การทำนายความหยาบผิวในงานกัดอะลูมิเนียมเกรด 6061-T6 โดยใช้วิธีทางสถิติ
คำสำคัญ:
ความเร็วรอบ, อัตราป้อน, ระยะป้อนลึก, ความหยาบผิว, อะลูมิเนียมเกรด 6061-T6บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความหยาบผิวของอะลูมิเนียมเกรด 6061-T6 และสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อทำนายค่าความหยาบผิวของงานกัดด้วยเครื่องกัดซีเอ็นซีแบบแนวตั้ง โดยการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลเป็นแบบการทดลองโดยมีปัจจัยศึกษาได้แก่ ความเร็วรอบ อัตราป้อน และระยะป้อนลึก จากการทดลองพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความหยาบผิวคือ ความเร็วรอบและอัตราป้อน โดยมีผลต่อความหยาบผิวชิ้นงานอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยร่วมไม่มีผลต่อความหยาบผิว ผลจากการทดลองสามารถกำหนดระดับปัจจัยที่เหมาะสมคือ ความเร็วรอบ 2000 รอบต่อนาที อัตราป้อน 100 มิลลิเมตรต่อนาที และระยะป้อนลึก 1.0 มิลลิเมตร และเมื่อทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความหยาบผิวที่ได้จากการทดลองเพื่อยืนยันสมการกับค่าที่ได้จากการแทนค่าสมการถดถอยที่สร้างขึ้น พบว่าค่าทั้งสองไม่แตกต่างกัน จึงสรุปว่าสมการถดถอยสามารถนำมาใช้เพื่อทำนายค่าความหยาบผิวของอะลูมิเนียมเกรด 6061-T6 ได้
References
[2] Chalie Tragangoon, CNC Technology, Technology Promotion Association (Thailand-Japan), 2005.
[3] K.Kadirgama, M.M Noor, M.M.Rahman, M.R.M. Rejab, Haron, CHC & Abou-El-Hossein, KA, “Surface Roughness Prediction Model of 6061-T6 Aluminium Alloy Machining Using Statistical Method,” European Journal of Scientific Research, Vol.25, pp.250-256, January, 2009.
[4] K.Kadirgam, M.M.Noor, N.M.Zuki.N.M, M.M. Rahman, M.R.M. Rejab, R. Daud, K.A.Abou-El-Hossein, “Optimization of Surface Roughness in End Milling on Mould Aluminium Alloys (AA6061-T6) Using Response Surface Method and Radian Basis Function Network,” Jordan Journal of Mechanical and Industrial Engineering, Vol.2, No.4, pp.209-214, December, 2008.
[5] Halil Demir, Süleyman Gündüz, “The Effects of Aging on Machinability of 6061 Aluminum Alloy,” Materials & Design, Vol.30, No.4, pp.1480-1483, May, 2009.
[6] Mathew A. Kuttolamadom, Sina Hamzehlouia, M. Laine Mears, “Effect of Machining Feed on Surface Roughness in Cutting 6061 Aluminum,” SAE International Journal of Materials and Manufacturing, Vol.3, No.1, pp.108-119, 2010.
[7] W.Y.H. Liew, “The Effect of Air in the Machining of Aluminium Alloy,” Tribology Letters, Vol.17, No.1, pp.41-49, July, 2004.
[8] S. Chantasee and S. Punsomsakul, “Surface Roughness Prediction of 6061-T6 Aluminum Alloy in Milling Using Regression Model,” KKU Research Journal, Vol.19, No.2, pp.293-304, 2014.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว