Scheduling Elevated Mass Rapid Transit Project using Repetitive Construction Approach: A Case Study of MRT Green Line Project Bearing - Samutprakan Section

Authors

  • นรินทร์ ซาแสง
  • สุนีรัตน์ กุศลาศัย

Keywords:

repetitive scheduling, repetitive construction, elevated mass rapid transit, MRT project, green line

Abstract

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระดับเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและมักถูกวางแผนด้วยโปรแกรม Primavera  และ Microsoft Project ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาศัยวิธี Critical Path Method (CPM) ในการวิเคราะห์หากำหนดเวลาทำงาน เนื่องจากงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ายกระดับมีงานส่วนใหญ่ที่สามารถแบ่งงานออกเป็นหน่วยย่อยๆ โดยแต่ละหน่วยมีขั้นตอนการทำงานที่มีลักษณะซ้ำกัน (repetitive construction)  และกำหนดให้แต่ละขั้นตอนมีกลุ่มคนงานและทรัพยากรเฉพาะเป็นของตนเอง (dedicated resource assignment) หลายงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าหากใช้วิธี CPM ในการวางแผนจะทำให้การทำงานของแต่ละกลุ่มคนงานดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งก่อให้เกิดความสับสนและยุ่งยาก บทความนี้เป็นการนำเสนอขั้นตอนการวางแผนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ายกระดับด้วยวิธีการวางแผนงานก่อสร้างที่มีลักษณะซ้ำกัน โดยอาศัยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เป็นกรณีศึกษา  เฉพาะในส่วนของงานก่อสร้างทางวิ่งยกระดับ และงานสถานี จากผลการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่าเมื่อวางแผนงานด้วยวิธีการวางแผนงานก่อสร้างที่มีลักษณะซ้ำกัน กำหนดเวลาทำงานที่ได้ทำให้กลุ่มการทำงานในแต่ละส่วนสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง รองรับเงื่อนไขการทำงานทางเทคนิคภายใต้กรอบกำหนดเวลาตามสัญญา และมีรูปแบบการนำเสนอที่ค่อนข้างกระชับ พร้อมกันนี้ยังสามารถระบุระยะเวลาลอยตัวหรือระยะเวลาเผื่อเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการนำเสนอของการวางแผนงานก่อสร้างที่มีลักษณะซ้ำกันทำให้ผู้วางแผนเห็นถึงทางเลือกการใช้ทรัพยากรเพื่อให้แผนงานมีประสิทธิภาพ

References

[1] R. B. Harris and P. G. Ioannou, Repetitive Scheduling Method, Center for Construction Engineering and Management, The University of Michigan, UMCEE Report No.98-35, Nov., 1998.
[2] D. Arditi, B. O. Tokdemir and K. Suh, “Challenges in Line-of-Balance Scheduling,” Journal of Construction Engineering and Management, Vol.128, No.6, pp.545-556, 2002.
[3] K. El-Rayes, and O. Moselhi, “Resource-driven scheduling of repetitive activities,” Construction Manage and Economics, Vol.16, No.4, pp.433-446, 1998.
[4] I-Tung Yang and P. G. Ioannou, “Resource-driven scheduling for repetitive project: a pull–system approach,” The 9th International Group for Lean Construction Conference, National University of Singapore, 6-8 August 2001.
[5] E. N. Chrzanowski and D. W. Johnson, “ Application of Linear Scheduling,” Journal of Construction Engineering and Management, Vol.112, No.4, pp.476-491, 1988.
[6] D. J. Harmelink and J. E. Rowing, “Linear Scheduling Model: Development of Controlling Activity Path,” Journal of Construction Engineering and Management, Vol.124, No.4, pp.263-268, 1998.
[7] A. Yamin and D. Harmelink , “Comparison of Linear Scheduling Model (LSM) and Critical Path Method (CPM),” Journal of Construction Engineering and Management, Vol.127, No.5, pp.374-381, 2001.

Downloads

Published

2020-06-22

How to Cite

[1]
ซาแสง น. . and กุศลาศัย ส. ., “Scheduling Elevated Mass Rapid Transit Project using Repetitive Construction Approach: A Case Study of MRT Green Line Project Bearing - Samutprakan Section”, Eng. & Technol. Horiz., vol. 34, no. 3, pp. 65–81, Jun. 2020.

Issue

Section

Research Articles