การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  • ไฟล์ที่ส่งจะต้องทำตามรูปแบบที่ตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับเท่านั้น และอยู่ในรูปแบบของ Microsoft Word
  • บทความที่ผู้เขียนส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณานั้น ต้องไม่อยู่ระหว่างเสนอขอตีพิมพ์เผยแพร่ที่อื่น
  • บทความต้องได้รับการเห็นชอบและยินยอมจากผู้เขียนร่วม

คำแนะนำผู้แต่ง

การเตรียมต้นฉบับ

                ต้นฉบับต้องมีเนื้อเรื่องสมบูรณ์ในฉบับเขียนต้นฉบับเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ พิมพ์ต้นฉบับด้วย   กระดาษขนาด B5 หน้าเดียว ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้เป็นตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 14 ตั้งค่า   หน้ากระดาษด้านบน (top) 2.39 เซนติเมตร ขอบล่าง (bottom) 2.54 เซนติเมตร ขอบซ้าย (left) 2.54 เซนติเมตร
ขอบขวา (right) 2.54 เซนติเมตร และควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้า

คำแนะนำในการเขียนบทความ

บทความวิชาการที่ได้รับเชิญ

  1. ชื่อเรื่อง/บทความ (title) มีทั้งภาษาไทย ขนาด 18 ตัวหนา และภาษาอังกฤษ (ตัวพิมพ์ใหญ่) ขนาด 18 ตัวหนา
  2. ชื่อ-สกุล (author name) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้นโดยเรียงตามลําดับ ความสําคัญ ขนาดตัวอักษร 15
  3. ที่อยู่ (affiliation) ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยระบุชื่อสถานที่ทํางาน/หน่วยงานของแต่ละคนที่มี
    ส่วนในงานวิจัยนั้นโดยเรียงตามลําดับความสําคัญ และระบุ e-mail ของผู้เขียนหลัก ขนาดตัวอักษร 12
  4. บทคัดย่อ (abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขียนสรุปสาระสําคัญของเรื่อง ใช้ภาษาให้รัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์และควรจะกล่าววัตถุประสงค์ ข้อค้นพบและสรุปผลที่ได้จากงานวิจัยนั้น ๆ โดยให้เขียนเป็นความเรียงไม่ควรมีคําย่อ ควรจะมีย่อหน้าเดียว โดยเขียนเป็นความเรียงความยาวไม่เกิน 300 คํา
  5. คําสําคัญ (keywords) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่เกิน 5 คํา
  6. บทนํา (introduction) เป็นส่วนที่มาและสาเหตุของการเขียนบทความที่มีลักษณะการกล่าวนําเรื่อง โดยให้ความรูปเบื้องต้น บอกเจตนาของผู้เขียนหรือตั้งคําถามซึ่งผู้เขียนอาจเขียนให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง
  7. เนื้อหา (text) ส่วนสําคัญที่สุดของบทความ เพราะเป็นส่วนที่รวบรวมความรู้ สาระต่าง ๆ และความคิดเห็นของผู้เขียน
  8. สรุป (conclusions) สรุปสาระสําคัญที่ได้จากการศึกษา
  9. เอกสารอ้างอิง (references) ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่วารสารฯ กําหนดโดยให้ใช้ภาษาอังกฤษและเอกสารที่ปรากฏในบทความเท่านั้น

 

