โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การสำหรับมหาวิทยาลัยในไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา
คำสำคัญ:
multilevel causal factor influencing, test invariance, organizational effectiveness for universitiesบทคัดย่อ
ประสิทธิผลองค์การมีความสำคัญที่ใช้ในการพัฒนามหาวิทยาลัยในไทยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชาวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การสำหรับมหาวิทยาลัยในระดับบุคคล และระดับสาขาวิชาในประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศราชอาณาจักรกัมพูชาและ 2) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของประสิทธิผลองค์การภาครัฐที่เป็นมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวนกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต/นักศึกษาได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจำนวน 1,200 คน จากจำนวน 120 สาขาวิชาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับโดยใช้โปรแกรม Mplus ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับบุคคลและระดับสาขาวิชาตัวแปรทุกตัวมีความสำคัญอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน สำหรับระดับบุคคลตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สุดคือการพัฒนาบุคลิกภาพนิสิต/นักศึกษาในขณะที่ตัวแปรระดับสาขาวิชาที่มีความสำคัญมากที่สุดคือความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างไรก็ตามสุขภาพขององค์การมีความสำคัญน้อยที่สุดทั้งระดับบุคคลและระดับสาขาวิชาและ 2) โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับมีความแปรเปลี่ยนด้านโมเดลระหว่างประเทศไทย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศราชอาณาจักรกัมพูชาแต่รูปแบบพัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของสัดส่วนในมหาวิทยาลัยไทยได้ดีกว่า
References
Cameron KS. A study of organizational effectiveness and its predictors. Management Science, 1986; 32(1): 87-112.
Gibson JL, Ivancevich JM, Donnelly JH. Organizations: Behavior, Structure, Processes. 10th ed. Boston: McGraw-Hill; 2000.
Goodman PS, Pennings JM. Critical issues in assessing organizational effectiveness. In Lanler, E.E., & Seashore, S.E. (eds.). Organizational Assessment Perspective on the Measurement of Organizational Behavior and the Quality of Work Life. New York: John Wiley & Son; 1980.
Harrison MI. Diagnosing Organizations Methods, Models and Process. London: Sage Publications; 1994.
Katz D, Kahn RL. The Social Psychology of Organizations. 2nded. New York: John Wiley & Son; 1978.
Makmee P. Measurement for faculties of education: An application of multilevel causal analysis. Journal of Research Methodology, 2000; 23(1): 55-75.
Makmee P. Development of a model of public organizational effectiveness measurement: Multilevel structural equation model analysis. Journal of the Association of Researchers, 2016; 21(1): 34- 48.
Makmee P. Multilevel structural equation model of universities effectiveness in Thailand. Journal of Management & Innovation, 2016b; 3(1): 43 -53.
Muthén LK, Muthén BO. Mplus: The Comprehensive Modeling Program for Applied Researchers user’s guide, Version 7.00. Los Angeles, CA: Muthén & Muthén; 2012.
Price JL, Mueller CW. Handbook of Organizational Measurement. Massachusetts: Pitman; 1986.
Steers RM. The Organizational Effectiveness: A Behavioral View. Santa Monica: Goodyear Publishing; 1977.
Stufflebeam DL, Foley WJ. Gephart WJ. Educational Evaluation and Decision Making. Bloomington: Phi Delta Kappa; 1971.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).