พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, การป้องกันอุบัติเหตุ, จักรยานยนต์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์กับการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
วิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 206 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัย และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์กับการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษา โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 86.9 มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 86.8 การขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 65.9 แต่พบว่า การป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.2
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการขับขี่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) (r = 0.302, 0.278 และ 0.379 ตามลำดับ) ตามลำดับ)
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ระบบรายงานการตายตามสาเหตุ ข้อมูลปี 2553 – 2562. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/system/index.php?t=03
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://bps.moph.go.th/new_ bps/sites/default/files/statistic62.pdf
ดิสกุล ชลศาลาสินธุ์, และคณะ (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งใจในการสวมหมวกนิรภัยโดยทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 26-35.
ตันติมา สุนิวัชรานุพงษ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างบริเวณโรงพยาบาลรามาธิบดีกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพมหานคร.
บรรจง พลไชย และอุทัยวรรณ สุกิมานิล. (2554). พฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 5(2), 117-127.
ชนาภัทร บุญประสม และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในสถาบันกวดวิชาเขตปทุมทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 11(2), 155-164.
ธนะพงศ์ จินวงษ์. (2564). อุบัติเหตุทางถนน “ภัยเงียบ” ที่ยังอันตรายและท้าทายการจัดการ. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 1(1), 71-76.
ธนัญชัย บุญหนัก, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, ชิงชัย เมธพัฒน์, และทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความบกพร่องของผู้ขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยและความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(2), 60-70.
พนิดา เทพชาลี, กาญจนาพร อาบสุวรรณ และนิวัฒนา เข็มสุวรรณ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา ภาคการศึกษาเพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 (หน้า 873 - 882). นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.
กุลธิดา ท่าทราย, พิรัชฎา มุสิกะพงศ์ และฤทธิรงค์ พันธ์ดี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 14(1), 50-67
รัตวัลย์ ศิริเลี้ยง. (2560). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ในจังหวัดเลย. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2),15-26.
ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) (2564). สืบค้น 21 พฤษภาคม 2564, จาก https://www. roadsafetythai.org/index.html
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2564). สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2564. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2564, จาก http://roadsafetdisaster.go.th/inner.roadsafety-5.196/download/ menu_7091/
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา. (2561). สถิติการเกิดอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 2561 จังหวัด นครราชสีมา. (ออนไลน์) สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2562, จาก http://thainews.prd.go.th/ th/news/print_news/
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2564). รายงานการศึกษาสาเหตุการตายของประชากรไทย พ.ศ. 2560-62. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564, จาก https://resourcecenter.thaihealth. or.th/media-webview/ozV3
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. (2563). รายงานจำนวนนักศึกษาทั้งหมด ปีการศึกษา 2563. สืบค้น 6 มีนาคม 2564, จาก http://apro.nrru.ac.th
Best, J. W. (1981). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.
Bloom, B. S. (1964). Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David Mckay.
World Health Organization. (2018). Global Status Report on Road Safety. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.who.int/ violence_injury_prevention/road_safety_status/2018/en/
World Health Organization. (2020). Road traffic injuries. (Online) https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries, accessed 20th April 2021.
Yamane T. (1973). Statistics: An Introduction analysis (2nd ed.). New York: Harper & Row.