การออกแบบและสร้างเครื่องวัดมุมองศาสำหรับเตียงผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง

ผู้แต่ง

  • อภิรักษ์ ทัดสอน 0897079099
  • กิตติศักดิ์ คงสีไพร

DOI:

https://doi.org/10.14456/lsej.2021.10

คำสำคัญ:

เครื่องวัดมุมองศา, เตียงผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง, ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการออกแบบและสร้างเครื่องวัดมุมองศาสำหรับเตียงผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่พยาบาลในการปรับมุมหัวเตียงให้ได้ 30 องศา ตามหลักการป้องกันผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองไม่ให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง  โดยเครื่องวัดมุมองศาประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ อุปกรณ์วัดมุมองศาซึ่งเป็นส่วนที่ยึดกับหัวเตียงเพื่อวัดมุมองศา และส่วนอ่านค่ามุมองศาแบ่งออกเป็น 2 อุปกรณ์ ตามลักษณะการเชื่อมต่อ คือ อุปกรณ์อ่านค่ามุมองศาที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์วัดมุมองศา เชื่อมต่อกันด้วยสายตัวนำ  และสมาร์ตโฟนที่ติดตั้งแอปพลิเคชันสำหรับอ่านค่ามุมองศาที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์วัดมุมองศา เชื่อมต่อกันด้วยระบบสัญญาณไร้สายบลูทูท ดังนั้นผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานเครื่องวัดมุมองศาได้ 2 วิธี สำหรับวิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องวัดมุมองศา ได้แก่ การทดสอบความแรงของสัญญาณบลูทูทที่ระยะทาง 3 เมตร การทดสอบเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำด้วยการสอบเทียบกับเครื่องวัดที่ผ่านการสอบเทียบเครื่องวัดจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO 17025 และการทดสอบความเที่ยงตรงจากการวัดซ้ำที่มุม 30 องศา จำนวน 5 ครั้ง ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสำรวจความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่พยาบาลที่มีต่อการใช้งานเครื่องวัดมุมองศา จำนวน 10 คน ผลจากการวิจัย พบว่า เครื่องวัดมุมองศามีระดับความแรงสัญญาณบลูทูธมากกว่า -86 dBm  มีเปอร์เซ็นต์ความถูกต้องแม่นยำอยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีความเที่ยงตรงอยู่ที่ 1 นอกจากนี้เจ้าหน้าที่พยาบาลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดต่อการใช้งานเครื่องวัดมุมองศา โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.615

References

Chunbang S, Wongvatunyu S, Aree-Ue S. Selected factors related to nursing practice for preventing increased intracranial pressure in patients with brain surgery. Ramathibodi Nursing Journal 2013; 19(2):264-276.

Dadafshar M. Accelerometer and gyroscopes sensors: operation, sensing and application. Maximintegrated. 2014. Available at: https://www.maximintegrated.com/en/design/technical-documents/app-notes /5/5830.html. Accessed June 5, 2020.

Debra. Gyroscopes and accelerometers on a chip. 2013. Available at: https://www.geekmomprojects.com/ gyroscopes-and-accelerometers-on-a-chip. Accessed June 5, 2020.

Khiewchaum R, Wattana C. Holistic nursing for traumatic brain injury patient. Journal of Phrapokklao Nursing College 2017;28(1):129-139.

Konmun S, Sriratanaporn S, Kitti-udom S, Muengtaweepongsa S. Targeted temperature management in critical care neurology. Journal of Thai Stroke Society 2017;16(3):27-48.

Manager Online. Dangerous use of mobile phones in hospitals, sending tumultuous signals to life-saving devices. 2007. Available at: https://m.mgronline.com/around/detail/9500000106738. Accessed June 5, 2020.

Morris AS, Langari R. Measurement and instrumentation. 3rd Ed. Massachusetts, US: Academic Press;2020.

Oribhabor C, Anyanwu C. Research sampling and sample size determination: a practical application. Federal University Dutsin-Ma Journal of Educational Research 2019;2(1):47-56.

Ponglaohapun U, Wongwatunyu S, Khuwatsamrit K. Nursing activities and factors related to increased intracranial pressure in head injured patients. Ramathibodi Nursing Journal 2009;15(2):221-232.

Ragland J, Lee K. Critical care management and monitoring of intracranial pressure. Journal of Neurocritical Care 2016;9(2):105-112.

Silpcharu T. Research and statistical analysis with SPSS. 17th Ed. Bangkok: Business R&D; 2017.

Srisumoungklounggoon T, Janthong M. Model and control of self-balancing mobile robot on a ball. RSU Research Conference 2012. Pathum thani; Rangsit University; 2012.

Suwatcharangkoon S. Management of acute stroke patients with increased intracranial pressure. Journal of Thai Stroke Society 2015;14(2):94-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-04

How to Cite

ทัดสอน อ., & คงสีไพร ก. (2021). การออกแบบและสร้างเครื่องวัดมุมองศาสำหรับเตียงผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง. Life Sciences and Environment Journal, 22(2), 224–237. https://doi.org/10.14456/lsej.2021.10