การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูแผ่นกรอบเสริมใยอาหารจากเปลือกกล้วยน้ำว้า

ผู้แต่ง

  • กุลชญา สิ่วหงวน
  • ผกาวดี ภู่จันทร์
  • โสรัจ วรชุม อินเกต
  • จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง
  • วิรัชยา อินทะกัณฑ์
  • สุสิตรา สิงโสม

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ขนมขบเคี้ยว, เปลือกกล้วยน้ำว้า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากเปลือกกล้วยน้ำว้า ศึกษาองค์ประกอบทางเคมี คุณภาพทางกายภาพ และคุณภาพทางจุลินทรีย์ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากเปลือกกล้วยน้ำว้า โดยเสริมผงเปลือกกล้วยน้ำว้าในปริมาณ 3 ระดับ คือ ร้อยละ 5 10 และ 15 ของน้ำหนักหมูบด จากนั้นทำการทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส (9-Point Hedonic Scale Test) พิจารณาทางด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และการยอมรับโดยรวม โดยใช้ผู้ทดสอบจำนวน 100 คน พบว่า ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากเปลือกกล้วยน้ำว้าร้อยละ 5 มากที่สุด (p ≤ 0.05) จากนั้นทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากเปลือกกล้วยน้ำว้าร้อยละ 5 มีโปรตีนร้อยละ 30.91 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 42.04 ไขมันร้อยละ 6.94 ความชื้นร้อยละ 15.30 เถ้าร้อยละ 4.81 ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ 1.27 กรัมต่อ 100 กรัม และให้พลังงานทั้งหมด 412 กิโลแคลอรี่ จากการศึกษาคุณภาพทางกายภาพ พบว่า ค่า aw ของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 0.65 และค่าสี L* a* b* เท่ากับ 31.09, 12.50  และ 10.29  ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากเปลือกกล้วยน้ำว้าร้อยละ 5 มีคุณภาพทางจุลินทรีย์เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-30

How to Cite

สิ่วหงวน ก., ภู่จันทร์ ผ., อินเกต โ. ว., แก้วศรีทอง จ., อินทะกัณฑ์ ว., & สิงโสม ส. (2018). การพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูแผ่นกรอบเสริมใยอาหารจากเปลือกกล้วยน้ำว้า. PSRU Journal of Science and Technology, 3(1), 28–37. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/114376