ระบบการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้กระบวนการตัดสินใจลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์

ผู้แต่ง

  • ยุภา คำตะพล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ทัสนันทน์ ตรีนันทรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/lsej.2022.39

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ , ผู้สูงอายุ, อำเภอเขาค้อ, จังหวัดเพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจข้อมูลเส้นทางและปัจจัยในการตัดสินใจของสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อพัฒนาระบบแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการใช้กระบวนการตัดสินใจลำดับชั้น
เชิงวิเคราะห์ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และประเมินประสิทธิภาพระบบ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน ร่วมกับตัวแทนนักท่องเที่ยวสูงอายุ จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน  และนักท่องเที่ยวสูงอายุ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบ  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลเส้นทางและปัจจัยในการตัดสินใจ แบบสอบถาม
เพื่อประเมินการจัดลำดับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจโดยระบบกับวางแผนโดยผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่น่าสนใจ มี 7 สถานที่ โมเดลเอเอชพีเพื่อการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 3 ระดับชั้น ตามแนวคิด 5ASM จำนวน 7 เกณฑ์ การพัฒนาระบบ ประกอบด้วยฟังก์ชัน 3 ส่วน ได้แก่ การนำเข้าและคำนวณค่าน้ำหนัก การแสดงการจัดลำดับสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และการแสดงข้อมูลสารสนเทศของสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง ผลการจัดอันดับสถานที่/เส้นทางการท่องเที่ยว
โดยระบบถูกต้องตามการจัด โดยผู้เชี่ยวชาญ แบบ 3 ลำดับ คิดเป็นร้อยละ 75 และแบบ 5 ลำดับ คิดเป็นร้อยละ 71.43 และผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

Asavasuthirakul D, Ruengsakul Y. A Recommendation system for POIs along a route with analytic hierarchyat. Available at: http://www.phetchabun.go.th/download_pmqa/book_file/157 8947836 _cf01wg3k.pdf. Accessed Accessed June 1, 2022.

Bouhana A, Abed M, Chabchoub H. An integrated case-based reasoning and AHP method for June 3, 2022. Kho, Phetchabun Province. Phetchabun: Ramkhamhaeng University; 2015.

Dickman S. Tourism: An introductory text (2nd ed.). Sydney: Hodder Education; 1996.

Likert R. “The Method of Constructing and attitude scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement: New York: Wiley & Son; 1967: 90-95.

Loedlukthanathan S, Onmung P, Liblub I. Factors influencing health tourism among foreign visitors to Thailand : A promotional model. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University 2016;7(1):1-10.

Mansour S, Awhadi TA, Hatrushi SA. Geospatial based multi-criteria analysis for ecotourism land personalized itinerary search. Logistics (logistiqua), 2011 4th International Conference on: IEEE, Hammamet, Tunisia; 2011: 460-467.

Netwong T. Health tourism application for the elderly: Social innovation for quality of life. Journal of Humanities and Social Sciences 2021;9(1):23-37.

Phetchabun Provincial Office. Phetchabun Provincial Development Plan (B.E. 2018-2022) Annual Review Round 2020, 2020. Available at: http://www.phetchabun.go.th/download_pmqa/book _file/1578947836_cf01wg3k.pdf. Accessed June 1, 2022.

Phonghanyudh S, Maensanguan S. A study of the decision-making behavior of tourists in the district Khao Process (AHP), Operations Research Network Conference. Phitsanulok: Naresuan University; 2014: 159-166.

Ramesh S and Muralidhar S. Impact of Five A’s of tourism on tourist loyalty in tamil nadu tourism with reference to coimbatore city. Journal of Xi'an University of Architecture & Technology 2019;6(7):1048-1055.

Saaty LT. Analytic Hierarchy Process. New York: McGraw-Hill; 1980.

Siriwilailerdanun L. Potential and elements of bicycle tourism in eastern lanna. Journal of Graduate Studies Review MCU Phrae 2019;5(1):277-290.

Mansour, Shawky, Talal Al-Awhadi, and Salim Al-Hatrushi. Geospatial based multi-criteria analysis for ecotourism land suitability using GIS & AHP: a case study of Masirah Island, Oman.Journal of Ecotourism 2020;19(2):148-167.

Suvattanadilok M. Key factors affecting the decision making of foreign tourists to use services of medical tourism in Thailand. Journal of Industrial Education 2018;1(3):185-194.

Wu X, Qiao S, Tan Q. Destination management for ecotourism activity using analytical hierarchy process. Scientific Programming 2021; 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-09

How to Cite

คำตะพล ย. . ., นิธิยุวิทย์ ฐ. ., & ตรีนันทรัตน์ ท. . . (2022). ระบบการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้กระบวนการตัดสินใจลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. Life Sciences and Environment Journal, 23(2), 521–538. https://doi.org/10.14456/lsej.2022.39