การวิเคราะห์การเกิดอุทกภัยเนื่องจากการพิบัติของเขื่อนแก่งกระจาน
DOI:
https://doi.org/10.14456/lsej.2023.12คำสำคัญ:
เขื่อนแก่งกระจาน , การพิบัติของเขื่อน , แบบจำลอง HEC-RASบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเกิดอุทกภัยจากการพิบัติของเขื่อนแก่งกระจานด้วยแบบจำลอง HEC-RAS โดยกำหนดระดับน้ำเริ่มต้นไว้ที่ระดับเก็บกักปกติที่ +99.00 เมตร (รทก.) และกำหนดให้ใช้ปริมาณการไหลเข้าสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ (Probable Maximum Flood, PMF) เป็นปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ สำหรับกรณีศึกษาลักษณะการพิบัติของเขื่อนแบ่งเป็นแบบการไหลข้ามสันเขื่อนและการไหลลอดใต้ฐานเขื่อน ผลการศึกษาพบว่า การปรับเทียบและตรวจพิสูจน์แบบจําลอง HEC-RAS ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2564 ผ่านเกณฑ์ คือ มีค่า r อยู่ระหว่าง
0.95-0.99 และค่า RMSE อยู่ระหว่าง 24-43 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมีค่า Manning’s n ของแม่น้ำเพชรบุรีทั้งในลำน้ำและทุ่งน้ำท่วมเท่ากับ 0.033-0.050 และ 0.500 ตามลำดับ ส่วนการพิบัติของเขื่อนกรณีที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ กรณีไหลล้นเขื่อนปิดเขาตำแหน่งที่ 2 ซึ่งจะก่อให้เกิดอัตราการไหลสูงสุด 6,650 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พื้นที่น้ำท่วม 818 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 511,250 ไร่ ระยะเวลาน้ำท่วมประมาณ 3 วัน โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอยู่บริเวณลุ่มน้ำสาขาลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง ได้แก่ อ.แก่งกระจาน อ.บ้านลาด อ.ท่ายาง อ.บ้านแหลม อ.ชะอำ อ.เขาย้อย
อ.หนองหญ้าปล้อง และ อ.เมืองเพชรบุรี รวมทั้งสิ้น 485 หมู่บ้าน 78 ตำบล 8 อำเภอ 1 เทศบาลเมือง
โดยระยะเวลาเดินทางของน้ำจากเขื่อนแก่งกระจานถึงตัวเมืองเพชรบุรีใช้เวลาประมาณ 16 ชั่วโมงจากผลการศึกษาได้เสนอแนะจุดอพยพเพื่อที่จะสามารถเตรียมแผนรับสถานการณ์อุทกภัยฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีทั้งหมด 13 จุด และมีความสามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ 200-500 คน
References
Balaji B, Kumar S. Dam break analysis of Kalyani dam using HEC-RAS. International Journal of Civil Engineering and Technology (IJCIET) 2018;9(5):372–380.
Bharath A, Shivapur AV, Hiremath CG, Maddamsetty R. Dam break analysis using Hec-RAS and HEC-GeoRAS: A case study of Hidkal dam, Karnataka state, India. Environmental Challenges 2021;5:100401.
Chaivijarn C. Hydraulic engineering. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2013.
Department of Disaster Prevention and Mitigation. The flood situation in Phetchaburi province (Report). Bangkok; 2018.
Intaboot N, Taesombat W. Longitudinal salinity intrusion and dispersion along the Thachin River due to sea level rise. Journal of Science and Technology 2014;3(2):71-88.
Leewatchanakul K. Hydraulics. Bangkok: SPEC Publisher; 2015. Rangsit University, 2021.
Leoul A, Kassahun N. Dam breach analysis using HEC-RAS and HEC-GeoRAS: The case of Kesem Kebena dam. Open Journal of Modern Hydrology 2019;9(4):113-142.
Sharma P, Mujumdar S. Dam break analysis using HEC-RAS and HEC-GeoRAS - A case study of Ajwa reservoir. Journal of Water Resources and Ocean Science 2016;5(6):108-113.
Thepprasit C, Cherdchanpipat N, Puttrawutichai S, Somboon T, Sopondirekrat V. Reservoir management for flood protection (Final Report). Bangkok; 2020.
US Army Corps of Engineers. HEC-RAS river analysis system (User’s manual). United State; 2020.
Vanichsan D, Taesombat W. An analysis on discharge carrying capacity of Lam Pachi River by MIKE11 model. Ladkrabang Engineering Journal 2017;34(1):41-48.
Yingyong P, Taesombat W. Dam break simulation of Kaeng Krachan dam by HEC-RAS model. In: Institute of Engineering, Suranaree University of Technology. Proceeding of the TSAE International Conference 21st. Nakhon Ratchasima; 2020.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Life Sciences and Environment Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).