แรงถอนวิบัติแนวดิ่งของฐานรากปล่องแบบระนาบในดินเหนียว
คำสำคัญ:
ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข, ระนาบความเครียด, ไฟไนต์อิลิเมนต์ของการวิเคราะห์ลิมิต, ฐานรากปล่องบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์หาแรงถอนวิบัติแนวดิ่งของฐานรากปล่องแบบระนาบในดินเหนียว วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ของการวิเคราะห์ลิมิตแบบระนาบความเครียด 2 มิติถูกนำมาใช้วิเคราะห์การวิบัติของปัญหานี้ ฐานรากปล่องแบบระนาบมีความกว้าง (B) และความลึก (L) สำหรับการวิเคราะห์ไฟไนต์อิลิเมนต์ของการวิเคราะห์ลิมิต ดินเหนียวถูกจำลองเป็นอิลิเมนต์แบบปริมาตรที่มีคุณสมบัติของวัสดุแบบมอร์-คูลอมบ์ในสภาพไม่ระบายน้ำ ฐานรากปล่องแบบระนาบถูกจำลองเป็นอิลิเมนต์แบบแผ่นที่มีคุณสมบัติของวัสดุแบบอิลาสติก ชิ้นส่วนเชื่อมต่อระหว่างดินและโครงสร้างถูกใช้ตลอดความยาวระหว่างผิวสัมผัสของดินและฐานราก แฟกเตอร์การยึดเกาะระหว่างดินและเสาเข็ม (a) มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 โดยเพิ่มขึ้นทีละ 0.25 ผลที่ได้นำเสนอในรูปของตัวแปรไร้มิติระหว่างแรงถอนวิบัติแนวดิ่ง (P/r((B/2)+L)2 ) ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นของอัตราส่วนความกว้างต่อความยาว (B/L) และแฟกเตอร์การยึดเกาะ (a) โดย r คืออัตราการเพิ่มของกำลังรับแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำที่เพิ่มแบบคงที่ตามความลึก
References
[2] D.F. Cauble. “Experimental Measurements for a Model Suction Caisson” PhD Thesis, MIT, 1996.
[3] E.C. Clukey, M.J. Morrison. “a Centrifuge and Analytical study to Evaluate Suction Caissons for TLP Applications in Gulf of Mexico”, Design and Performance of Deep Foundation, ASCE, 141-156, 1993.
[4] M. Geer. “Analysis of Pile and Suction Caisson Behavior in Axial Loading”. PhD Thesis, MIT, USA, 1996.
[5] B. Ukritchon “Application of Numerical Limit Analyses for Undrained Stability Problems in Clay”. ScD Thesis, MIT, USA, 1998.
[6] C.P. Aubeny, J.D. Murff, S.K. Moon, “Lateral Undrained Resistance of Suction Caisson Anchors” International Journal of Offshore and Polar Engineering Vol. 11, No. 3, 2001
[7] C.P. Aubeny, S.W. Han, J.D. Murff “Inclined Load Capacity of Suction Caissons”. Int. J. Numer. Anal. Meth. Geomech, 27:1235–1254, 2003.
[8] C.P. Aubeny, J.D. Murff,. "Simplified Limit Solutions for the Capacity of Suction Anchors under Undrained Conditions” Ocean Engineering 32. 864–877. 2005.
[9] K. Krabbenhoft, A. Lyamin, J. Krabbenhoft. “Optum Computational Engineering Version 1.14: Manual”, OptumG2 Company, 2014.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว