การพัฒนาต้นแบบของเทคโนโลยีที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง
DOI:
https://doi.org/10.14456/lsej.2023.29คำสำคัญ:
การแพทย์ฉุกเฉินทางไกล, ระบบเวชระเบียนดิจิทัล, ระบบความจริงเสมือน, แว่นแสดงภาพเสมือนจริงโฮโลเลนส์, แอปพลิเคชัน NU MEDบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินทางไกลในชนบทโดยผ่านเครือข่ายดิจิทัลความเร็วสูง ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้งานแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.) และประชาชน โดยออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเชิงระบบจำนวน 7 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบศูนย์ข้อมูล 2) ระบบการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ผ่านสมาร์ตโฟนสำหรับแพทย์และพยาบาล 3) ระบบการรับบริการ
ทางการแพทย์และสาธารณสุขผ่านสมาร์ตโฟนสำหรับประชาชน 4) ระบบเพื่อการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคผ่านสมาร์ตโฟนสำหรับทีมแพทย์ครอบครัว 5) ระบบเพื่อการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน สำหรับ อสม. 6) ระบบการให้คำปรึกษาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยวิกฤต
ด้วยเทคโนโลยีโฮโลแกรม และ 7) ระบบการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง
เพื่อการวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ นอกจากนี้ได้มีการบูรณาการระบบกับนวัตกรรม 6 โปรแกรมคุณค่าสร้างเด็กไทยคุณภาพเขตสุขภาพที่ 2 โดยติดตั้งและใช้งานจริงในโรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 8 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 147 แห่ง และโรงพยาบาลประจำจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 2 ผลการใช้งานระบบกับผู้ใช้ทุกกลุ่ม ได้นำมาใช้กับวงจรบริหาร 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act (PDCA) เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของแพทย์และระบบสาธารณสุข จนสามารถนำระบบไปขยายผลเพื่อใช้ได้ในวงกว้าง จากจังหวัดพิษณุโลกไปยังจังหวัดอื่น ๆ ในเขตสุขภาพที่ 2
References
Baker SD, Hoglund DH. Medical-grade, mission-critical wireless networks [designing an enterprise mobility solution in the healthcare environment]. IEEE Engineering in Medicine and Biology Magazine. 2008;27(2):86-95. doi:10.1109/emb.2008.915498.
Basu S, Karp A, Li J, Pruyne J, Rolia J, Singhal S, Suermondt j, Swaminathan R. Fusion: Managing healthcare records at cloud scale. Computer. 2012;45(11):42-49. doi:10.1109/MC.2012.291.
Chin-Feng L. An advance wireless multimedia communication application: Mobile telemedicine. WSEAS TRANSACTIONS on COMMUNICATIONS. 2010;9:206-215.
Dorn K, Ukis V, Friese T.A Cloud-Deployed 3D Medical imaging system with dynamically optimized scalability and cloud costs. Proc. EUROMICRO Conference on Software and Advanced Applications 2011;155-158.
Jin Z, Chen Y. Telemedicine in the Cloud Era: Prospects and challenges. IEEE Pervasive Computing 2015;14(1):54-61.
Narattharaksa K, Speece M, Newton C, Bulyalert D. Key success factors behind electronic medical record adoption in Thailand. Journal of Health Organization and Management 2016;30:985-1008.
Sintuprom S, Bodeerat P, Ubolon N, Tejativaddhana P, Narattharaksa K, Huntrakul S. Participatory management of stroke among the population at risk using the KhlongKlung District Health Board Mechanism, Khampangphet Province. Journal of Nursing and Health Sciences 2019;13(2):77–88.
Sirilak S, Muneesawang P. A new procedure for advancing telemedicine using the hololens. IEEE Access 2018;6:60224-60233.
Teng C, Mitchell J, Walker C, Swan A, Davila C, Howard D, Needham T. A medical image archive solution in the cloud. Proc. Int’l Conf. Software Eng. & Service Sciences 2010;431-434.
Thojampa S, Tejativaddhana P, Narattharaksa K, Hantrakul S. The Development of a geographic information system for improving the accessibility to emergency care for CVD patients in Khong Khlung District, Thailand. Journal of Nursing and Health Sciences 2019;13(2):101-110.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Life Sciences and Environment Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).