ทัศนคติของคนเดินเท้าต่อการใช้งานทางข้ามที่มีช่องจราจรแตกต่างกัน กรณีศึกษาบริเวณ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนลาดกระบัง และถนนกิ่งแก้ว
DOI:
https://doi.org/10.55003/ETH.410111คำสำคัญ:
ทัศนคติ, ทางข้าม, คนเดินเท้าบทคัดย่อ
การเดินเท้าเป็นหนึ่งในรูปแบบการเดินทางที่สำคัญที่สุดในเขตเมืองและชานเมือง อีกทั้งช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมืองใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามสถิติการเกิดอุบัติเหตุคนเดินเท้าเฉลี่ย 900 รายต่อปีเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครคิดเป็น 1 ใน 3 ของการเกิดอุบัติเหตุคนเดินเท้า อีกทั้งจากข้อมูลอุบัติเหตุรถชนคนเดินเท้า ในปี พ.ศ. 2556–2560 ระบุว่า อุบัติเหตุรถชนคนเดินเท้าจัดเป็นอุบัติเหตุที่มีดัชนีความรุนแรงสูงสุด เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 55 รายต่ออุบัติเหตุ 100 ครั้ง และมีคนเดินเท้าที่ถูกรถชนเสียชีวิต เฉลี่ยปีละ 740 คน สถิตินี้ชี้ให้เห็นว่าการเดินทางด้วยการเดินยังคงจำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อลดปริมาณการเสียชีวิตของผู้เดินทางเท้า ด้วยเหตุดังกล่าวจึงต้องการทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของคนข้ามกับสิ่งอำนวยความสะดวกทางข้าม งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อทัศนคติในการข้ามถนน การเก็บข้อมูลใช้เป็นแบบสอบถามโดยแบ่งเป็นสองส่วน ประกอบด้วย ทัศนคติในการข้ามถนนและทัศนคติในด้านความปลอดภัยต่อการข้ามถนนตัวอย่าง ได้แก่ ทางข้ามบริเวณถนนแจ้งวัฒนะ ถนนลาดกระบัง และถนนกิ่งแก้ว การวิเคราะห์ตัวแปรทางสังคม ตัวแปรด้านความถี่ต่อประสบการณ์ที่ไม่ดีในการใช้งานทางข้ามถนน ตัวแปรด้านทัศนคติการใช้งานทางข้ามบนถนนจากสถานที่ตัวอย่าง และตัวแปรด้านทัศนคติที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในการข้ามด้วยวิธีการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและแบบถดถอยเส้นตรง ผลการศึกษาหลังจากเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามทั้งหมด 412 ชุดพบว่าปัจจัยหลัก ได้แก่ จำนวนช่องจราจร ปริมาณรถยนต์ และความเร็วจราจรส่งผลเสียต่อความรู้สึกปลอดภัยในการข้ามถนนอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับเมื่อวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนานั้นให้ผลสอดคล้องกัน ส่วนด้านทัศนคติที่มีต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในการข้ามพบว่าสัญญาณไฟจราจรแบบปุ่มกดส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัยมากที่สุด
References
P. Kongkunakornkul. “Investigating the circumstances around ‘pedestrians’ in traffic accidents in Thailand.” thestandard.co. https://thestandard.co/walking-people-accident-in-thailand/ (accessed Dec. 13, 2023).
K. Fitzpatrick, B. Ullman and N. Trout, “On-Street Pedestrian Surveys of Pedestrian Crossing Treatments,” Institute of Transportation Engineers (ITE), Washington, DC, USA, Rep. TRB 2004, 2004. Accessed: Dec. 1, 2023 [Online]. Available: https://nacto.org/docs/usdg/on_street_pedestrian_survey_fitzpatrick.pdf
N. Panyavisutichai, “Student Attitudes toward Crosswalk Usages in School Zones,” M.S. thesis, Dept. Civil Eng., Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 2019.
M. C. Diogenes and L. A. Lindau, “Evaluation of Pedestrian Safety at Midblock Crossings, Porto Alegre, Brazil.,” Transportation Research Record: Journal of the Transportation Research Board, vol. 2193, no. 1, pp. 37–43, 2010, doi: 10.3141/2193-05.
D. B. Kadali and D. P. Vedagiri, “Role of number of traffic lanes on pedestrian gap acceptance and risk-taking behaviour at uncontrolled crosswalk locations,” Journal of Transport & Health., vol. 19, 2020, Art. no. 100950, doi: 10.1016/j.jth.2020.100950.
E. Rosén and U. Sander, “Pedestrian fatality risk as a function of car impact speed,” Accident Analysis and Prevention, vol. 41, no. 3, pp. 536–542, 2009, doi: 10.1016/j.aap.2009.02.002.
S. Agarwal and D. Vikram, “Impact of vehicular traffic stream on pedestrian crossing behavior at an uncontrolled mid-block section,” Transportation Research Interdisciplinary Perspectives, vol. 9, 2021, Art. no. 100298, doi: 10.1016/j.trip.2021.100298.
H. D. Golakiya and A. Dhamaniya., “Evaluating LOS at Urban Midblock Section under the Influence of Crossing Pedestrians in Mixed Traffic Conditions,” Transportation Research Procedia, vol. 48, pp.777–792, 2020, doi: 10.1016/j.trpro.2020.08.079.
E. Papadimitriou, A. Theofilatos and G. Yannis, “Patterns of pedestrian attitudes, perceptions and behaviour in Europe,” Safety Science, vol. 53, p.114–122, 2013, doi:10.1016/j.ssci.2012.09.008.
T. A. Petritsch, B. W. Landis, P. S. McLeod, H. F. Huang, S. Challa and M. Guttenplan, “Level-of-Service Model for Pedestrians at Signalized Intersections,” Transportation Research Record: Journal of the Transportation Research Board, vol. 1939, no. 1, pp. 55–62, 2005, doi: 10.1177/0361198105193900107.
S. Bendak, A. M. Alnaqbi, M. Y. Alzarooni, S. M. Aljanaahi and S. J. Alsuwaidi, “Factors affecting pedestrian behaviors at signalized crosswalks: An empirical study,” Journal of Safety Research, vol. 76, pp. 269–275, 2021, doi: 10.1016/j.jsr.2020.12.019.
M. Albee and P. Bobitz, “Marking Our Roads Safer | One Countermeasure at a Time,” FHWA, Washington, DC, USA, Tech. Rep. FHWA-SA-21-071, 2021.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว