การวิเคราะห์สมรรถนะเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานความร้อน

ผู้แต่ง

  • จำรัส กิ่งสวัสดิ์
  • ชินรักษ์ เธียรพงษ์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์สมรรถนะ, พลังงานแสงอาทิตย์, ความชื้น, การสะสมความร้อน, เครื่องอบแห้งเนื้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบสร้างและวิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะตู้อบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยได้ออกแบบเป็นแผงรับแสงอาทิตย์แบบแผ่นเรียบ ซึ่งมีค่าดูดกลืนความร้อนสูงสุด 76.23 % ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานความร้อน โดยใช้น้ำมันถ่ายเทความร้อนชนิด 3GS ปริมาณ 180 ลิตร และก้อนหินแกรนิตทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 มิลลิเมตร จำนวน 80 กิโลกรัม บรรจุภายในถังกักเก็บพลังงานความร้อนรูปทรงกระบอกหุ้มฉนวนป้องกันความร้อนอย่างดี การทดลองอบแห้งเนื้อวัวผ่านการปรุงรสแล้ว น้ำหนัก 1,000 กรัม ในตู้อบจำนวน 2 ชั้น จัดวางกระจายสม่ำเสมอ ทำการอบแห้งทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอด 24 ชั่วโมง บันทึกค่าน้ำหนัก และปริมาณความชื้นของเนื้อวัวทุกๆ 1 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยภายในตู้อบของการอบเนื้อวัวทั้งกลางวันและกลางคืน  40 - 65.5 C  ระยะเวลาในการอบแห้ง 24 ชั่วโมง ตู้อบแห้งมีประสิทธิภาพสูงสุด 68.36 % ที่อัตราการไหลของน้ำมันแลกเปลี่ยนความร้อน 8 ลิตรต่อนาที เนื้อวัวเหลือความชื้นสุดท้ายเท่ากับ 6.25 % wb. เมื่อเปรียบเทียบกับระบบซึ่งไม่มีการเก็บกักความร้อนที่สามารถอบแห้งได้เพียงระยะเวลาที่มีแสงอาทิตย์ส่งผ่านความร้อนมายังแผงรับความร้อนเท่านั้น ส่วนที่มีระบบกักเก็บความร้อนสามารถอบแห้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจากการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์พบว่าจุดคุ้มทุนของเครื่องอบแห้ง แบบพลังงานความร้อนร่วม สามารถคืนทุนในระยะเวลา 2.9 ปี

References

[1] Pablo,I.S.”The Practicality of Solar Drying of Tropical Fruits and Marine Produces for Income Generation in Rural Area,The Solar Drying Work Shop, Ministry of Energy, Fort”, Bonifacio Manila. Philippines.,pp18-21.,1978.
[2] T.Suparoa,”Thermal Performance of Solar Dryer and Sensible Heat Energy Storage System,” Conference Proceeding, Maejo University, 2547.
[3] J.Kingsawat and Team,“Solar Drying of Agricultural Using Phase Change Material (PCM), “ Journal of Science and Technology,Vol.4., pp.359-366, Mahasarakham University, 2551.
[4] Meteorological Staions in Kanchanaburi, ”Measurement of the intensity of light,” Department of Metorological Sciences, Kanchanaburi, 2546.
[5] Bala, B.K., ” Drying and Storage of Cereal Grains”, Science Publishers, Inc., USA. 1997.
[6] L.Heller and P.Gauche.,” Modeling of the rock bed thermal energy storage system of a combined cycle solar thermal power plant in Sorth Africa,” Solar energy,Vol.93, pp.345-356, April, 2013.
[7] N.Mertens, F.Alobaid, L.Frigge and B.Epple, ”Dynamic simulation of integrated rock-bed thermocline storage for concentrated solar power,” Solar energy,Vol.110, pp.830-842, November, 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19

How to Cite

[1]
กิ่งสวัสดิ์ จ. . . และ เธียรพงษ์ ช. ., “การวิเคราะห์สมรรถนะเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานความร้อน”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 33, ฉบับที่ 2, น. 28–35, มิ.ย. 2020.