ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง, การมีส่วนร่วมของครอบครัว, พฤติกรรมสุขภาพ, ค่าความดันโลหิต, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัว และเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 70 คน แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับคู่ (matched pair) ให้มีความคล้ายคลึงกันด้านเพศ อายุ ระดับความดันโลหิต เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพที่ดัดแปลงจากชลการ ชายกุล (2557) มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 มีค่าความเที่ยงคือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.82 ระยะเวลาในการจัดโปรแกรมฯ 8 สัปดาห์ และติดตามผล 3 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired t-test และ independent t-test
ผลการวิจัย: 1) คะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ มีค่าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) คะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตได้
References
กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). จำนวนและอัตราป่วยโรค NCDs พ.ศ. 2559 – 2562. ค้นเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2564 จาก http://thaincd.com/2016/mission/ do cuments-detail.php?id= 13893&tid= 32&gid=1-020.
ขนิษฐา สารีพล และปทมา สุริต. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไมทราบสาเหตุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(3), 110 -116.
จันทร์เพ็ญ หวานคำ, ชดช้อย วัฒนะ และศิริพร ขัมภลิขิต. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 42(1), 49-60.
ชดช้อย วัฒนะ, จงรักษ์ ศุภกิจเจริญ, ณฐวรรณ รักวงศ์ประยูร และปริญญา แร่ทอง. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการตนเองเพื่อควบคุมโรคต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคระดับความดันโลหิต และคุณภาพชีวิตของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงใน
การศึกษาระยะยาว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 26(3), 72-89.
ชลการ ยินดี. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชัยยา นรเดชานันท์, เพชรีย์ กุณาละสิริ และณัฐกวี ศิริรัตน์. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการรับรู้ความสามารถของตนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาวะและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 14(2), 138-151.
ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2553). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นุจรี อ่อนสีน้อย, ยุวดี ลีลัคนาวีระ และชนัญชิดา ดุษฎี ทูลศิริ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีภาวะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(1), 63-74.
พนิดา จันทร์ดีแก้วสกุล, นันทิยา วัฒายุ และนันทวัน สุวรรณรูป. (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้. Journal of Nursing Science, 36(1), 31-43.
เพ็ญศิริ สิริกุล, ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม และเสริม ทัดศรี. (2553). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(3), 34 - 48.
รุ่งทิวา ขันธมูล, สมจิต แดนสีแก้ว. (2560). การจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 89-97.
วริศรา ปั่นทองหลาง, ปานจิต นามพลกรัง และวินัฐ ดวงแสนจันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย
โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(4), 152-165.
วรัฏฐรินีย์ ธนเศรษฐ. (2561). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตของกล่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงวัยทำงาน. วารสารวิชาการ สคร, 24(2). 100-111.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์.
สายพิณ เกษมกิจวัฒนา, และปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. (2557). ญาติ ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง : กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 22-31.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: อิโมชั่น อาร์ต.
อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ และนิรนาท วิทยโชคกิติคุณ. (2558). พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 9(1), 32-46.
Carey, R. M., Muntner P., Bosworth H. B. and Whelton P. K. (2018). Prevention and Control of Hypertension: JACC Health Promotion. Journal of the American College of Cardiology, 72(11), 1278–1293.
Creer, T. L. (2000). Self-management of chronic illness. California: Academic Press.
Flack, J. M., and Adekola, B. (2020). Blood pressure and the new ACC/AHA hypertension guidelines. Trends in Cardiovascular Medicine, 30(3), 160-164.
Kanfer, F. H., and Gaelick-Buys, L. (1991). Self-management methods. In F. Kanfer and A. Goldtein (Eds.),
Helping people change: A text book of methods (4th Ed.). (pp. 305-360). New York: Pergamonpress.
Li, J. D., An, W. S., Xu, Y., Zhao, X. X., Li, Z. F., Mu, Y., and et al. (2018). Mechanism of vasoactive peptide intermedin in vascular collagen remodeling during angiotensin II-induced hypertention. European review for medical and pharmacological sciences. 22(17), 5652-5658.
Joint National Committee 8. (2014). 2014 Evidence-Based Guideline for the Management of High Blood Pressure in Adults. JAMA, 311(5), 507-520.
Long, K. M., Linh, B. P., Adler, A. J., Shellaby, J. T., Aerts, A., Guire, H. M. and et al. (2020). Effect of community-based intervention on self-management of blood pressure among hypertensive adults: findings from the Communities for Healthy Hearts Quasi-experimental Study in Vietnam. Journal of Global Health Science, 2(1), 1-14.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L. and Parsons, M.,A. (2011). Health Promotion in Nursing Practicen (6th ed.). Boston, MA: Pearson.
Polit, D. F. and Hungler, B. P. (1987). Nursing research: Principles and methods (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.
Sutipan, P., Intarakamhang, U., Kittipichai, W. and Macaskill, A. (2018). Effects of Self-management Program on Healthy Lifestyle Behaviors among Elderly with Hypertension. The Journal of Behavioral Science, 13(2), 38-50.
Unger, T., Borghi, C., Charchar, F., Khan, A. N., Poulter, R. N., Prabhakaran, D. and et al. (2020). 2020 International Society of Hypertension Global Hypertension Practice Guidelines. Hypertension, 75(1), 1334-1357.
Williams, A. R., Wilson-Genderson, M., & Thomson, M. D. (2021). A cross-sectional analysis of associations
between lifestyle advice and behavior changes in patients with hypertension or diabetes: NHANES 2015-2018. Preventive medicine, 145, 106426.
World Health Organization. (2020). Hypertension. Retrieved September 19, 2021. From https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ hypertension.
World Hypertension Day 2020. (2020). Background information on high blood pressure (hypertension). Retrieved September 19, 2021. From https://publichealthupdate.com/world-hypertension-day-2020/
World Hypertension League. (2020). Healthy Blood Pressure Healthy Heart Beat (Brochure). Retrieved September 19, 2021. From http://www.worldhypertensionleague.org/Documents/WHD/๒๐๑๒/WHD%๒๐๒๐๑๒%๒๐brochure.pdf.