การออกแบบผลิตภัณฑ์แคร่ผักยกพื้นด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักยกแคร่ผู้สูงอายุตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
DOI:
https://doi.org/10.14456/lsej.2023.37คำสำคัญ:
แคร่ผักยกพื้น , กระบวนการคิดเชิงออกแบบ , วิสาหกิจชุมชน , บ้านหาร , บางกล่ำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สืบค้นข้อมูลสภาพแวดล้อมทางกายภาพ วิถีชีวิต ลักษณะทางสังคม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ตำบลบ้านหาร 2) เพื่อศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์แคร่ผักยกพื้น และอัตลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจบ้านหาร 3) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์แคร่ผักยกพื้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของแคร่ผักบ้านหาร กระบวนการในการวิจัยประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ผลิตผักยกแคร่ จำนวน 15 คน ซึ่งเป็น
การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) ผลการศึกษาพบว่า (1) อัตลักษณ์เฉพาะของตำบลบ้านหาร คือ ลักษณะทุนนิเวศทางสิ่งแวดล้อม พื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบริมลำน้ำคลองอู่ตะเภา
และคลองบ้านหารไหลผ่าน มีความเป็นสังคมเกษตรกรรม ประกอบอาชีพด้วยการทำนา สวนยางพารา ไม้ผล ผักสวนครัว และเลี้ยงสัตว์ 2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการทางการตลาดของผลิตภัณฑ์โดยใช้หลักการกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถขยายช่องทางตลาดและก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน 3) ผลงานการออกแบบแคร่ผักยกพื้นแบบถอดประกอบ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บและการขนส่ง อันจะช่วยเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายได้มากขึ้น 4) รูปแบบตราสินค้า (Brand) ของผลิตภัณฑ์ที่แสดงลักษณะรูปแบบที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ให้สามารถสื่อถึงความหมายโดยใช้ชื่อของตำบลบ้านหารเป็นตัวสื่อสารที่นำมาออกแบบเป็นภาพตราสินค้า
References
Bourdieu P. The forms of capital, 1986. Available at: https://www.socialcapitalgateway.org/sites/ socialcapitalgateway.org/files/data/paper/2016/10/18/rbasicsbourdieu1986-theformsofcapital.pdf. Accessed March 21, 2023.
Khwunsakun C. Research and development of growing bench for quality vegetables production. Agriculture and Technology Journal 2022;3(1):60-74.
Kaewkamon K, Thaothong N, Rosruen S, Phetchen A, Ratanasupha A and Putiariyawat C. Using cultural capital for sustainable community development. Journal of Humanities and Social Sciences 2021;11(4):75-91.
Plattner H. Bootcamp bootleg. Institute of Design at Stanford, 2010. Available at: https://dschool. stanford.edu/resources/design-thinkingbootleg. Accessed January 10, 2021.
Sathongkam T, Taiwan A, Tungsuwan A. Product development models of community enterprises that meet the needs of customers in the future.Research Journal of Humanities and Social Science 2022;8(1):239-250.
Throsby D. Economics and Culture. Cambridge University Press, London, 2001. Available at: https://www.scirp.org/(S(czeh2tfqyw2orz553k1w0r45))/reference/referencespapers.aspx?referenceid=2343987. Accessed March 21, 2023.
Wanwichit Y.Application of design thinking in public policy processes. Journal of MCU Social Science Review 2021;11(4):10-20.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Life Sciences and Environment Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).