ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1

Authors

  • เตชาวัต แสงพรมศรี นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม
  • วัลนิกา ฉลากบาง ประธานกรรมการควบคุมภาคนิพนธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีสถานภาพ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน  และศึกษาอำนาจการพยากรณ์ขององค์ประกอบของภาวะผู้นำ  เพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร ในโรงเรียน  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม  เขต 1  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  370  คน  จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน 105 คน และครูผู้สอนจำนวน  265  คน  ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ  2 ทาง สหสัมพันธ์อย่างง่าย และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเอนเทอร์

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2.  ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

3.  ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีสถานภาพและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1  ไม่แตกต่างกัน แต่การมีสถานภาพแตกต่างกัน  พบว่าภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวม  และด้านการมุ่งความสัมพันธ์ ในฐานะเอกบุคคล  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นมากกว่าครูผู้สอน  ส่วนการมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยรวมไม่แตกต่างกันแต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเป็นแบบอย่างของพฤติกรรมด้านการสร้างแรงดลใจ  และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01

4.  ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนที่มีสถานภาพและประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 ไม่แตกต่างกัน  แต่การมีสถานภาพแตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนด้านการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น  และด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่     ระดับ .05 โดยผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นน้อยกว่าครูผู้สอน  ส่วนการมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

5.  องค์ประกอบของภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1 โดยภาพรวมสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6.  องค์ประกอบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1  ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  คือ ด้านการสร้างแรงดลใจ และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา

7.  องค์ประกอบภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนามี   2  ด้าน  คือ ด้านการสร้างแรงดลใจ และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนวทางในการพัฒนาไว้ด้วย

 

ABSTRACT

This study aimed to investigate transformational leadership and effectiveness  in academic administration of the administrators in schools under the Office of Nakhon  Phanom Educational Service Area 1, compare and relate the former variable to the latter one  based on the opinions among school administrators and teachers whose status and working  experience were different, and finally examine the predictive power of aspects in school  administrators’ transformational leadership affecting effectiveness in their academic  administration. A sample of overall 370 people was a group of 105 administrators and 265 teachers in schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 who were selected by Multi-Stage Random Sampling.  The instrument used to collect data was a questionnaire constructed by the researcher.The reliability coefficients of this questionnaire  was .98 . Statistics employed for analysis of the data were percentage, mean, standard deviation, two-way ANOVA, simple correlation and enter multiple regression  analysis.

The finding results revealed the following  :

1.  Overall transformational leadership of the administrators in schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 was at the high level.

2.  Overall effectiveness in academic administration in schools under The Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 was at the medium level.

3.  School administrators and teachers whose status and experience were different had no different opinion on transformational leadership of the administrators in  schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. Considering  different statuses, it was found that both overall transformational leadership of the school administrators and an aspect of individualized consideration were  significantly different at the .01 level. The school administrators had higher means of their  opinions than those got by the teachers. Concerning different working experiences, it was  found that the opinions on overall transformational leadership were not different. While each  aspect was considered, those of role modeling, inspirational motivation and intellectual  stimulation were found significantly different at the .01 level.

4.  School administrators and teachers whose status and experience were different had no different opinion on effectiveness in academic administration of  schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. Considering  different statuses,   it was found that effectiveness in academic administration of schools in the  individual aspects of (1) development or dealing with giving opinions on substantial local  curriculum and (2) institutional curriculum development had a significant difference at the .05  level. The administrators had a lower mean of each aspect than that got by the teachers.  Whereas different working experiences were considered, no significant differences were  found from their opinions on overall and each aspect of effectiveness in academic  administration of schools.

5.  The overall aspects of transformational leadership among the school administrators and their effectiveness in academic administration in schools under the Office  of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 had a significant positive correlation with one  another at the .01 level.

6.  The aspects of transformational leadership of the school administrators that were able to predict effectiveness in academic administration of schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1 significantly at the .01 level were  those in inspirational motivation and intellectual stimulation.

7.  The aspects of transformational leadership of school administrators that should be developed comprised those of inspirational motivation and intellectual  stimulation. From the said results above, the researcher also proposed a way to develop into those two aspects.

Downloads

How to Cite

แสงพรมศรี เ., & ฉลากบาง ว. (2013). ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. Creative Science, 1(1), 151–166. retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/10249