โมบายแอปพลิเคชันภาษาจีน– ภาษาอังกฤษ สำหรับการสื่อสาร ของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพ เพื่อรองรับโอกาสในการจ้างงาน กรณีศึกษาพื้นที่ชะอำและหัวหิน

ผู้แต่ง

  • กรกมล ธนะโรจน์รุ่งเรือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ศิริพร อ่วมศิริ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กรรณิการ์ ตาละลักษมณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ธมลวรรณ ทับพึง แผนกแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลบ้านลาด

DOI:

https://doi.org/10.14456/lsej.2022.33

คำสำคัญ:

โมบายแอปพลิเคชัน, การสื่อสารภาษาจีน , การสื่อสารภาษาอังกฤษ , บุคลากรนวด เพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ทางการนวดเพื่อสุขภาพ 2) เพื่อสำรวจความต้องการในการพัฒนาแอปพลิเคชันด้านต่างๆ ของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพ 3) เพื่อออกแบบและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน และ 4) เพื่อประเมินผลความสามารถการสื่อสารภาษาจีนและภาษาอังกฤษทางด้านการนวดเพื่อสุขภาพ หลังการใช้โมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการนวดเพื่อสุขภาพ จำนวนทั้งหมด 100 คน ใช้สถิติวิเคราะห์คาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหลักเกณฑ์การประเมินทักษะการสื่อสารทางภาษาทั้ง 4 ทักษะในการประเมินทักษะการสื่อสารทักษะหลังการใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) การรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ทางการนวดเพื่อสุขภาพสามภาษา ประกอบไปด้วยข้อมูลสองส่วน คือ ข้อมูลการสื่อสารเบื้องต้นทั่วไป และข้อมูลองค์ความรู้ทางการนวดเพื่อสุขภาพ 2) ความต้องการในการพัฒนาแอปพลิเคชันทุกด้านของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.36)  3) การออกแบบและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  พัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามขั้นตอนวงจรชีพการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ทำการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยเครื่องมือ Flutter โดยใช้ปลั๊กอิน web view ร่วมกับโปรแกรมภาษา html php และ vue.js เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล My SQLi  เลือกใช้องค์ประกอบภายในแอปพลิเคชันที่หลากหลายและไปในทิศทางเดียวกัน มีการจำแนกหัวเรื่องการเชื่อมโยงและนำเสนอเนื้อหาข้อความและเสียงในระบบภาษาไทย จีน และอังกฤษ  มีการเชื่อมต่อ Google Map เพื่อแสดงและค้นหาพิกัดของสถานประกอบการการนวด  รวมทั้งมีการเชื่อมต่อ Google Translate เพื่อแปลภาษาด้วย  4) ผลการประเมินผลความสามารถด้านการสื่อสารภาษาจีนและภาษาอังกฤษ หลังการใช้โมบายแอปพลิเคชัน พบว่า ผลการประเมินด้านการฟังภาษาอังกฤษมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ทักษะภาษาอังกฤษด้าน อื่น ๆ ในภาพรวม  ลำดับที่ 3 คือ ทักษะด้านการฟังภาษาจีน และทักษะด้านภาษาจีนอื่น ๆ ในภาพรวม ตามลำดับ

References

Changkwanyuen P. Listening skills. Bangkok: Academic Publishing; 1982.

Clark JLD. Foreign language testing: Theory and practice. Philadephia: Centre of Curriculum Development; 1972.

Flowerdew J, Miller L. Second language listening: Theory and practice. New York: Cambridge University Press; 2005.

Junboon S, Thongkhao N, Khasetsukthaworn S. Building and developing S-P-A mobile application for enhancing chinese communication to healthy massage personnel. Kasalongkham Research Journal 2021;15(2):11-25.

Lrgal Affairs Division. Enforcement of health establishment ACT B.E. 2017. Available at: http://www.legal.moph.go.th. Accessed November 7, 2019.

Phetchaburi - Prachuap Khiri Khan Thai Traditional Medicine Association. Register a list of health massage service providers in Phetchaburi and Prachuap Khiri Khan Provinces. Available at: https://spa.hss.moph.go.th/search. Accessed November 7, 2019.

Pisalboot S. Basic statistics .Bangkok: Se-Ed Education Public; 2014.

Tachienram P, Takerngsukvatana R. Development of foot massagereflexology application for well-being. Journal of Humanities and Science Suan Sunantha Rajabhat Buniversity 2019;2(1):112-118.

Tantrairat S. Writing skill. Bangkok: Thai Watana Panich; 2002.

Zhang li. Chinese for specific purposes. China, Beijing: Beijing Language and Culture University Printing House; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-09

How to Cite

ธนะโรจน์รุ่งเรือง ก. . . ., อ่วมศิริ ศ. ., ตาละลักษมณ์ ก. ., & ทับพึง ธ. . (2022). โมบายแอปพลิเคชันภาษาจีน– ภาษาอังกฤษ สำหรับการสื่อสาร ของบุคลากรนวดเพื่อสุขภาพ เพื่อรองรับโอกาสในการจ้างงาน กรณีศึกษาพื้นที่ชะอำและหัวหิน. Life Sciences and Environment Journal, 23(2), 437–450. https://doi.org/10.14456/lsej.2022.33