ย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก : สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน

ผู้แต่ง

  • Thitaporn Wanphet Faculty Of Industrial Technology Pibulsongkram Rajabhat University

คำสำคัญ:

ย้อนรอย, เครื่องปั้นดินเผา, เส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำจังหวัดพิษณุโลก, การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จ.พิษณุโลก : สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก 2) ทดลองและวิเคราะห์วัตถุดิบในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา 3) วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาชุมชน 4) พัฒนาศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาที่ปรากฏในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำจังหวัดพิษณุโลก ผลการศึกษาในตอนที่ 1 พบว่า “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นหลักสากลทั่วไปที่ว่ามนุษย์มักจะตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณริมน้ำ และชุมชนโบราณส่วนใหญ่ก็มักจะพบว่าตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ เราจะเห็นได้ว่าเครื่องปั้นดินเผาผูกพันกับวิถีชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานปรากฏทางโบราณคดีมากมายที่พบในจังหวัดพิษณุโลก และที่บ้านนาไก่เขี่ย ต.นาบัว อ.นครไทย พบเตาเผาโบราณ และผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ยังหลงเหลือและคงความสมบูรณ์อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ได้ตัดผ่านจังหวัดพิษณุโลกด้วย ซึ่งผลการศึกษาในตอนที่ 2 จึงได้ทำการทดลองและวิเคราะห์วัตถุดิบในท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อการขึ้นรูป ผลการวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบในตอนที่ 3 ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา และรักษารูปแบบของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมที่สะท้อนถึงวิถีการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ผลการดำเนินการในตอนที่ 4 มีการนำองค์ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดสู่ชุมชนและบรรจุรายวิชาเครื่องปั้นดินเผา ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ให้กับนักเรียนในโรงเรียนบ้านนาไก่เขี่ย เพื่อปลูกเจตคติที่ดีต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมในอดีต สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเตาเผาและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ปรากฏในชุมชน บ้านนาไก่เขี่ย ตำบลนาบัว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

 

References

Rajanubhab D. History of Tableware and Molding. Mongkol Publishing House: Bangkok, 1968.

Chaem Khun Thian P. Guidelines for Preserving the Cultural Heritage of the City of Phitsanulok. Chaing Mai: S. Sup Printing; 1992.

Sa-Nguan-Hai H. History of Phitsanulok. Phitsanulok: Duplicated Document; 1998.

Committee for Documentation and Archives under the Board of Directors for Organizing Events to Honor His Majesty the King. Cultural Development of History, Identity, and Wisdom within Phitsanulok Province. Bangkok: Fine Arts Department; 1999.

Sangkhanukit P. The history of Phitsanulok and the pottery kiln of Wat Ta Pa Khao Hai: Seminar documents “Local Cultural Leader Ban Ta Pa khao Hai” Hua Ro Subdistrict, Mueang District, Phitsanulok: Phitsanulok; 2002.

Mankhong S. Preliminary Report for Survey and Archaeological Explorations in Kwai Noi Dam under the Patronage of the King Wat Boad, Phitsanulok. Phitsanulok: Duplicated Document; 2003.

Wongth S. Pottery and Porcelain and the Economic and Social Development of Siam. Bangkok: Matichon; 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-14

How to Cite

Wanphet, T. (2020). ย้อนรอยเครื่องปั้นดินเผาในเส้นทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำ จังหวัดพิษณุโลก : สู่การออกแบบเครื่องปั้นดินเผาชุมชน. Life Sciences and Environment Journal, 21(2), 273–287. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/240707