ความเป็นไปได้ในการใช้ถุงพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วในกระบวน การขึ้นรูปแบบหมุน

ผู้แต่ง

  • จักรภัทร ปรีดาวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลองหก
  • สุชาลิณี มธุรสมนตรี ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลองหก
  • เอกตินัย จันทร์ศรี ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุพอลิเมอร์, คณะเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ณรงค์ชัย โอเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลองหก

คำสำคัญ:

ฟิล์มพลาสติก, พอลิเอทิลีน, การรีไซเคิล, กระบวนการขึ้นรูปแบบหมุน

บทคัดย่อ

ถุงพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสามารถให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เกิดปริมาณขยะจากถุงพลาสติกหลังการใช้งานเป็นจำนวนมากขึ้นในทุกๆปี งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมถุงพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วให้อยู่ในรูปที่เหมาะสมสำหรับการนำกลับมาขึ้นรูปอีกครั้งด้วยกระบวนการขึ้นรูปแบบหมุน รวมไปถึงการศึกษาสมบัติด้านต่างๆของผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปได้ โดยใช้ถุงพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วในเขตพื้นที่ปทุมธานีซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene; LDPE) เปรียบเทียบกับพลาสติกชนิดพอลิเอทีลีนเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (Linear Low Density Polyethylene; LLDPE) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการขึ้นรูปพลาสติกแบบหมุน ภายในงานวิจัยมีการเตรียมวัสดุสำหรับใช้ในการขึ้นรูปต้องมีการลดขนาดถุงพลาสติกให้อยู่ในรูปอนุภาคผงด้วยเครื่องพัลเวอร์ไรซ์ (Pulverizer) พร้อมทั้งวัดขนาดอนุภาค ค่าความกลม (Circularity) ด้วยเทคนิคทางสัณฐานวิทยา ความสามารถในการไหลแบบแห้ง (Pourability) ความหนาแน่นรวม (Bulk Density) และดัชนีการไหล (Melt Flow  Index) ของอนุภาคและทดสอบการขึ้นรูปด้วยเครื่องขึ้นรูปแบบหมุนชนิดแบบหมุนแกนเดียว (Axial Powder Flow Apparatus) ที่รอบการหมุน 7 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 190°C พร้อมบันทึกพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงภายในแม่พิมพ์ และทดสอบชิ้นงานที่ขึ้นรูปด้วยการวัดการกระจายความหนาของชิ้นงาน การทนต่อการเจาะทะลุ การทนต่อแรงดึงและค่าความแข็งที่ผิว โดยพบว่าขนาดอนุภาคผงพลาสติกที่เตรียมได้จากถุงพลาสติกมีขนาดของอนุภาคใหญ่กว่าและค่าความกลมน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของอนุภาคผงพลาสติกชนิด LLDPE ที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมการขึ้นรูปพลาสติกแบบหมุน ส่งผลให้การกระจายความหนาของชิ้นงานที่ได้จากการขึ้นรูปด้วยอนุภาคผงจากถุงพลาสติกด้อยกว่าและมีความทนต่อการเจาะทะลุ การทนต่อแรงดึงและความแข็งที่ผิวลดลงเมื่อเทียบกับการใช้ผงพลาสติกชนิด LLDPE

References

P. J. Nugent and R. J. Crawford, “INTRODUCTION TO ROTATIONAL MOLDING,” in Rotational Molding of Plastics, New York, NY, USA: John Wiley and Sons lnc., 1992, ch. 1, sec. x, pp. 1–14.

J. Olinek, C. Anamd and C. T. Bellehumeur, “Experimental Study on the Flow and Deposition of Powder Particles in Rotational Molding,” Polymer Engineering and science, vol. 45, no. 1, pp.62–73, 2005, doi: 10.1002/pen.20230.

A. López Córdoba and S. Goyanes, “Food Powder Properties,” in Reference Module in Food Science, 2017, doi: 10.1016/b978-0-08-100596-5.21198-0.

A. Scoppio, D. Cavallo, A. J. Müller and D. Tranchida, “Temperature modulated DSC for composition analysis of recycled polyolefin blends,” Polymer Testing, vol. 113, 2022, Art. no. 107656, doi: 10.1016/j.polymertesting.2022.107656.

M. Bredács, C. Barretta, L. F. Castillon, A. Frank, G. Oreski, G. Pinter and S. Gergely, “Prediction of polyethylene density from FTIR and Raman spectroscopy using multivariate data analysis,” Polymer Testing, vol. 104, 2021, Art. no. 107406, doi: 10.1016/j.polymertesting.2021.107406.

lyondellbasell, “Molecular Structure and Composition Affect Properties and Processability,” in A Guide to Polyolefin Film Extrusion, Houston, TX, USA: LyondellBasell, 2015, ch. 3, pp.3–5.

B. I. Chaudhary, T. Elizabeth and V. John , “Processing enhancers for rotational molding of polyethylene,” Polymer Engineering and Science, vol. 41, no. 10, pp.1731–1742, 2001, doi: 10.1002/pen.10870.

Q. Fu, Y. Men and G. Strobl. “Understanding of tensile deformation in HDPE/LDPE blends based on their crystal structure and phase morphology,” Polymer, vol. 44, no. 6, pp. 1927–1933, 2003, doi: 10.1016/S0032-3861(02)00940-0.

C. N. Kartalis, C. D. Papaspyrides and R. Pfaedner. “Recycling of post-used PE packaging film using the restabilization technique,” Polymer Degradation and Stability, vol. 70, no. 2, pp.189–197, 2000, doi: 10.1016/S0141-3910(00)00106-3.

H. Jin, J. Gonzalez-Gutierrez, P. Oblak, B. Zupancic, and I. Emri, “The effect of extensive mechanical recycling on the properties of low density polyethylene,” Polymer Degradation and Stability, vol. 97, no. 11, pp. 2262–2272, 2012, doi: 10.1016/j.polymdegradstab.2012.07.039.

S. P. Cestari, P. J. Martin, P. R. Hanna, M. P. Kearns, L. C. Mendes and B. Millar, “Use of virgin/recycled polyethylene blends in rotational moulding,” Journal of Polymer Engineering, vol. 41, no. 6, pp. 509–516, 2021, doi: 10.1515/polyeng-2021-0065.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31

How to Cite

[1]
ปรีดาวัฒน์ จ. ., มธุรสมนตรี ส. ., จันทร์ศรี เ. ., และ โอเจริญ ณ. ., “ความเป็นไปได้ในการใช้ถุงพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้วในกระบวน การขึ้นรูปแบบหมุน”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 40, ฉบับที่ 1, น. 1–9, มี.ค. 2023.