บทความวิจัย 

  1. ชื่อเรื่อง/บทความ (title) มีทั้งภาษาไทย ขนาด 18 ตัวหนา และภาษาอังกฤษ (ตัวพิมพ์ใหญ่) ขนาด 18 ตัวหนา
  2. ชื่อ-สกุล (author name) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ของแต่ละคนที่มีส่วนในงานวิจัยนั้นโดยเรียงตามลําดับ ความสําคัญ ขนาดตัวอักษร 15
  3. ที่อยู่ (affiliation) ต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยระบุชื่อสถานที่ทํางาน/หน่วยงานของแต่ละคนที่มี
    ส่วนในงานวิจัยนั้นโดยเรียงตามลําดับความสําคัญ และระบุ e-mail ของผู้เขียนหลัก ขนาดตัวอักษร 12
  4. บทคัดย่อ (abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขียนสรุปสาระสําคัญของเรื่อง ใช้ภาษาให้รัดกุมเป็นประโยคสมบูรณ์และควรจะกล่าววัตถุประสงค์ ข้อค้นพบและสรุปผลที่ได้จากงานวิจัยนั้น ๆ โดยให้เขียนเป็นความเรียงไม่ควรมีคําย่อ ควรจะมีย่อหน้าเดียว โดยเขียนเป็นความเรียงความยาวไม่เกิน 300 คํา
  5. คําสําคัญ (keywords) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไม่เกิน 5 คํา
  6. บทนํา (introduction) เป็นส่วนของความสําคัญที่นําไปสู่การวิจัยสรุปความเป็นมาและความสําคัญของ ปัญหา การตรวจเอกสารพร้อมวัตถุประสงค์ของการวิจัย และไม่ควรใส่ตารางหรือรูปภาพ
  1. วิธีดําเนินการวิจัย (materials and methods) อธิบายเครื่องมือและวิธีการดําเนินการวิจัยให้กระชับและชัดเจนให้บอกรายละเอียดสิ่งที่นํามาศึกษา จํานวน ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและ    อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หัวข้อวิธีการศึกษา อธิบายรูปแบบแผนการศึกษา การสุ่มตัวอย่าง วิธีหรือมาตรการที่ใช้ศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้
  2. ผลการวิจัย (results) บรรยายสรุปผลการวิจัยอย่างกระชับหลีกเลี่ยงการใช้คําซ้ำซ้อนซึ่งมีความหมายตรงกับคําอธิบายที่มีอยู่แล้วในตารางหรือรูปภาพประกอบแต่ได้สาระครบถ้วนอยู่ด้านบนในกรณีที่เป็นตาราง เพื่อให้ทราบว่าตารางนั้นสื่อถึงเนื้อหาเรื่องใด ส่วนภาพและแผนภูมิควรมีคําอธิบายอยู่ด้านล่าง การเรียงลําดับ ภาพ ตารางหรือแผนภูมิควรเรียงลําดับเนื้อหาของงานวิจัย และต้องมีการแปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์
  1. อภิปรายผล (discussions) วิจารณ์เปรียบเทียบกับผลการวิจัยที่มีมาก่อนหน้าอย่างมีหลักการ อาจมีข้อ เสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคตและแนวทางที่จะนําไปใช้ประโยชน์
  2. สรุปผลการวิจัย (conclusions) ควรสรุปสาระสําคัญที่ไม่คลุมเครือและสรุปผลว่าตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
  3. คําขอบคุณหรือกิตติกรรมประกาศ (acknowledgments) ควรจะมีเพื่อแสดงคําขอบคุณสําหรับแหล่งทุน สนับสนุนหรือผู้ช่วยเหลืองานวิจัยและเตรียมเอกสาร
  4. เอกสารอ้างอิง (references) ให้ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้นโดยเรียงลําดับตามตัวอักษรของผู้เขียน กรณีผู้เขียนคนเดียวกันให้เรียงตามปีให้ใช้รูปแบบตามที่วารสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามกําหนด และเขียนอ้างอิงเฉพาะเอกสารที่ปรากฏในบทความเท่านั้น

 

การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องของบทความ

การอ้างอิงเอกสารในเนื้อเรื่องให้ใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อเรื่องเริ่มต้น   ด้วยนามสกุลนําหน้าแล้วตามด้วยปีที่เผยแพร่เอกสาร เช่น Sirichodbundit (2005) หรือ (Sirichodbundit, 2005)       ถ้ามีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อทั้ง 2 คน โดยใช้คําว่า “&” เช่น Yasai & Tangkittipaporn (2014) หรือ (Yasai & Tangkittipaporn, 2014) แต่ถ้าเกิน 2 คน ให้ใช้ชื่อเฉพาะคนแรกแล้วตามด้วย “et al.,” ตัวอย่าง เช่น (Lerdau et al., 2012) หรือ Lerdau et al. (2012) กรณีที่เป็นผู้แต่งคนเดียวกันใช้ตัวอักษรกํากับ เช่น (Lopez et al., 2008a, b)       แล้วแต่โครงสร้างประโยค การเรียงลําดับของเอกสารอ้างอิงให้เรียงตามปีที่พิมพ์ก่อน แล้วตามด้วยการเรียงตามลําดับอักษร เช่น (Owen et al., 2003; Loreto et al., 2007; Monsoon et al., 2007) เอกสารที่อยู่ระหว่างการตีพิมพ์  (in press) ในกรณีที่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์โดยวารสารนั้นแล้ว ใช้คําว่า in press และใส่ในรายการอ้างอิง เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ (unpublished citations) ได้แก่ abstract รวมทั้งเอกสารที่เพิ่งจะส่งเพื่อตีพิมพ์เผยแพร์ (submitted) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (personal communications) การสังเกตโดยบุคคล (personal observations) ให้อ้างไว้ในเนื้อหาของบทความด้วย โดยระบุเป็น unpublished เช่น (Frost & Liang, unpublished; Norby, pers. comm.; Fitter pers. obs.) แต่ไม่ต้องใส่ในรายการอ้างอิงเอกสารท้ายเล่ม

