ปรัชญา ญาณวิทยา และการวิจัยในยุคปฏิฐานนิยม

ผู้แต่ง

  • พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

คำสำคัญ:

ปรัชญา, ญาณวิทยา, วิจัย, ปฏิฐานนนิยม

บทคัดย่อ

ปรัชญา มีความหมายและคำนิยามที่แตกต่างกันออกไปตามความเข้าใจของนักปรัชญาแต่ละท่าน ในความหมายทางตะวันตก หมายถึง ความรอบรู้ เห็นแจ้งในสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง ซึ่งมีความหมายเดียวกับคำว่า ปัญญา หมายถึง การรู้แบบสิ้นสุด ไม่มีกิจอันใดต้องแสวงหาอีก แต่ถ้ามองในมุมของบุคลิกภาพของมนุษย์ ปรัชญาจะหมายถึง เจตคติส่วนบุคคลต่อชีวิตและเอกภพ ที่แสดงออกมาในลักษณะของพฤติกรรมหรือศักยภาพอย่างหนึ่งที่สามารถใช้สติปัญญาพิจารณาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือที่สงสัย ญาณวิทยาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา โดยจะมุ่งศึกษาหรือค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ที่มนุษย์รู้ได้ มุ่งตอบปัญหาและความสัมพันธ์ของมนุษย์กับโลก โดยปฏิฐานนิยมยุคหลังจะถือว่าความจริงมีธรรมชาติเป็นภววิสัย ในกระบวนการศึกษาวิจัยนั้น นักวิจัยจะพบกับดักทางค่านิยมและอคติของตัวเอง ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะดำเนินการวิจัยอย่างเป็นกลางจริงๆ เพราะนักวิจัยย่อมมีค่านิยม มีความโน้มเอียงที่อาจมีผลต่อการดำรงภววิสัยในการทำวิจัยได้ โดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับผู้ถูกศึกษา (กลุ่มตัวอย่าง) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงกันไม่ได้ ดังนั้น การวิจัยย่อมได้รับผลกระทบจากปฏิสัมพันธ์นั้นเสมอจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความตระหนักของนักวิจัยแต่ละคน ดังนั้นนักวิจัยและผู้ถูกศึกษา (กลุ่มตัวอย่าง) ควรเป็นอิสระต่อกัน นักวิจัยควรมีลักษณะวัตถุวิสัยมุ่งเพื่อหาความจริงเป็นหลัก ส่วนมากใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การทดลอง มีการควบคุมการวิจัย และมีการทวนสอบสมมติฐานอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและการวิเคราะห์เชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ตรรกะหรือความเป็นเหตุเป็นผล เนื่องจากเชื่อว่าทุกอย่างทดสอบและพิสูจน์เชิงประจักษ์ได้นั้นเอง

References

กฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ). (2553). จินตนาการใหม่ทางสังคมวิทยา. ในมหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, กระบวนการทัศน์กับการแสวงหาความรู้ทางสังคม: การประชุมเชิง ปฏิบัติการ จินตนาการใหม่ทางสังคมวิทยา (น. 170-195). กรุงเทพ: ผู้แต่ง.
ชนิดา จิตตรุทธะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ: ความแตกต่างของความเชื่อทางญาณวิทยา วารสารการจัดการสมัยใหม่, 7(2), 13-26.
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. (2557). วิจัยและประเมิน Research & Evaluation. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 20(1), 1-11.
เด่นพงษ์ แสนคำ. (2561). ความเป็นวิทยาศาสตร์ของสังคมศาสตร์ : บทวิเคราะห์จากปรัชญวิทยาศาสตร์ของคาร์ล ปอปเปอร์ วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 2-17.
พระมหาสมเจต สมจารี. (2560). แนวคิดเรื่องอภิปรัชญา ญาณวิทยา และคุณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารศึกษาศาตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(1), 76-85.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2555). ปรัชญาสังคมศาสตร์และกระบวนทัศน์ในการแสงหาความรู้. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 1(1), 78-88.
วัชระ งามจิตรเจริญ. (2560). ปรัชญา ศาสนา เทววิทยาและวิทยาศาสตร์. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ ปริทรรศน์, 1(1), 1-16.
ศิรพร จิรวัฒน์กุล. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Vol. 3). กรุงเทพฯ: บริษัทิทยพัฒน์ จำกัด.
ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ. (ม.ป.ป). แนวทางการวิจัยทางรัฐศาสตร์ท่ามกลางสงครามกระบวนทัศน์. Retrieved 20 กุมภาพันธ์, 2562, from http://www.esbuy.net/_files_school/00000875/document/00000875_0_201 60214-112449.pdf
สุมาลี ไชยศุภรากุล. (2558). กระบวนทัศน์ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารจันทรเกษมสาร, 21(40), 1-8.
สัญญา เคณาภูมิ. (2557). ปรัชญาการวิจัย: ปริมาณ คุณภาพ. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 3(2), 22-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-09