การพัฒนาเครื่องพิมพ์ขึ้นรูปข้าวแต๋น สำหรับกลุ่มผู้ผลิตข้าวแต๋น ในเขตเทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ภูมิพงษ์ ดวงตั้ง*, ธนาวุฒิ ธนวาณิชย์, กฤตกรณ์ ศรีวันนา, รุ่งโรจน์ สุขใจมุข และ ภานุพันธ์ จิตคำ

Main Article Content

ภูมิพงษ์ ดวงตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาและออกแบบเครื่องพิมพ์ขึ้นรูปข้าวแต๋นสำหรับกลุ่มผู้ผลิตข้าวแต๋นในเขตเทศบาลตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย คณะผู้วิจัยได้ออกแบบเครื่องพิมพ์ขึ้นรูปข้าวแต๋นให้มีการทำงานแบบอัตโนมัติควบคุมการทำงานโดยระบบสมองกลอัตโนมัติ และใช้มอเตอร์ชนิดสเต๊ปปิ้งในการควบคุมแขนปาดข้าว ในการทำงานของเครื่องเริ่มจากผู้ผลิตข้าวแต๋นทำการเทข้าวที่ทำการผสมส่วนผสมเรียบร้อยแล้วลงบนเครื่องจากนั้นเครื่องจะทำการปาดข้าวลงบนแบบพิมพ์ไปกลับอัตโนมัติโดยการปาดไป – กลับ จำนวน 4 รอบโดยแต่ละรอบนั้นจะมีความเร็วในการปาดที่ไม่เท่ากันซึ่งความเร็วดังกล่าวนั้นเกิดจากการทดลองจนได้ค่าที่เหมาะสม และเมื่อทำการปาดข้าวลงบนแบบพิมพ์เรียบร้อยเครื่องจะทำการเลื่อนถาดรองข้าวแต๋นที่พิมพ์ขึ้นรูปเรียบร้อยแล้วลงมาอัตโนมัติ หลังจากนั้นผู้ผลิตก็จะทำการดึงถาดพิมพ์เพื่อนำข้าวที่ได้ไปตากแดด ในการพิมพ์ขึ้นรูปข้าวแต๋นต่อรอบใช้เวลาโดยเฉลี่ย 1.40 นาที โดยแม่พิมพ์ขึ้นรูปข้าวแต๋นที่ผู้วิจัยได้ออกแบบนั้นจะสามารถขึ้นรูปได้จำนวน 42 ชิ้นต่อรอบ ซึ่งสามารถลดเวลาในการพิมพ์แบบข้าวแต๋นด้วยวิธีเดิมเป็นอย่างมาก อีกทั้งสามารถทำการผลิตได้ครั้งละมากๆ และยังลดการใช้แรงงานทำให้ประหยัดค่าจ้างในการจ้างแรงงาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

บัญทัน ศรีบุญเรือง. (2548). .การออกแบบและสร้างเครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นอัตโนมัติ. รายงานวิจัยภาควิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและแปรสภาพ คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ.

สมชาย เบียนสูงเนิน (2552). สร้างและพัฒนาอุปกรณ์ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:อีทีที. 2552.

ไวยพจน์ ศุภบวรเสถียร. (2556). เครื่องหยอดขนมครกอัตโนมัติควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5. ประเทศไทย.

บัญญัติ นิยมวาส. (2560). “การพัฒนาเครื่องหั่นย่อยหอมแดง” การประชุมวิชาการรสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 18 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 10. ประเทศไทย.

โกศล มูสโกภาศ. (2556). การพัฒนาออกแบบสร้างเครื่องย่อยเปลือกมะพร้าวแห้งเพื่อใช้ในการเพาะชำต้นกล้า. Princess of Naradhiwas University Journal 5(2). 48-56.

จักรนรินทร์ ฉัตรทอง, วรพงศ์ บุญช่วยแทน และ รอมฎอน บูระพา.(2554). การออกแบบและสร้างเครื่องซอยขิงแบบกึ่งอัตโนมัติ.รายงานการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี2554, 1039-1045. จังหวัดชลบุรี.