ฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดบัวหลวง

ผู้แต่ง

  • เรณู อยู่เจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • อรไท ไชยชนะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ปาวลี ศรีสุขสมวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

DOI:

https://doi.org/10.14456/lsej.2024.32

คำสำคัญ:

เกสรตัวผู้ , เกสรตัวเมีย , บัวหลวง , ต้านแบคทีเรีย , เควอซิทิน

บทคัดย่อ

เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคในมนุษย์อาจปนเปื้อนในอาหาร โดยทั่วไปนิยมใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าใช้เป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการดื้อยาได้ ดังนั้นการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้จากสารสกัดพืชสมุนไพรต่าง ๆ ในท้องถิ่น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง บัวหลวงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรค งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดบัวหลวงส่วนของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย นำมาสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตต และเอทานอล ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Salmonella Typhimurium, Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Serratia marcescens, Pseudomonas aeruginosa, Aeromonas hydrophila และ Proteus vulgaris ด้วยวิธี agar well diffusion พบว่า สารสกัดด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตตสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 8 ชนิดได้ดีที่สุด โดยสารสกัดเกสรตัวเมียด้วยเอทิลอะซิเตตที่ระดับความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย B. cereus โดยให้ค่าวงใสการยับยั้งเชื้อ เท่ากับ 29.33±0.58 มิลลิเมตร
ส่วนสารสกัดเกสรตัวผู้ของบัวหลวงด้วยเอทิลอะซิเตตที่ระดับความเข้มข้น 500 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรให้ค่าวงใสการยับยั้งเชื้อ B. cereus เท่ากับ 17.00±1.00 มิลลิเมตร และเมื่อนำสารสกัดเกสรตัวเมียของบัวหลวงด้วยตัวทำละลายเอทิลอะซิเตต ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ B. cereus ได้มากสุดมาทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) พบว่า มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 62.5 และ 250 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และการวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) ด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงในสารสกัดหยาบชั้นเอทิลอะซิเตตของเกสรตัวเมีย พบสารเควอซิทิน (Quercetin) มีปริมาณเท่ากับ 147.18±15.91 ไมโครกรัมต่อกรัมของตัวอย่าง

References

Bubphachat A, Khlam-Ngin B, Makmai B, Teekang P, Boonyom S. Food recipes from lotus. Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University; 2007.

Chaisri P, Chaiwes W, Wangka-orm C, Laoprom N. Effect of hand cleansing gel mixed the crude extract of Nymphaea lotus L. in inhibiting pathogenic bacteria. PSRU Journal of Science and Technology 2019;4(3):58-71.

Charoenwattana P, Pansamut S, Khongswasdi D, Petprapai A. Antimicrobial activity of Nelumbo nucifera Gaertn. Extracts. Research report, Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2009.

Dangnoi T. Phytochemical screening and biological activities of Nelumbo nucifera Gaertn. Master of Science (Chemistry Education), Faculty of Science, Burapha University; 2016.

Eiamthaworn K, Kaewkod T, Bovonsombut S, Tragoolpua Y. Efficacy of Cordyceps militaris extracts against some skin pathogenic bacteria and antioxidant activity. Journal of Fungi 2022;8(4):327.

Henley-Smith CJ, Steffens FE, Botha FS, Lall N. Predicting the influence of multiple components on microbial inhibition using a logistic response model - a novel approach. BMC Complementary and Alternative Medicine 2014;14:190.

Kim T, Kim HJ, Cho SK, Kang WY, Baek H, Jeon HY, Kim B, Kim D. Nulumbo nucifera extracts as whitening and anti-wrinkle cosmetic agent. Korean Journal Chemical Engineering 2011;28:424-427.

Mukherjee PK., Mukherjee D, Maji AK, Rai S, Heinrich M. The sacred lotus (Nelumbo nucifera)–phytochemical and therapeutic profile. Journal of Pharmacy and Pharmacology 2009;61:407-422.

Qi W, Qi W, Xiong D, Lomg M. Quercetin: Its antioxidant mechanism, antibacterial properties and potential application in prevention and control of toxipathy. Molecules 2022;27(19):6545.

Silalai N. Tea flavonoids: their functions, utilization and analysis. Journal of Food Technology, Siam University 2006;2(1):2-10.

Singchai B, Trakulpukdee N, Thonglim S. Essential Oil from Nelumbo nucifera Stamen. Thai Science and Technology Journal 2017;25(1):27-34.

The Society of Pediatric Gastroenterology and Hepatology. Clinical Practice Guideline for acute diarrhea in Children. 2019; 1-58.

Venkatesh B, Dorai A. Antibacterial and Antioxidant potential of White and Pink Nelumbo nucifera Gaertn. Flowers. Proceedings of 5th International Conference on Bioscience, Biochemistry and Bioinformatics 2011; 213-216.

Wong-Aree C, Chansilpa A, Noichinda S, Jirapong C. Antioxidant properties of waterlily extracts and their anticancer and anti-human pathogen activities. Research report, King Mongkut's University of Technology Thonburi; 2017.

Wongklang S, Steinrut L, Itharat A. Antioxidant Activity of Nelumbo nucifera Gaertn. extract. Agricultural Science Journal 2014; 45(2) (Supplement); 673-676.

Wongrak B, Piyaluk S. Free radical scavenger of Thai vegetables. Bachelor Degree of Science (Pharmacy), Faculty of Pharmacy, Mahidol University; 2006.

Zheng LZ, Wu YB, Wu JG, Tan CJ, Yi J, Chen TQ, Wu JZ. Antioxidant activity of lotus (Nelumbo nucifera Gaertn.) receptacles of eleven cultivars grown in China. Journal of Medicinal Plants Research 2012;6(10):1902-1911.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06

How to Cite

อยู่เจริญ เ., ไชยชนะ อ., & ศรีสุขสมวงศ์ ป. (2024). ฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารสกัดบัวหลวง. Life Sciences and Environment Journal, 25(2), 427–441. https://doi.org/10.14456/lsej.2024.32