การปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิตน้ำแข็งหลอด โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลาง
DOI:
https://doi.org/10.55003/ETH.410303คำสำคัญ:
กระบวนการผลิตน้ำแข็งหลอด, การออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียล 2k, การออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลางบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตน้ำแข็งหลอดโดยใช้วิธีการออกแบบการทดลอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพในกระบวนการผลิต โดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลเบื้องต้น พบปัญหาปริมาณน้ำแข็งหลอดใหญ่ที่ขนาดไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉลี่ยรวมเท่ากับ 159 ตันต่อเดือน หรือคิดเป็น 83.25 เปอร์เซ็นต์จากปัญหาทั้งหมด ซึ่งเป็นปัญหาหลักของงานวิจัยนี้ จากการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา พบว่าปัญหาปริมาณน้ำแข็งหลอดใหญ่ที่ขนาดไม่ได้มาตรฐานมีสาเหตุหลักมาจาก อุณหภูมิน้ำดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต (A) อุณหภูมิที่เครื่องผลิตน้ำแข็ง (B) อุณหภูมิภายในห้องผลิตน้ำแข็ง (C) และเวลาในการผลิตน้ำแข็ง (D) มีการตั้งค่าพารามิเตอร์ที่ไม่เหมาะสม ในงานวิจัยนี้ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขโดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรก
เป็นการทดลองเบื้องต้นโดยใช้การออกแบบการทดลองแบบแฟกทอเรียล 2kเพื่อที่จะกรองปัจจัยที่ไม่มีผลต่อสัดส่วนของขนาดน้ำแข็งหลอดใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน และขั้นตอนที่สองเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตโดยใช้การออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลาง เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการทดลอง พบว่าสามารถกำหนดสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการผลิตน้ำแข็งหลอดด้วยสมการถดถอย คือ เปอร์เซ็นต์สัดส่วนของน้ำแข็งหลอดใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน = 7.72433 + 0.10813A + 0.12271B + 0.11729C - 0.09521D + 0.03877AA + 0.05252CC - 0.03844AC ซึ่งเป็นสมการที่มีรูปแบบการถดถอยที่เหมาะสมแล้ว และเมื่อนำค่าพารามิเตอร์ที่ได้ไปใช้ในกระบวนการผลิตพบว่า สัดส่วนของขนาดน้ำแข็งหลอดใหญ่ไม่ได้มาตรฐานลดลงกว่าเดิมคิดเป็น 8.37 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดต้นทุนของน้ำแข็งหลอดใหญ่ไม่ได้มาตรฐานที่ต้องผลิตซ้ำ 18,331.40 บาทต่อเดือน
References
C. Singhakant, “Hazards from Contaminated Ice, Related Laws and Sanitation,” Public Health & Health Laws Journal, vol. 4, no. 2, pp. 279–293, 2018.
P. Sudasna-na-Ayudthya and P. Luangpaiboon, “Introduction,” in Design and analysis of experiment, 1st ed. Bangkok, Thailand: Top Publishing, 2008, ch. 1, sec. 1, pp. 1–4.
D. C. Montgomery, “Factorial and Fractional Factorial Experiments for Process Design and Improvement,” in Introduction to statistical quality control, 8th ed. New York, NJ, USA: John Wiley & Sons, 2019, ch. 13, sec. 5, pp. 523–550.
D. C. Montgomery, “Response Surface Methods and Designs,” in Design and analysis of experiments, 10th ed. New York, NJ, USA: John Wiley & Sons, 2019, ch. 11, sec. 4.2, pp. 430–436.
A. Leenatham and P. Khemavuk, “Process Improvement of PTCA Guide Wire by Using Design of Experiment,” SWU Engineering Journal, vol. 14, no. 2, pp. 12–24, 2019.
L. Ma, D. Djurdjanovic and R. Dugnani, “Statistical accuracy of fractographic estimation in silicate glasses with design of experiments and pairwise T-tests,” Engineering Failure Analysis, vol. 116, 2020, Art. no. 104699, doi: 10.1016/j.engfailanal.2020.104699.
A. Semsri, “Determination of Optimum Temperature of Barrel Heater for Reducing Waste in Plastic Injection Molding Process of Tractor Turn Signal Cover Parts using DMAIC Techniques,” Engineering and Technology Horizons, vol. 39, no. 3, pp. 111–130, 2022.
N. Leenatham, W. Sudsomboon, S. Kaewkuekool, C. Kaewdee and W. Pansrinual, “The Efficiency Improvement of STR 20 Block Rubber Production Process by Using Design of Experiments,” Naresuan University Engineering Journal, vol. 16, no. 1, pp. 119–139, 2021. doi: 10.14456/nuej.2021.12.
H. Boumaiza, P. Dutournié, J -M. Le Meins, L. Limousy, J. Brendlé, C. Martin, N. Michau and L. Dzene, “Iron-rich clay mineral synthesis using design of experiments approach,” Applied Clay Science, vol. 199, 2020, Art. no. 105876, doi: 10.1016/j.clay.2020.105876.
T. L. S. Coelhoa, F. M. S. Braga, N. M. C. Silva, C. Dantas, C. A. Lopes, S. A. A. Sousa and E. C. Vieira, “Optimization of the protein extraction method of goat meat using factorial design and response surface methodology,” Food Chemistry, vol. 281, pp. 63–70, 2019, doi: 10.1016/j.foodchem.2018.12.055.
S. Silaloy, P. Srisattayakul and C. Na-Badalung, “Parameter optimization of 7-wires strand process,” RMUTL Engineering Journal, vol. 8, no. 1, pp. 11–20, 2023, doi: 10.14456/rmutlengj.2023.2.
N. Chanchay, A. Siangsuepchart and S. Boonkerd, “Optimization using Central Composite Design (CCD) for the Carotenoid Production from Rhodotorula rubra MJU18 on Corn Dust by Solid State Fermentation,” King Mongkut’s Agricultural Journal, vol. 37, no. 2, pp. 332–341, 2019.
P. Yartprom and A. Chinsuwan, “An Improvement of Tubular-Ice Making Machine Coefficient of Performance with a Commercial Water Chiller,” Engineering and Technology Horizons, vol. 40, no. 1, pp. 126–138, 2023.
K. Pochana and P. Jongpanyalert, “Reduction of Downtime Rate of Machines in Ice Tube Production Process: A Case Study of Khlong Ngae Ice Tube Factory,” Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, vol. 5, no. 2, pp. 101–116, 2015.
N. Phannuchareonwong, C. Benchapiyaporn, R. Ladsritha and S. Thongyotee, “The Study of Parameters Effect of Solidification Tubular Ice,” The Journal of Industrial Technology, vol. 9, no. 3, pp. 63–80, 2013.
M. Kaikaewkanjana, “Strengthening of the Measures to Control the Production of Ice Cubes in Chainat,” Thai Journal of Pharmacy Practice, vol. 7, no. 2, pp. 130–144, 2015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว