การพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน -
  • นพรัตน์ ประทุมนอก
  • ชัยอนันต์ กิจชัยรัตน์
  • สราวุฒิ อุบลหอม

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, กิจกรรม, แอปชีต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแนวคิด Low-code เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต และประเมินความพึงพอใจแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศจำนวน 5 ท่าน และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 50 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย มีดังนี้ 1) แอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต 2)แบบประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต ประกอบด้วย โมดูลการสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตรและคิวอาร์โค้ด โมดูลการสมัครสมาชิก โมดูลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร และโมดูลการสร้างรายงาน 2) ผลการประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ พบว่า แอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีตมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = 0.72) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต โดยนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พบว่ามีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีตอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D. = 0.53)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ดำรงฤทธิ์ จันทรา. (2563). การประยุกต์ใช้โปรแกรม Appsheet พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อใช้ในการสอนพลศึกษา เรื่องสัญลักษณ์ของผู้ตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 14(1). 83-94.

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). AT คืออะไร ?. สืบค้นจาก https://mahidol.ac.th/th/new-current-student/activity-transcript/

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2558). หลักสูตรพัฒนากิจกรรมนักศึกษา กิจกรรมนอกหลักสูตรจากการเรียนการสอน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558). สืบค้นจาก https://std.kpru.ac.th/th/ documents/activity-course-2558.pdf

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (ม.ป.ป.). คู่มือปฏิบัติงาน กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นจาก https://student.psu.ac.th/TS234/files/ts.pdf? fbclid=IwAR2skNEV3V06dcKuyllJHxbF4Ls2mLrry_t3V2zKGTubzoTymRAxlTjdO88

มัชฌกานต์ เผ่าสวัสดิ์ และ ประภากรณ์ คัดทจันทร์. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดพยายัง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(3). 33-42.

อารี อยู่ภู่, วรพจน์ สำราญทรัพย์ และสิริวรรณ ดิษทรัพย์. (2561). การพัฒนารูปแบบรายงานและติดตามผลการดำเนินงาน (PA) ออนไลน์. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. 5(1). 46-53.

Beartai. (2021). LOW-CODE คืออะไร ทำไมถึงช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น?. สืบค้นจากhttps://www.beartai.com/feature/819563

Google. (n.d.). จัดการ AppSheet ในองค์กร. สืบค้นจาก https://support.google.com/a/ answer/10100275?hl=th&ref_topic=10562983

Marketingoops. (2020). ทำความรู้จัก Low-Code ประสบการณ์ของนักพัฒนาแอปฯ ยุคใหม่ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ในเอเชียแปซิฟิค. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/ digital-transformation/low-code/

Techtalkthai. (2019). Low-code Development Platform คืออะไร?. สืบค้นจาก https://www.techtalkthai.com/what-is-low-code-development-platform-by-outsystems/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30