ผ่านกระบวนการงอกและกระบวนการหุงด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl พบว่า ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีสีม่วงแดงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าข้าวหอมดอกมะลิ 105 ที่มีสีขาว โดยพบปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีทีอีเอซีเท่ากับ 883.03 และ 690.14 ไมโครโมลต่อกรัม ตามลำดับ และเมื่อนำข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์มาผ่านกระบวนการหุง ในสภาวะอุณหภูมิในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าในครัวเรือน พบว่า ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระลดลงทั้ง 2 สายพันธุ์เท่ากับร้อยละ 3.57 และ 3.81 ของข้าวสายพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่หุงและข้าวหอมดอกมะลิ 105 หุง ตามลำดับ นอกจากนี้กระบวนการงอกหลังจากการแช่น้ำ 12 ชั่วโมง และปล่อยให้งอก 2 วัน พบว่า ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระลดลงทั้ง 2 สายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามข้าวไรซ์เบอร์รี่งอกหุงจะยังคงมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่มากกว่าข้าวหอมดอกมะลิงอกหุงที่เท่ากับ 2.16 เท่า แสดงให้เห็นว่าข้าวที่มีสีอาจจะมีปริมาณแอนโทไซยานินที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าข้าวไม่มีสี และกระบวนการงอกที่ระยะเวลาดังกล่าวไม่มีผลในการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ในขณะที่กระบวนการหุงทำให้สารต้านอนุมูลอิสระลดลงทั้ง 2 สายพันธุ์
References
วัชรี หาญยิ่ง. (2549). อนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระในกลไกของการเกิดมะเร็ง. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(3), 199-208.
ศิริพร คำชุ่ม. (2559). การพัฒนาเครื่องดื่มข้าวหมากจากข้าวมีสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.
Chutipaijit S., Cha-um S. and Sompornpailin K. (2009). Differential accumulations of proline and flavonoids in Indica rice varieties against salinity, Pak. J. Bot., 41(5), 2497-2506.
Daiponmak W., Theerakulpisut P., Thanonkao P., Vanavichit A. and Prathepha P. (2010). Changes of anthocyanin cyaniding-3-glucoside content and antioxidant activity in Thai rice varieties under salinity stress. Science Asia, 36, 286-291.
Department of Science Service. (2010). Anthocyanin. Bangkok: Ministry of Science and Technology. (in Thai).
Ghosh SK., Missra A., Gilmour DS. (2011). Negative elongation factor accelerates the rate at which heat shock genes are shut off by facilitating dissociation of heat shock lactor. Mol. Cell Biol., 31, 4232-4243.
Umnajkitikorn K., Faiyue, B. and Saengnil K. (2013). Enhancing Antioxidant Properties of Germinated Thai rice (Oryza sativa L.) cv. Kum Doi Saket with Salinity. J. Rice Res., 1, 1-8.
Urtgam, S. and Jongjitvimol, T. (2019). Landrace Rice in Phitsanulok Province. PSRU Journal of Science and Technology, 4(1), 19-27.
Walter M., Marchesan E., Massoni P.F.S., Silva L.P.D., Sartori G.M.S. and Ferreira R.B. (2013). Antioxidant properties of rice grains with light brown, red and black pericarp colors and the effect of processing. Food Res Int, 50, 698-730.
Wang R. (1999). Quantitative structure-activity relationship analysis of phenolic antioxidants. Shandong Medical University, Jinan, Shandong 250012, P. R. China, 26, 285-294.
Yawadio R., Tanimori S. and Morita N. (2007). Identification of Phenolic compounds isolated from pigmented rices and their aldose reductase inhibitory activities. Food Chem., 101, 1616-1625.
Zhang M., Guo B., Zhang R., Chi J., Wei Z., Xu Z., Zhang Y. and Tang X. (2006). Separation, purification and identification of antioxidant compositions in blank rice. Agr Sci China., 5, 431-440.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด