การประเมินสมรรถนะ และความคุ้มค่าในการลงทุนติดตั้งระบบ ผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบมีระบบติดตามดวงอาทิตย์ และแบบมุมรับแสงคงที่ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เซลล์แสงอาทิตย์,, ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์,, แบบติดตามดวงอาทิตย์,, แบบมุมรับแสงคงที่บทคัดย่อ
การประเมินสมรรถนะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งระบบแบบติดตามดวงอาทิตย์ และแบบมุมรับแสงคงที่ ทั้ง 2 ระบบใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดรอยต่อแบบเฮเทอโรบนฐานรองผลึกเดี่ยวซิลิคอน และเก็บข้อมูลภายใต้สภาวะการใช้งานจริงในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อทำการเปรียบเทียบสรรถนะของทั้ง 2 ระบบ พบว่า ระบบที่มีการติดตั้งแบบติดตามดวงอาทิตย์สามารถรับค่าพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากกว่าแบบมุมรับแสงคงที่ 12.68% และมีค่าผลผลิตทางไฟฟ้าเพื่มขึ้น 15.39% ทำให้ค่าสมรรถนะของระบบแบบติดตามดวงอาทิตย์มีค่ามากกว่าแบบมุมรับแสงคงที่ 1.87% นอกจากนี้ได้ทำการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน โดยพิจารณาจากระยะเวลาคืนทุนพบว่าระบบที่ติดตั้งแบบมุมรับแสงคงที่จะมีระยะเวลาคืนทุนที่เร็วกว่าแบบมีระบบติดตามดวงอาทิตย์ เนื่องจากระบบที่ติดตั้งแบบมุมรับแสงคงที่มีการลงทุนที่น้อยกว่าแบบมีระบบติดตามดวงอาทิตย์
References
[2] Mostafa mehrtash, Guillermo quesada, Yvan dutil and Daniel rousse, “Performance Evaluation of Sun Tracking Photovoltaic Systems in Canada”, 20th Annual International Conference on Mechanical Engineering, May, 2012
[3] International Electrotechnical Commision, “Photo voltaic System Performance Monitoring Guidelines for Measurement, Data Exchange and Analysis IEC61724”, IEC Standard, 1998.
[4] Paradorn Preedasak, “Principles of Microeconomi-cs”, Reading, Thammasat University Press, 2005.
[5] Serm Janjai, “Solar Radiation”, Reading, Phetkasem Printing Group Co., Ltd, 2014.
[6] Energy Regulatory Commission, “Electricity Tariffs ”, Available Online at http://www.erc.or.th/ (Accessed May, 2015).
[7] Feldman, David, Galen L. Barbose, Robert Margo- lis, Ted James, Samantha Weaver, Naïm R. Dargho- uth, Ran Fu, Carolyn Davidson, Sam Booth, and Ryan H. Wiser, “Photovoltaic System Pricing Trends: Historical, Recent, and Near-Term Projections - 2014 Edition”, Available Online at http://www.nrel.gov/docs/fy14osti/62558.pdf (Accessed May, 2015).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว