การวิเคราะห์ปริมาณน้ำหลากต่อพื้นที่รับน้ำฝนเพื่อการออกแบบ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์
  • ชัยวัฒน์ เต็งประกอบกิจ
  • เนตรชนก ภู่ระหงษ์

คำสำคัญ:

ปริมาณน้ำหลากต่อพื้นที่, ปริมาณน้ำหลากสูงสุด, การวิเคราะห์แจกแจงความถี่ปริมาณน้ำหลาก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปริมาณน้ำหลากสูงสุดที่รอบปีการเกิดซ้ำต่าง ๆ ต่อพื้นที่รับน้ำฝนหนึ่งตารางกิโลเมตรของประเทศไทย เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในการออกแบบอาคารชลประทาน ตลอดจนฝาย อ่างเก็บน้ำและเขื่อนของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กของประเทศไทย โดยทำการแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 4 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ภาคเหนือ ภาคใต้  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคกลางรวมตะวันตกและตะวันออกไว้ด้วยกัน นอกจากนั้นในแต่ละพื้นที่ได้ทำการแบ่งพื้นที่ย่อยสำหรับการวิเคราะห์ออกเป็น 3 กลุ่มจังหวัดตามสภาพภูมิประเทศและความลาดชันของพื้นที่ โดยการศึกษาได้ทำการคัดเลือกสถานีวัดน้ำท่าที่มีพื้นที่รับน้ำฝนตั้งแต่ 5 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป และทำการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำหลากสูงสุดของสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 135 สถานี แยกออกเป็นพื้นที่ภาคเหนือ 22 สถานี ภาคใต้ 31 สถานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 53 สถานี และภาคกลางรวมตะวันตกและตะวันออก 29 สถานี จากผลการศึกษาปริมาณน้ำหลากสูงสุดต่อพื้นที่รับน้ำฝนหนึ่งตารางกิโลเมตรที่รอบปีการเกิดซ้ำ  2  5  10  25  50 และ 100 ปี ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลการศึกษาที่รอบปีการเกิดซ้ำ 25 ปี กับผลการศึกษาเดิมในปี 2524 พบว่า ผลการศึกษานี้ให้ค่าปริมาณน้ำหลากสูงสุดที่มีการผันแปรต่อพื้นที่รับน้ำฝนหนึ่งตารางกิโลเมตรที่มากกว่าผลการศึกษาเดิมในพื้นที่ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางรวมตะวันตกและตะวันออก ยกเว้นพื้นที่ภาคเหนือที่ผลจากการศึกษานี้ให้ค่าที่ต่ำกว่าผลการศึกษาเดิม

References

[1] The Engineering Institute of Thailand Under H.M. The King's Patronage, and Department of Local Administration. "Standard of Reservoir and Small Dam. Standard of Management/ Public Service of Local Administrative Organization" Bangkok. 115 pp, 2548.
[2] P. Maiklad., "Manual on Small Earth Dam and Weir" Irrigation Engineering Alumni Association Under H.M. The King's Patronage. Nonthaburi. 153 pp, 2524.
[3] Y. H. Lim and L.M. Lye, “Regional Flood Estimation for Ungauged Basins in Sarawak, Malaysia,” Hydrological Sciences Journal, vol. 48 (1), pp. 79-94, 2003.
[4] F. Ilorme, V. W. Griffis, and D. W. Watkins Jr., “Regional Rainfall Frequency and Ungauged Basin Analysis for Flood Risk Assessment in Haiti,” Journal of Hydrologic Engineering, ASCE, vol. 19, pp. 123–132, 2014.
[5] D. W. Brown, S. M.A. Moin and M. L. Nicolson, “A Comparison of Flooding in Michigan and Ontario: 'SOFT’ Data to Support ’SOFT’ Water Management Approaches,” Canadian Water Resources Journal, vol. 22 (2), pp. 125–139, 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-19

How to Cite

[1]
เทพประสิทธิ์ ไ., เต็งประกอบกิจ ช. ., และ ภู่ระหงษ์ เ. . ., “การวิเคราะห์ปริมาณน้ำหลากต่อพื้นที่รับน้ำฝนเพื่อการออกแบบ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กของประเทศไทย”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 33, ฉบับที่ 1, น. 60–65, มิ.ย. 2020.