the ระบบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ตำบลนาเหรง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุนิษา คิดใจเดียว NSTRU
  • โสภี แก้วชะฎา
  • วิชิต สุขทร
  • อานนท์ สุขทอง

คำสำคัญ:

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ระบบตลาด, ตำบลนาเหรง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ตำบลนาเหรง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ตำบลนาเหรง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานวิจัยเชิงพัฒนาที่ใช้แบบสอบถามปลายปิดกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไป จำนวน 127 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผลประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าอยู่ที่ 4.54 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความถูกต้องและประสิทธิภาพในการทำงานตามหน้าที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาด้านประสิทธิภาพของระบบและความปลอดภัย ด้านประสิทธิภาพของระบบตรงตามความต้องการ และด้านการออกแบบระบบให้สามารถใช้งานง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ตามลำดับ ในส่วนของผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.59  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าภาพประกอบทำให้เกิดความน่าสนใจมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา
ความพึงพอใจในภาพรวมของระบบ และคำอธิบาย คำแนะนำบริการต่าง ๆ มีความชัดเจน การวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพ และสิ่งที่ควรคำนึงถึงต่อการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

References

Board of Directors One Tambon One Product. Result of One Tambon One Product (OTOP) Project Year 2018. Bangkok: Department of Community Development, 2020.

Chaivivatrakul S. Mobile Application Usage for Online Agricultural Product Markets. Journal of Science and Technology Ubon Ratchathani University, 2020; 22(2): 88-97.

Department Community Development. Background of the One District Project One product, 2020. Available at: https://www.cdd.go.th/our-services/otop-one-tambon-one-product. Retrieved January 21, 2020.

Hobbs JE. Food supply chains during the COVID‐19pandemic. Canadian Journal of Agricultural Economics, 2020: 1-6.

Kamnungwut W, Klentien U. The Development of Online Media and Marketing for OTOP Products in Thailand: A Case Study of OTOP in Nakhonnayok Province. The Journal of Social Communication Innovation, 2019; 7(2): 31-45.

Kemp S. Digital 2020: THAILAND. Available at: https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand. Retrieved July 21, 2020.

Kudeesri. Factors Affecting Decision Making to Buy Cosmetics Via Electronic Commerce System. Master of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2014.

Richards TJ, Rickard B. COVID-19 impact on fruit and vegetable markets. Canadian Journal of Agricultural Economics, 2020: 1-6

Sutthibut S, Dhammahaso PH, Vadakovito PP. Promotion of community products with online marketing by Buddhist peaceful mean: a case study of sawai sub-district prangkhu district, srisaket province. Journal of MCU Peace Studies, 2020; 8: 172-184.

Thailand information Center. Nareng Subdistrict. Available at: http://nakhonsi thammarat.kapook.com. Retrieved February 11, 2020.

Thaipradit K, Kemapanmanas K. The Model of online marketing on social network (Facebook) tool for community enterprise case studies, namuensri community enterprise group, nayong district, trang province. BU Academic Review, 2020; 19(1): 155-172.

Thongkaem K, Phaengsoi K. The Problems and Guidelines for Promoting OTOP Products on The Buddhist Online Market in Udon Thani Province. Journal of MCU Nakhondhat, 2019; 6(9): 4627-4644.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-14

How to Cite

คิดใจเดียว ส., แก้วชะฎา โ., สุขทร ว., & สุขทอง อ. (2020). the ระบบตลาดผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ตำบลนาเหรง จังหวัดนครศรีธรรมราช. Life Sciences and Environment Journal, 21(2), 502–511. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/242488