รูปแบบการวางแผนการก่อสร้างอาคารสูง

ผู้แต่ง

  • ศิราภรณ์ ศิลปะ
  • สุนีรัตน์ กุศลาศัย

คำสำคัญ:

การก่อสร้างอาคารสูง, แผนงานก่อสร้าง, ระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงทีหลัง, ระบบแผ่นพื้น-ผนังรับน้ำหนัก สำเร็จรูป

บทคัดย่อ

งานก่อสร้างอาคารสูงเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ มีกิจกรรมก่อสร้างและขั้นตอนการทำงานในแต่ละชั้นที่คล้ายกัน การดำเนินงานจึงมีลักษณะซ้ำกัน โดยผู้รับเหมาหลักส่วนใหญ่มักว่าจ้างผู้รับเหมาช่วงให้เข้ามาดำเนินการในหลายกิจกรรม และบางกิจกรรมอาจมีผู้รับเหมาช่วงมากกว่า 1 ราย ผู้รับเหมาหลักจึงต้องทำการวางแผนงานเพื่อกำหนดระยะเวลาการทำงานแก่ผู้รับเหมาช่วงให้ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการวางแผนงานที่ดีจะส่งผลให้สามารถตรวจสอบและควบคุมการทำงานได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจข้อมูลการวางแผนโครงการก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 23 เมตรหรือ 8 ชั้น จำนวน 25 โครงการ โดย  24 โครงการเป็นการก่อสร้างด้วยระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงทีหลัง และอีกหนึ่งโครงการก่อสร้างด้วยระบบพื้น-ผนังรับน้ำหนักสำเร็จรูปเฉพาะส่วนของอาคารที่ไม่รวมพื้นที่จอดรถ โดยจะพิจารณาแผนก่อสร้างและรูปแบบการทำงานของหนึ่งชั้น จากการวิเคราะห์แผนก่อสร้างของทั้ง 25 โครงการ สามารถแบ่งรูปแบบการทำงานได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1)  รูปแบบการทำงานที่จัดกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มกิจกรรมมีระยะเวลาในการทำงานเท่า ๆ กัน (perfect packaging)  ซึ่งกิจกรรมจะอยู่ในกลุ่มใดนั้นพิจารณาจากลำดับขั้นตอนก่อน-หลังของการทำงาน การกีดขวางพื้นที่การทำงาน และความพร้อมหรือความเหมาะสมของจำนวนคนงานและวัสดุในช่วงเวลานั้นๆ 2) รูปแบบที่กำหนดวันเริ่มกิจกรรมตามปัจจัยคล้ายกับรูปแบบข้างต้น แต่ไม่ได้มีการจัดกลุ่มกิจกรรมที่ชัดเจน (semi packaging ) และ 3) รูปแบบที่กำหนดให้กิจกรรมเริ่มต้นเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ (early start schedule) เป็นการจัดลำดับกิจกรรมโดยพิจารณาเพียงลำดับขั้นตอนก่อน-หลังของการทำงาน โดยที่การทำงานแบบ perfect packaging เป็นรูปแบบที่มีการเลือกใช้มากที่สุด ในขณะที่การทำงานแบบ early start schedule ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อยที่สุด จากการวิเคราะห์แผนการก่อสร้าง 24 โครงการที่มีการก่อสร้างด้วยระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงทีหลัง พบว่าส่วนงานโครงสร้างทั้ง 24 โครงการมีระยะเวลาและขั้นตอนการดำเนินงานที่คล้ายกัน ในขณะที่งานสถาปัตยกรรมผนังและระบบมีระยะเวลาที่ค่อนข้างหลากหลาย และหมวดงานสถาปัตยกรรมตกแต่งมีระยะเวลาหลากหลายมากที่สุด โดยระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ เนื่องจากผู้รับเหมามีการปรับจำนวนคนงานเพิ่มขึ้นหากมีพื้นที่ก่อสร้างมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาก่อสร้างของระบบแผ่นพื้น-ผนังรับน้ำหนักสำเร็จรูปและระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงทีหลังต่อ 1 ชั้น พบว่าระบบแผ่นพื้น-ผนังรับน้ำหนักสำเร็จรูปใช้ระยะเวลาก่อสร้างงานโครงสร้างและงานผนังเร็วกว่าประมาณ 21 วัน เนื่องจากไม่มีระยะเวลาของการค้ำยันพื้นและการก่อผนัง

References

[1] P. Damrongchai, Construction Planning, GEAC, Bangkok, 2009
[2] S. Anantachaiyong, Comparative Study of Housing Construction Between Precast Concrete Structural Frame System and Conventional System : A Case Study of Kunalai Housing Estate Bangkhuntian, M.E. Thesis, Chulalongkorn University, 2002
[3] W. Inaram, A Comparative Study on Two-Story House Construction Processes Using the Conventional System, Prefabricated Post and Beam System and Wall Bearing System : A Case Study of Perfect Park, Nonthaburi Province, M.E. Thesis, Chulalongkorn University, 2009
[4] A. Warszawski et al, “Utilization of precast concrete elements in building,” Journal of Construction Engineering Management, Vol.110, No.4, pp.476-485, Dec., 1984.
[5] W. Y. Tam et al, “Best practice of prefabrication implementation in the Hong Kong public and private sectors,” Journal of Cleaner Production, Vol.109, pp.216-231, Dec., 2015

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-22

How to Cite

[1]
ศิลปะ ศ. . . และ กุศลาศัย ส. . ., “รูปแบบการวางแผนการก่อสร้างอาคารสูง”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 34, ฉบับที่ 1, น. 57–67, มิ.ย. 2020.