ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560-2562 ไปสู่การปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ทหารพรานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
คำสำคัญ:
นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, การปฏิบัติตามนโยบายไปสู่การปฏิบัติ, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2562 ไปสู่การปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ทหารพรานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2562 ไปสู่การปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ทหารพรานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ การศึกษาจะศึกษาในเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ทหารพรานส่วนใหญ่มีระดับความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2562 ไปสู่การปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ทหารพรานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไปสู่การปฏิบัติโดยรวมและรายด้านทุกด้านนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านประสิทธิผล ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านความยั่งยืนและการขยายต่อนโยบาย และด้านประสิทธิภาพ ตามลำดับ 2) ปัจจัยภายในองค์กร 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติต่อนโยบาย ด้านความยากง่ายของกระบวนการในการปฏิบัติ ด้านความเข้าใจในนโยบายและแผน และด้านความสามารถของผู้บังคับบัญชาหน่วยงาน ตามลำดับ มีอิทธิพลทางบวกกับความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2562 ไปสู่การปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ทหารพรานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) มีปัจจัยภายนอกองค์กร 3 ปัจจัย ได้แก่ ด้านความชัดเจนของนโยบายและแผน ด้านความเข้มข้นการตรวจสอบ และด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มีอิทธิพลทางบวกกับความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560 – 2562 ไปสู่การปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่ทหารพรานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร. ยุทธศาสตร์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : กองอำนวยการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร; 2560: 20 - 37.
เฉลิมศักดิ์ บุญนำ, อิศรัฏฐ์ รินไธสง, และอนุวัต สงสม. รูปแบบความร่วมมือกับภาครัฐขององค์กรชุมชนในการลดความรุนแรงสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2560. 11(3): 118-132.
ฟิรนันท์ จำรง. ความสำเร็จของนโยบายการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ; 2562: บทคัดย่อ.
ภาคภูมิ ฉิ่งทองคำ. การปฏิบัติตามนโยบายการจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปไปปฏิบัติของจังหวัดนครปฐม. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 2558; 8(2): 924-949.
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.). (2556). รายงานสรุปปัญหา และอุปสรรค จาก ผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ช่วง 2 ระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม 2555 – 23 สิงหาคม 2556. 2560. แหล่งที่มา: http://www.sbpac.go.th/index.php?option=com_phocadownload&view=file&id=14&Itemid=568. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562.
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.). สรุปสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. 2560. แหล่งที่มา: http://dl.parliament.go.th/handle/ lirt/538209.ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562.
ศรัณย์ ฐิตารีย์. ความสำเร็จของการนำนโยบายด้านสวัสดิการสังคมไปปฏิบัติ ของเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสารสนเทศ, ปีที่ 14, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม; 2558: หน้า 85-95.
สุธิชาติ เมืองปาน. การนำนโยบายคนไทยไร้พุงไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, , 2559; 11(2): 39 – 49.
อิทธิชัย สีดำ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติตามนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขารัฐศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553: บทคัดย่อ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).