การออกกำลังกายระดับเบาแบบไทยโยคะช่วยพัฒนาสมรรถภาพกาย และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง
บทคัดย่อ
หลักฐานชี้ว่าผู้สูงอายุไม่เพียงได้รับประโยชน์ทางสุขภาพจากการออกกำลังกายระดับปานกลางถึงระดับหนักเท่านั้น แต่ยังได้รับประโยชน์จากการออกกำลังกายระดับเบาด้วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของรูปแบบการออกกำลังกายระดับเบาที่มุ่งเน้นสร้างความยืดหยุ่นและการทรงตัวเพื่อพัฒนาสมรรถภาพกายที่จำเป็นต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งยังมีจำกัด การวิจัยเชิงทดลองนี้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งจำนวน 39 คน (อายุเฉลี่ย 67±6 ปี, เพศหญิง 29 คน) เข้ากลุ่มทดลองโปรแกรมการออกกำลังกาย 2 รูปแบบคือ ไทยโยคะ หรือไทเก๊ก เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 90 นาที หรือกลุ่มทดลอง ทำการวัดสมรรถภาพกายโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพกายสำหรับผู้สูงอายุ และคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสำรวจสุขภาพ 36 ตัวชี้วัด (SF-36) แบบประเมินทางระบาดวิทยาจากภาวะซึมเศร้า (CES-D) แบบประเมินการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (PASE) และแบบประเมินความเพลิดเพลินจากการออกกำลังกาย (PACES) ทำการวัดและเก็บข้อมูลก่อนการทดลอง สัปดาห์ที่ 6 สัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 24 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated-measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในกลุ่มที่ออกกำลังกายแบบไทยโยคะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน (28.8%) และร่างกายส่วนล่าง (28.4%) ความยืดหยุ่นของร่างกายส่วนบน (64.1%) และร่างกายส่วนล่าง (103.8%) การก้าวเดินและการทรงตัว (14.6%) ความทนทานของระบบหายใจและหัวใจ (11.3%) ความมีพลังชีวิต (17.7%) และความเพลิดเพลินจากการออกกำลังกาย (24.0%) ซึ่งคุณประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้สามารถคงทนอยู่ได้จนถึงระยะหลังเสร็จสิ้นการทดลองไปแล้วอีก 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งสามารถพัฒนาสุขภาพและสุขภาวะของตนเองได้โดยการออกกำลังกายระดับเบาแบบไทยโยคะ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).