ลักษณะประจำพันธุ์ ผลผลิต คุณภาพทางกายภาพ และเคมีของมะเขือเทศเชอรี่ 3 พันธุ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/lsej.2024.27คำสำคัญ:
มะเขือเทศเชอรี่ , ลักษณะประจำพันธุ์ , ผลผลิต, คุณภาพทางกายภาพและเคมีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ผลผลิต คุณภาพทางกายภาพและเคมีของมะเขือเทศเชอรี่ 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทับทิมแดง (T1) พันธุ์โกลเด้น คิง 1761 (T2) และพันธุ์เหลืองปางดะ (T3) โดยวางแผนการทดลอง 2 การทดลอง ดังต่อไปนี้ การทดลองที่1) ศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของมะเขือเทศเชอรี่ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า มะเขือเทศเชอรรี่ทั้ง 3 พันธุ์ มีความสูง จำนวนกิ่งแขนงที่อายุ 60 วันหลังปลูก ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ในขณะที่จำนวนข้อต่อต้นที่อายุ 60 วันหลังปลูก มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้
ยังพบว่า พันธุ์เหลืองปางดะ (T3) มีแนวโน้มการให้ผลผลิตดีที่สุด คือมีจำนวนผลสดต่อต้นสูงที่สุด
และน้ำหนักผลผลิตต่อไร่สูงที่สุดเท่ากับ 4,559.88 กิโลกรัมต่อไร่ การทดลองที่ 2) ศึกษาคุณภาพทางกายภาพและเคมีของมะเขือเทศเชอรี่ โดยจัดสิ่งทดลองแบบปัจจัยร่วมในแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ โดยปัจจัย 1 คือพันธุ์มะเขือเทศเชอรี่จำนวน 3 พันธุ์ ดังการทดลองที่ 1 ส่วนปัจจัย 2 คือระยะสุกแก่ของผลมะเขือเทศเชอรี่ พันธุ์ละ 6 ระยะ พบว่า ความแน่นเนื้อ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้และปริมาณวิตามินซีของมะเขือเทศเชอรี่ทั้ง 3 พันธุ์ มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้พบว่าคุณภาพทางกายภาพและทางเคมี อาทิ ความแน่นเนื้อ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ อัตราส่วนระหว่างปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณวิตามินซี ที่ระยะสุกแก่ต่างกันทั้ง 6 ระยะของผลมะเขือเทศเชอรี่ มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ
References
Anwarzai N, Kattegoudar J, Anjanappa M, Sood M, Reddy B A, Kumar M S. Evaluation of cherry tomato (Solanum lycopersicum L. var. cerasiforme) genotypes for growth and yield parameters. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences 2020;9(3):459-466.
AOAC. Official Methods of Analysis of AOAC of International. 17th edition. Gaithersburg Maryland USA: Association of Analytical Communities; 2000.
Boonyakiat D. Physiology and Postharvest of Horticulture. Chiang Mai: Faculty of Agriculture Chiang Mai University; 1997.
Boonyakiat D, Rattanapanon N. Postharvest Practices of Vegetables and Fruits. Bangkok: Odeon Store; 2005.
Kamnoo N, Chomphupoung A, Duangphot W, Kankaew W, Suklert N, Patanodom S. Selection of small fruit tomato varieties (Report No. 1, 1-43). Chiang Mai, Thailand: Royal Project Foundation; 2019.
Kumar S, Singh V, Dubey RK, Kumar M. Screening of tomato hybrids for bacterial wilt (Ralstonia solanacearum) resistance under field condition. Electronic Journal of Plant Breeding 2020;11(3): 945-949.
Maneewan T. The comparison of five lines of table tomato. Rajamangala University of Technology Lanna Lampang. 1988.
Available at: http://dcms.thailis.or.th/dcms.Int_code=44&RecId=280
&obj_id=990. Accessed May 2, 2024.
Northern Meteorological Center. Information on minimum and maximum temperatures and rainfall in the northern region (daily), 2024. Available at: http://www.cmmet.tmd.go.th/forecast/pt/Max_ Min_Rainfall.php. Accessed April 19, 2024.
Office of Agricultural Economics. Tomato production information.2023. Available at: https://www.oae. go.th/view/1. Accessed April 9, 2024.
Omprasad J, Reddy PSS, Madhumathi C, Balakrishna M. Evaluation of cherry tomatoes under shade net for growth and yield attributes. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences 2018;(7):700-707.
Ranganna S. Manual of Analysis of Fruit and Vegetable Products. New Delhi: Tats McGraw-Hill Publishing Company Limited; 1986.
Rukkhaphan A, Austin J, Siriyaan R, Khetsakul S. Field Trial of Small Fruit Size Hybrid Tomato in Various Location, 2020. Available at: https://www.doa.go.th/hort/wp- content/uploads/2020/12. Accessed April 9, 2024.
Seehanam P, Somniyam V, Munrot D. Physical and chemical qualities of Marian plum cv. Sawasdee (Bouea macrophylla cv. Sawasdee) at commercial maturity. Khon Kaen Agriculture Journal 2015;43(3):463-472.
Siriphanich J. Postharvest Biology and Plant Senescence. Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus; 2006.
Wongchayanun K, Saeng-ngoen K. Effect of vermicompost on growth and yield of Lycopersicon esculentum. VRU Research and Development Journal Science and Technology 2020;15(1):115-123.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Life Sciences and Environment Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).