ฤทธิ์ต้านการอักเสบจากสารสกัดเปลือกสับปะรดพันธุ์นางแลและพันธุ์ภูแล
คำสำคัญ:
โบรมีเลน, เปลือกสับปะรด, ฤทธิ์ต้านการอักเสบบทคัดย่อ
การอักเสบเป็นกระบวนการที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อจุลชีพ โดยในกระบวนการอักเสบมีการสร้างสารสื่อกลางการอักเสบที่สำคัญคือ ไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide; NO) ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกกันแพร่หลายในจังหวัดเชียงราย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน กิจกรรมของเอนไซม์และฤทธิ์ต้านการอักเสบของเปลือกสับปะรดพันธุ์นางแล และพันธุ์ภูแล ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดเปลือกสับปะรดพันธุ์นางแลมีปริมาณโปรตีนและกิจกรรมของเอนไซม์มากกว่าสารสกัดสับปะรดพันธุ์ภูแล คือ 4.56±0.56 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และ 2.03±3.85 ยูนิตต่อมิลลิลิตร การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดเปลือกสับปะรดทั้ง 2 สายพันธุ์ในเซลล์แมคโครฟาจ (RAW 264.7) ที่เหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดหยาบจากเปลือกสับปะรดทั้งสองสายพันธุ์ที่ความเข้มข้น 0-1000 µg/ml ไม่มีผลต่อความเป็นพิษต่อเซลล์แมคโครฟาจ และการทดสอบฤทธิ์การต้านการอักเสบ จากการวิเคราะห์การยับยั้งการสร้าง NO พบว่า สารสกัดเปลือกสับปะรดพันธุ์นางแล และพันธุ์ภูแล สามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์โดยมีความแรงแปรตามความเข้มข้นของสารสกัด อย่างไรก็ตาม สารสกัดสับประรดทั้งสองสายพันธุ์มีปริมาณของโปรตีน กิจกรรมของเอมไซม์และฤทธิ์การต้านการอักเสบที่ดี โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคต่างที่เกิดจากการอักเสบได้
References
Dharma P, Maluegha M, ArisWidodo. The effects of bromelain on angiogenesis, nitric oxide, and matrix metalloproteinase-3 and -9 in rats exposed to electrical burn injury, Wound Medicine. 2015; 9: 5-9.
Gaspani L, Limiroli E, Ferrario P, & Bianchi M. In vivo and in vitro effects of bromelain on PGE (2) and SP concentrations in the inflammatory exudate in rats, Pharmacology. 2002; 65: 83-86.
Guzik TJ, Korbut R, & Adamek-Guzik T. Nitric oxide and superoxide in inflammation and immune regulation, Journal of Physiology and Pharmacology. 2003; 54: 469-487.
Libby P. Inflammatory Mechanisms: The molecular basis of inflammation and disease, Nutrition Reviews. 2007; 65(12): 140-146.
Maurer HR. Bromelain: biochemistry, pharmacology and medical use, Cellular and Molecular Sciences. 2001; 58: 1234-1245.
Mequanint W, Makonnen E, & Urga K. In vivo Anti-inflammatory activities of leaf extracts of Ocimumlamiifolium in mice model, Journal of Ethno pharmacology. 2011; 134: 32-36.
Vall S. Process for the preparation of pineapple stem bromelain, 2007; Available at: https://www.freep atentsonlincom/5106621.html. Accessed September 15, 2017.
Van der Vliet A, Eiserich JP. & Cross CE. Nitric oxide a proinflammatory mediator in Lung Disease, Respiratory Research. 2000; 1: 67-72.
Sudsai T, Wattanapiromsakul C, Nakpheng T. & Tewtrakul S. Evaluation of the Wound Healing Property of Boesenbergia longiflora Rhizomes. Journal of Ethnopharmacology. 2013; 150: 223-231.
Shahid SK, Turakhia NH, Kundra M. & et al. Efficacy and safety of phlogenzym a protease formulation, in sepsis in children, Journal of the Association of Physicians of India. 2002; 50: 527-531.
Vellini M, Desideri D, Milanese A. & et al. Possible involvement of eicosanoids in the pharmacological action of bromelain. Arzneimittelforschung. 1986; 36:110-112.
Wallace, J.M. Nutritional and botanical modulation of the inflammatory cascade eicosanoids, cyclooxygenases, and lipoxygenases as an adjunct in cancer therapy. Integrative Cancer Therapies, 2002; 1: 7-37.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Each article is copyrighted © by its author(s) and is published under license from the author(s).