 

การอ้างอิงเอกสารท้ายเล่มให้อ้างอิงตามหลักเกณฑ์ระบบ AMA (American Medical Association)   

ถ้ามีผู้แต่งบทความ 1-6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งทั้งหมด หากมีผู้แต่งมากกว่า 6 คนขึ้นไป ให้ใส่ et al. แทนผู้แต่งคนที่ถัดไป ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. การเขียนรายการอ้างอิงจากหนังสือ

     ผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: โรงพิมพ์; ปีที่พิมพ์.

Sirichodbundit P. Marketing for Service Business. Bangkok: Zatfour Printing; 2005.

 

Lorsomboon P, Budrat P, Silngarmlerd S. Project on Developing Environmental Indicators for Enhancing Industrial Competitiveness in Thailand. Thailand: Thailand Environment Institute Foundation; 2000.

  1. การเขียนรายการอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

     ผู้แต่ง. ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับวิทยานิพนธ์/ชื่อคณะ/ชื่อมหาวิทยาลัย; ปีที่พิมพ์.

Mongkolruedee P. Environmental Management and Performance of Business: Case Study of Hotels in Thailand. Master of Accounting (Integrative Business Accounting), Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University; 2010.

Tepasit, P. The Roles of Tambon Administrative Organization in Forest Resource Conservation: A Case Study of Tambon Administrative Organization in Kohchang Minor District, Trat Province. Master of Science (Environmental Management), Graduate School, National Institute of Development Administration; 2006.

 

  1. การเขียนอ้างอิงจากบท/ตอนในหนังสือ

ผู้แต่ง. ชื่อบทความ. ใน: ชื่อบรรณาธิการ (ถ้ามี), ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์: เลขหน้า.

 

Sathapitanon P. Section 1: Concepts of participatory communication and community development. Participatory Communication and Community Development: From Concepts to Research Practice In Thai Society. Bangkok: Thailand Research Fund; 2006: 11-56.

Phoenix A. Analysing Narrative Contexts. In Andrews M, Squire C, Tamboukou M. (Eds.), Doing Narrative Research London. London: SAGE Publications; 2013: 72-87.

 

  1. บทความในวารสาร

ผู้แต่ง. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร ปีที่พิมพ์:  ปีที่ (เล่มที่): เลขหน้า.

Payomyam J, Nakapakron K,  Autsavarujikulchai A. Expected volumes of waste from the expansion of urban areas in the Chaopaya Surasak Municipality Chonburi. Journal of Science and Technology 2011; 19: 51-61.

Yasai U, Tangkittipaporn J. Sustainable development of green space in Chiang Mai Municipality. Journal of Community Development and Life Quality 2014; 2(3): 233-243.

 

  1. การเขียนรายการอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

ผู้แต่ง. ชื่อเรื่อง. ชื่อเว็บไซต์. ปีที่พิมพ์. แหล่งที่มา: URL. ค้นเมื่อ เดือน วันที่, ปี.

Valipodom V. Gross National Happiness of Bhutan People and Gross National Suffering of Thai People, 2011. Available at: http://lek-prapai.org/home/view.php?id=262. Accessed November 3, 2015.

 

นโยบายส่วนบุคคล

รายชื่อและอีเมลนี้ถูกใช้ในระบบ thaijo เท่านั้น