การปรับตัวของหมอพื้นบ้านในศตวรรษที่ 21 ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำภาคเหนือของไทย
คำสำคัญ:
การปรับตัว, หมอพื้นบ้าน, ชาติพันธุ์ไทดำภาคเหนือของไทยบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของหมอพื้นบ้านในการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำภาคเหนือของไทย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2561 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การสังเกต และการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ หมอเยื้อง หมอมดมนต์ หมอเสน ผู้นำชุมชน นักวิชาการ และประชาชนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดพิจิตร ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทดำในพื้นที่วิจัยได้อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรีเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน สถานะทางสังคมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้น้อย ยังคงมีพื้นฐานความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผีโดยเชื่อว่าผีมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายและรวมถึงระบบคิดเรื่อง การเจ็บป่วย จึงทำให้ยังคงมีวัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมที่ผูกพันกับความเชื่อเกี่ยวกับผีปรากฏอยู่ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ได้นำมาซึ่งการปรับตัวของหมอพื้นบ้านชาติพันธุ์ไทดำในด้านความเชื่อและระบบคิดเรื่องการเจ็บป่วยที่เปลี่ยนไป โดยมีระบบคิดและอธิบายความหมายของการเจ็บป่วยที่แยกกันระหว่างความเป็นวิทยาศาสตร์และอำนาจของผีที่ชัดเจน มีการยอมรับเอาหลักธรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติตัว การยอมรับความเชื่อและการนับถือเทพเจ้าจากศาสนาอื่นร่วมกับการนับถือผี การผ่อนปรนด้านอายุที่ลดลงในการออกทำพิธีกรรม รวมถึงบทบาทของหมอพื้นบ้านในพื้นที่วิจัยที่ปรับตัวจากที่เคยเป็นผู้รักษา ผู้รู้ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างแถน ผี มนุษย์ ด้วยการทำพิธีกรรมในฐานะทุนทางวัฒนธรรมด้านสุขภาพตามระบบคิดเรื่อง
การเจ็บป่วยแบบดั้งเดิมเมื่อในอดีต มาสู่บทบาทของการเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตามประเพณี และวิถีปฏิบัติต่อผีที่ยังปรากฏอยู่ และถูกนิยามว่าเป็นการดูแลรักษาความเจ็บป่วยในมิติด้านจิตใจและสังคมในปัจจุบัน
References
Charoenpanich T. Ghosts and power: Through ghosts believing of Thai Song Dum, Tambon Pun Sao, Bang Ra Gum, Phitsanulok. Ratchaphruek Journal. 2016; 14(2): 67-74.
Chantachon S. Cultural Qualitative Research: The Research Institute of Northeastern Art and Culture. Mahasarakham University, Mahasarakham; 2006.
Chuengsatiansup K. Medical Pluralism and Health Culture. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation); 2006.
Kulsomboon S. Research report Status and Direction of Research on Folk Wisdom in Health. Regional Medical Office Department of Development, Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine Ministry of Public Health, Nonthaburi. 2007.
Meanchanchei R. Cultural capital of the Thai Song Dam and Transformation of the Community. Academic Journal. 2013; 12(2): 175-202.
Meanchanchei R. Cultural Capital of the Thai Song Dam and Transformation of the Community in Nakhonpathom Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts). 2015; 8(2): 231-247.
Photisita C. Paradigm and Process of Qualitative Research. 3rd ed. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public Co., Ltd. 2007.
Phosan A. The Essence, Beliefs and Beliefs of Lao Song. Department of Religion and Philosophy, Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University, Mahasarakham. 2009.
Rapeephat A. Culture as (public) meaning Clifford Geertz theory. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organization). 2008.
Srimhaksuk K. & Boonkerd B. An anlysis of the factors of existence and change on beliefs in Thai Song Dam people’s rites: A case study in the area of Nongprong sub-district, Khaoyoi district, Phetchaburi Province. Journal of Humanities and Social Sciences Burapha University. 2016; 24(44): 83-102.
Thammawimuti A. & Siriwong P. Thai Song Dam Identity Maintenance: Discursive Practice to Strong CommunityBuilding of Hua Kao Jeen Village. Veridian E-Journal Silpakorn University. 2008; 10(1): 1552-1571.
Wisungre S. Klumkool S, Duenngai K. et al. Folk Wisdom of Healers in Mueang, Phetchabun Province. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Social Sciences, 2018; 19(1): 131-137.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).