การวิเคราะห์ระบบเก็บค่าผ่านทางแบบผสมผสาน โดยใช้แบบจำลองสภาพจราจรระดับจุลภาค : กรณีศึกษา ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดง
คำสำคัญ:
ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ, แบบจำลองระดับจุลภาค, ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด, ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ, ระบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flowบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบจำลองสำหรับศึกษาพฤติกรรมของยานพาหนะที่ใช้บริการทางพิเศษบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดง (พื้นราบ) ในสภาพการจราจรปัจจุบัน ซึ่งมีระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษ 2 ระบบ คือ ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (Manual Toll Collection : MTC) และระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection : ETC) และศึกษาความเหมาะสมของการจัดวางตำแหน่งตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษในปัจจุบันและนำผลการศึกษาความเหมาะสมของการจัดวางตำแหน่งตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษไปใช้สำหรับออกแบบระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่สามารถจัดการกับสภาพการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดง (พื้นราบ) ในปี พ.ศ. 2570 ซึ่งการสร้างและการพัฒนาแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคในงานวิจัยนี้ โดยใช้โปรแกรม VISSIM และใช้ข้อมูลจากการสำรวจในภาคสนาม ซึ่งผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดวางตำแหน่งตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษและรูปแบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษ เพื่อรองรับปริมาณจราจรในปี พ.ศ. 2570 พบว่า การจัดวางตำแหน่งตู้เก็บค่าผ่านทางพิเศษที่เหมาะสมที่สุดสำหรับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษในปัจจุบัน คือ ตำแหน่งที่ติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบอัตโนมัติ (ETC) อยู่บริเวณกึ่งกลางของระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางพิเศษและช่วยให้ผู้ใช้บริการทางพิเศษลดระยะเวลาในการเดินทางผ่านด่าน และในปี พ.ศ. 2570 ระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่สามารถแก้ไขปัญหาและจัดการกับสภาพการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษดินแดง (พื้นราบ) ได้ คือ ระบบการเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบ Multi-Lane Free Flow (MLFF) จำนวน 9 ช่องจราจร ตำแหน่งติดตั้งบริเวณกึ่งกลางของระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษผสมผสานกับระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (MTC) จำนวน 2 ตู้ ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการระบบทางพิเศษให้ดียิ่งขึ้น โดยผลจากการวิเคราะห์สามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาและปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษให้สอดคล้องกับสภาพการจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
References
Expressway Authority of Thailand, Enterprise plan fiscal year 2017-2021 and action plan fiscal year 2019 (revised version), Expressway Authority of Thailand, Ministry of Transport, pp.1-5 – 2-27, 2018.
V. Astarita, M. Florian and G. Musolino, “A microscopic traffic simulation model for the evaluation of toll station systems,” IEEE Intelligent Transportation Systems Conference Proceedings - Oakland (CA), USA - August 25-29, pp.692-697, 2001.
N. Poon and H. Dia, “Evaluation of Toll Collection Performance using Traffic Simulation,” 27th Conference of Australian Institutes of Transport Research (CAITR 2005), Brisbane, December, 2005.
J. Plengsrithong, P. Phanyim, D.Chusing and T. Rattanapanyakorn, “Evaluation of Mitigation for Increasing Efficiency of Toll Plaza: A Case Study of Asoke 3 and Asoke 4 Toll Plaza,” 25th National Convention on Civil Engineering, Chonburi, July, 2020.
M. Wichiensin, K. Kanjanavaikoon and K. Sangkhawut, Traffic Congestion Alleviation for Ratchaprasong Road Closure, KMUTT R&D Journal, Vol.10, No.2, April-June, 2017.
N. Karitnathinee, “Capacity Analysis of Expressway Toll Plaza Using Micro Simulation Modeling Technique: Case Study in Bangkok,” 17th National Convention on Civil Engineering, Udon Thani, May, 2012.
A. D. May, Traffic Flow Fundamental, Prentice-Hall, New Jersey, 1990.
D. L. Gerlough and M.J. Huber, Traffic flow theory, Washington, DC United States, 1976.
A. SorSuwong, “Factors and Strategies Affecting the Decision to Use the Easy Pass System of Expressway Users,” Master of Engineering, Department of Civil Engineering, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 2012.
Expressway Authority of Thailand, Expressway service manual, Ministry of Transport, pp.2-24, 2015.
G. Wenbao, H. Bin, L. Jian, L. Quanfa, Y. Xin, X. Jinyin, Z. Beihai, Z. Mingyue and Z. Weimin, “Multi-lane free flow electronic toll collection system arranged on side of road,” 2013. [Online]. Available: https://patents.google.com/patent/CN10 3150772A/en
T. Wichaimethavee, “Development of control methods Traffic Light in Saturation Condition,” Master of Engineering Thesis, Civil Engineering, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand, 2003.
PTV Planung Transport Verkehr AG [PTV], VISSIM 5.40 User Manual, PTV: Karlsruhe, 2005.
M. S. Kaseko, “Comparative Evaluation of Simulation Software for Traffic Operation,” Traffic and Traffic Planning, pp.101-206, 2002.
W. Chaipanha and P. Klungboonkrong, “Analysis of Traffic Management System Alternatives at the Five-Leg Junction (The City Spiritual House) in the Khon Kaen City Using PARAMICS,” 3rd ATRANS Symposium Student Chapter Session, Bangkok, pp.28-38, 2010.
The Highways Agency, Design Manual for Roads and Bridges (DMRB), Vol.12, Department for Transport, UK, 1996.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว