ศักยภาพและอัตราการป้อนเศษอาหารต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ ในระบบการหมักแบบ 2 ขั้นตอนร่วมกับการหมุนเวียนน้ำหมัก

ผู้แต่ง

  • Phimphaka Phothilangka โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางจังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52100

คำสำคัญ:

เศษอาหาร, อัตราการป้อน, การหมักแบบไร้ออกซิเจน 2 ขั้นตอน, การหมุนเวียนน้ำหมัก, ก๊าซชีวภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษาศักยภาพและอัตราการป้อนเศษอาหารในการผลิตก๊าซชีวภาพในระบบหมักแบบ 2 ขั้นตอน โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองแรกเป็นการศึกษาศักยภาพทางชีวเคมีในการผลิตก๊าซมีเทน โดยการย่อยสลายเศษอาหารและกลูโคสภายใต้กระบวนการหมักแบบไร้ออกซิเจน ผลปรากฏว่าเชื้อตั้งต้นที่ใช้ในการศึกษามีความว่องไวสูง และเศษอาหารมีศักยภาพที่ดีในการผลิตก๊าซชีวภาพ เศษอาหารและกลูโคสผลิตก๊าซชีวภาพสะสมได้ 0.98 และ 5.82 ลบ.ม./กก.ซีโอดี โดยมีองค์ประกอบของมีเทน 55.4 และ 49.2 % ตามลำดับ การทดลองที่ 2 เป็นการศึกษาอัตราการป้อนเศษอาหาร (0.25, 0.50, 1.0, 2.0 และ 3.0 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน) ต่อกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยใช้กระบวนการหมักแบบไร้ออกซิเจน 2 ขั้นตอนร่วมกับการหมุนเวียนน้ำหมัก จากการทดลองพบว่าอัตราการป้อนเศษอาหารที่ 1.0 kg COD/m3.day ร่วมกับการหมุนเวียนน้ำหมัก สามารถผลิตก๊าซชีวภาพและมีเทนเพิ่มขึ้นประมาณ 31.3 % เมื่อเทียบกับระบบที่ไม่มีการหมุนเวียนน้ำหมัก การป้อนเศษอาหารที่อัตราการป้อน เพิ่มขึ้นจาก 0.25 เป็น 0.50, 1.0 และ 2.0 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ร่วมกับการหมุนเวียนน้ำหมัก ถึงแม้จะทำให้อัตราการผลิตก๊าซชีวภาพต่อหน่วย COD ลดลงเล็กน้อย แต่ปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมที่ผลิตได้เพิ่มขึ้นจาก 0.065 เป็น 0.123, 0.221 และ 0.408 m3 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการป้อนเศษอาหารที่อัตราสูงสุด 3.0 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ทำให้ปริมาณก๊าซชีวภาพสะสมลดลงอย่างเฉียบพลันเหลือเพียง 0.019 m3 อัตราการป้อนที่สูงนี้มีผลทำให้ระบบการหมักย่อยสลายกรดอินทรีย์ไม่ทันเกิดการสะสมของกรดอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Fatty Acid; VFA) ในปริมาณที่สูง pH ต่ำ (5.2) และอัตราส่วนที่สูงเกินไปของ VFA/alkalinity (=1.35) ที่วิเคราะห์ได้ในน้ำหมักมีผลต่อการยับยั้งแบคทีเรียในการผลิตก๊าซมีเทน

References

American Public Health Association. Standard methods for the examination of water and wastewater. United States: American Water Works Association. Water Environment Federation; 1995.
Angelidaki I, Sanders W. Assessment of the anaerobic biodegradability of macropollutants. Reviews in Environmental Science and Bio/Technology. 2004; 3: 117–129.
Aslanzadeh S, Rajendran K, Jeihanipour A, Taherzadeh J M. The effect of effluent recirculation in a semi-continuous two-stage anaerobic digestion system. Energies. 2013; 6: 2966-2981.
Barlaz M. A, Ham R. K, Schaefer D. M. Methane production from municipal refuse : a review of enhancement techniques and microbial dynamics. Critical Reviews in Environmental Science and Technology. 1990; 19: 557-584.
Giuliano A, Zanetti L, Micolucci F, Cavinato C. Thermophilic two-phase anaerobic digestion of source-sorted organic fraction of municipal solid waste for bio-hythane production: effect of recirculation sludge on process stability and microbiology over a long-term pilot-scale experience. Water Science & Technology. 2014; 69(11): 2200–2209.
Gottardo M, Micolucci F, Bolzonella D, Uellendahl H, Pavan P. Pilot scale fermentation coupled with anaerobic digestion of food waste - Effect of dynamic digestate recirculation. Renew. Energy. 2017; 114: 455-463.
Lindner J, Zielonka S, Oechsner H, Lemmer A. Is the continuous two-stage anaerobic digestion process well suited for all substrates?, Bioresource Technology. 2016; 200: 470–476.
Lukitawes, Wikandari R, Millati R, Taherzadeh J M, Niklasson C. Effect of effluent recirculation on biogas production using two-stage anaerobic digestion of citrus waste. Molecules. 2018; 23(12) : Published online 2018 Dec 19. doi:10.3390/molecules 23123380
McCarty L. P. Anaerobic Waste Treatment Fundamental. Part 1,-chemistry and microbiology. Part 2, Environmental requirement and control. Part 3, Toxic materials and their control. Public Works. 1964; 9: 107-111.
Owen F. W, Stuckey C, Healy Jr J. B, Young Y. L, McCarty L. P. Bioassay for monitoring biochemical methane potential and anaerobic toxicity. Water Resource. 1979; 13(6): 485-492.
Sinpaisansomboon N,Intanon P, Rakwichian W, Kongsricharoern N. Development of Two-Stage Anaerobic Digesters for Biogas Production from Biodegradable Waste of Phitsanulok Municipal, Thailand. International Journal of Renewable Energy. 2007; 2(2): 63-71.
Stabnikova O, Liu X, Wang J. Anaerobic digestion of food waste in a hybrid anaerobic solid–liquid system with leachate recirculation in an acidogenic reactor. Biochemical Engineering Journal. 2008; 41(2): 198-201.
Zuo Z, Wu S, Zhang W, Dong R. Effects of organic loading rate and effluent recirculation on the performance of two-stage anaerobic digestion of vegetable waste. Bioresource Technology. 2013; 146: 556-561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-23

How to Cite

Phothilangka, P. (2020). ศักยภาพและอัตราการป้อนเศษอาหารต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ ในระบบการหมักแบบ 2 ขั้นตอนร่วมกับการหมุนเวียนน้ำหมัก. Life Sciences and Environment Journal, 21(1), 180–193. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/psru/article/view/240350