การพัฒนาสติกเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดการ์ตูนหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • วิศรุต ขวัญคุ้ม หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

สติกเกอร์การ์ตูน, แอปพลิเคชันไลน์, การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ, หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและออกแบบสติกเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดการ์ตูนคาแรกเตอร์อาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสติกเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดการ์ตูนคาแรกเตอร์อาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผลงานจากการจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการเรียนรู้เชิงผลิตภาพ (Productive Learning) ในรายวิชาการแสดงผลข้อมูลด้วยภาพและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ โดยการออกแบบและพัฒนาเริ่มจากการศึกษาลักษณะเฉพาะตัวของอาจารย์ในหลักสูตรแต่ละท่าน การออกแบบภาพโครงร่างตามคาแรกเตอร์ การใช้เครื่องมือวาดเป็นไฟล์ดิจิทัลตามข้อกำหนดของ Line Creator Market และการนำสติกเกอร์ฉบับสมบูรณ์อัปโหลดขึ้นร้านค้า การวิจัยนี้ได้มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้สติกเกอร์ เป็นจำนวน 50 คน ด้วยการใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ผลจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้มีความพึงใจต่อสติกเกอร์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.657 ดังนั้นสรุปได้ว่าสติกเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดการ์ตูนคาแรกเตอร์อาจารย์หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานแทนการแสดงความรู้สึกหรือแทนข้อความในแอปพลิเคชันไลน์ได้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์, พรปภัสสร ปริญชาญกล, จิราภรณ์ ไพบูลย์นภาพงศ์, ชนิกานต์ ปฏิทัศน์ และธัญญริญญ์ พวัสส์คงสิน. (2558, กรกฎาคม - ธันวาคม). การพัฒนาสติ๊กเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดอาเซียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ ขององค์การบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(2), 155-184.

ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). แนวโน้มคนไทยใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562, จากhttp://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ActivityNSO/A24-05-60.aspx

เจนจิรา อาบสีนาค. (2558). มุมมองลักษณะของการ์ตูนสติกเกอร์ไลน์ Creator ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสติกเกอร์. การค้นคว้าอิสระ วท.ม. สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐิติ ปฐมชัยคุปต์ และเกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2559). อิทธิพลของรูปแบบสติ๊กเกอร์บนไลน์แอพพลิเคชั่น ที่ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของกลุ่ม Gen Y ในจังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ ครั้งที่ 12. หน้า 1549-1557. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มนัส ทองบุญเรือง, เพียงฤทัย หนูสวัสดิ์, อัชฌาพร กว้างสวาสดิ์และ กรรณิกา บุญเกษม. (2560). การพัฒนาสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อโปรโมทสินค้าโอท็อปจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ใน การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 5 (AUCC-2017). หน้า 49-56. พิษณุโลก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัฒนา ทิพย์ทอง, เพียงฤทัย หนูสวัสดิ์, อัชฌาพร กว้างสวาสดิ์, อังคณา จัตตามาศ และ พัชราภรณ์ ชัยพัฒนเมธี. (2560). การพัฒนาสติกเกอร์ไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ของชุมชนป่าละอู่. ใน การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 5 (AUCC-2017). หน้า 57-64. พิษณุโลก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมพร โกมารทัต. (2557, กันยายน - ธันวาคม). การเรียนรู้เชิงผลิตภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 25(3), 1-11.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2544). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Adobe. (2019). Adobe Illustrator. [Online]. Retrieved December 10, 2019, from https://www.adobe.com/sea/products/illustrator.html

Datareportal. (2019). DIGITAL 2019: THAILAND. [Online]. Retrieved December 10, 2019, from https://datareportal.com/reports/digital-2019-thailand

Line Creators Market. (2562). คู่มือการสร้างสรรค์ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://creator.line.me/th/guideline/sticker/

LINE Corporation. (2562). ประวัติLINE [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://linecorp.com/th/company/info

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01